นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและแนวทางดำเนินงาน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
Advertisements

ยุทธศาสตร์ การจัดสรร งบประมาณ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
แนวทางการบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2558
ความก้าวหน้าในการจัดทำแผนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่
อำนาจเจริญ - ว่าง- - ว่าง- - ว่าง - -ว่าง -
ภาคีรวมใจคนไทยไร้พุง จ.ลพบุรี Lopburi’s Slimming Academy
- 2 - แผนภูมิแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ผลผลิต และงบประมาณปี พ.ศ.2555 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ตามระบบการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
เกณฑ์การประเมินผลตัวชี้วัด มิติการประเมินประสิทธิผล
ยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยง ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปี 2551
เป็นเจ้าภาพหลัก 2 ประเด็น เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
การบูรณาการยุทธศาสตร์สุขภาพฯ กลุ่มเด็กวัยเรียน มาตรการ เป้าหมาย วิธีการวัด เป้าหมาย/KPI 1.นโยบายร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาสุขภาพเด็กวัยเรียนแห่งชาติ/วาระสุขภาพแห่งชาติ
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
นโยบายด้านโรคติดต่อ ศ. คลินิกเกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข.
นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559 โดย นายแพทย์ประวัช ชวชลาศัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
1 จุดเน้นและแนวทางการสร้าง ภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพ ติดในสถานศึกษา ปี 2557.
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
การขับเคลื่อนงานสุขภาพจิต วัยทำงาน ประจำปี 2559 โดย โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราช นครินทร์
แผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ )
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
โครงการ เรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว
สายส่งเสริมตามกลุ่มวัยและประเด็น
100 ตำบลต้นแบบในการบูรณาการ ด้านส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย กรมอนามัย.
แนวทางการปฏิบัติงานตามข้อสั่งการ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประสบการณ์การ การใช้ระบบติดตามผลการดำเนินงานในกลุ่มผู้ใช้ยา/สารเสพติด
สรุปแนวทางการดำเนินงานตามกลุ่มวัย
ตัวชี้วัดที่ 1 : อัตราส่วนการตายมารดาไทย ค่าเป้าหมายไม่เกิน 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนราย เปรียบเทียบอัตราส่วนการตายมารดารายเขต ปี 2560 กับ 2561ในช่วงเวลาเดียวกัน.
ยุทธศาสตร์ ที่ 1 Promotion, Prevention & Protection Excellence
อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพ แบบบูรณาการ เขตสุขภาพที่ 6
โดย ศรีปัญญา ม่วงเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
เป้าหมายจังหวัด TO BE NUMBER ONE
โครงการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลฯ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
เพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษ
นโยบายการขับเคลื่อน การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย ยุค 4.0
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จขององค์กรปกครอง
รพ.สต.สายใยรัก อำเภอสัตหีบ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ข้อเสนอต่อการพัฒนา ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ของประเทศไทย
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
แนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด 1
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย (9 ตัว) กลุ่มเด็กปฐมวัย (๐-๕ ปี)/สตรี 1.อัตราส่วนการตายของมารดาไม่เกิน15ต่อการเกิดมีชีพแสนคน 2.ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย.
Model ผลที่คาดหวัง วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดหลัก
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ข้อเสนอ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน Product Champion Cluster วัยรุ่น
แนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี 2562
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
อัตราส่วนการตายมารดาไทย
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ทิศทางการดำเนินงานลดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD)
การดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษและแรงงานต่างด้าว
“ความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน คสจ. และ พชอ.”
โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
จังหวัดไร้พุงมุ่งสู่สุขภาพดี ปี 54
PRIMARY CARE PRIMARY CARE Primary care.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
ใบสำเนางานนำเสนอ:

นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและแนวทางดำเนินงาน ปี 2559 โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

Outline สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นไทย กรอบแนวคิดการพัฒนาสุขภาพคน ตลอดช่วงชีวิต พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ร่าง ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569

อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต่อหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในปี พ.ศ.2535 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน คิดเป็น 40.7 และสูงถึง 49.7 ในปีพ.ศ. 2557 ที่มา: สถิติสาธารณสุข

จำนวนการคลอดของหญิงเฉลี่ยต่อวัน กลุ่มอายุ จำนวน (คน) 2543 2553 2554 2555 2556 2557 10-19 ปี 240 338 362 343 316 10-14 ปี 4 8 9 10 จำนวนการคลอดของหญิงเฉลี่ยต่อวัน พบว่า - จำนวนการคลอดในหญิงอายุ 10-14 ปี เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 4 คน ในปี 2543 เป็น 9 คน ในปี 2557 - จำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี เฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 240 คน ในปี 2543 เป็น 316 คน ในปี 2557 ที่มา : 1. สถิติสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2543 2. ข้อมูล ปี 2553 - 2557 โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ปรับปรุงข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน : ปี 2557 รายจังหวัด รายเขตสุขภาพ อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน ใน ปี 2557 แยกตามรายเขตสุขภาพ รายจังหวัด โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

ร้อยละของแม่คลอดบุตรจำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2546-2557 ร้อยละของแม่คลอดบุตรจำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2546-2557 ร้อยละ ร้อยละของแม่คลอดบุตรจำแนกตามกลุ่มอายุ พ.ศ. 2546-2557 พบว่า แม่คลอดอายุ 10-14 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี 2546 เป็น ร้อยละ 0.5 ในปี 2557 แม่คลอดอายุ 15-19 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.7 ในปี 2546 เป็น ร้อยละ 15.8 ในปี 2557 ที่มา : โดยการสนับสนุนข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเหตุ : ร้อยละของแม่คลอดบุตร = จำนวนแม่คลอดบุตรในช่วงอายุนั้น x 100 จำนวนแม่คลอดบุตรทั้งหมด โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ 6

ร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น จำแนกตามกลุ่มอายุของแม่ ปี พ.ศ. 2553 – 2557 ร้อยละ 18-19ปี 15-19ปี 10-19ปี 15-17ปี 10-14ปี ร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น พบว่า การคลอดซ้ำในวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.7 ในปี 2546 เป็น ร้อยละ 12.4 ในปี 2557 หมายเหตุ 1. จำนวนการคลอดทั้งหมด ปี พ.ศ.2546-2557 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงานโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

จำนวนและร้อยละของการคลอดซ้ำในวัยรุ่น จำแนกตามกลุ่มอายุ ปี พ.ศ. 2557 กลุ่มอายุ (ปี) จำนวนคลอด ทั้งหมด จำนวนการ คลอดซ้ำ ร้อยละของ การคลอดซ้ำ 10-19 115,490 14,339 12.4 15-19 112,277 14,338 12.8 10-14 3,213 1 0.0 โดยในปี 2557 วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี มีการคลอดซ้ำจำนวน ถึง14,338 คิดเป็นร้อยละ 12.8 ที่มา : 1. ข้อมูลการคลอด ปี พ.ศ. 2557 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์ข้อมูลโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

ร้อยละของนักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 2552 2553 2554 2555 2556 2557 1. นักเรียน ม.5 เพศชาย เพศหญิง 24.7 13.9 25.9 15.5 28.0 16.4 24.8 20.2 17.2 24.2 18.9 2.นักเรียน ปวช.ชั้นปีที่ 2 44.0 37.4 46.6 41.0 49.8 41.6 46.1 51.1 46.2 45.3 46.0 47.1 วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ที่เร็วขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิง ร้อยละของนักเรียนเคยมีเพศสัมพันธ์ ในนักเรียนหญิงชั้นม.5 เพิ่มขึ้น จากปี 2552 ร้อยละ13.9 เป็น 18.9 ในปี 2557 และ ในนักเรียนหญิ ปวช.ชั้นปีที่ 2 เพิ่มขึ้น จากปี 2552 ร้อยละ 37.4 เป็น 47.1 ในปี 2557 ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2557 โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

ร้อยละของการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนอาชีวะชั้นปีที่ 2 ในการรณรงค์ การป้องกันการตั้งครรภ์และการติดเชื้อเอชไอวีโดยการใช้ถุงยางอนามัย ในหลายปีที่ผ่านมา ยังพบว่ามีเพียงร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 60 เท่านั้น ที่ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ซึ่งการที่วัยรุ่นไทยจำนวนมากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันย่อมทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายโดยเฉพาะการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2557 โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15-24 ปี ส่วนปัญหาอีกอย่างของการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่าอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15-24 ปี ปี พ.ศ.2553 คือร้อยละ 80.8 และสูงถึงร้อยละ 103.4 ในปี 2557 (ข้อมูลการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ) ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553-2557 **โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับรายงานคือ หนองใน , หนองในเทียม , แผลริมอ่อน , กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2558) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

ร้อยละของเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำแนกตามกลุ่มอายุของแม่ ปี พ.ศ. 2546 – 2557 ร้อยละ ร้อยละของเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ พบว่า ในปี 2557 แม่อายุ10-14 ปี คลอดเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มากที่สุด ร้อยละ 19.1 และรองลงมา แม่อายุ15-19 ปี คลอดเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 13.0 หมายเหตุ 1. จำนวนการคลอดทั้งหมด ปี พ.ศ. 2546-2557 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงานโดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2559) โดย : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

การแท้งในประเทศไทย ปี 2557 สำรวจในโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 13 จังหวัด ผู้ป่วยแท้งเข้ารับการรักษาและยินยอมตอบแบบสอบถาม จาก รพ. 243 แห่ง จำนวน 1,710 ราย แท้งเอง ร้อยละ 59.7 ทำแท้ง ร้อยละ 40.3 - ทำแท้งที่มีเหตุผลด้านสุขภาพ 30.8 - ทำแท้งที่มีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ ครอบครัว 69.2 เฉพาะผู้ทำแท้ง เชื่อมต่อในสไลด์ต่อไป ที่มา : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์

การทำแท้งที่มีเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว ร้อยละของผู้ป่วยที่ทำแท้งจำแนกตามช่วงอายุ ร้อยละ 36.1 มีสถานภาพ นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 30.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 57.5 อายุต่ำกว่า 25 ปี ที่มา :สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย 2557

ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยทำแท้ง ร้อยละ ไม่ตั้งใจให้ตั้งครรภ์ครั้งนี้ 88.7 ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ 45.6 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้ง 89.7 ทำแท้งซ้ำ 10.9 หมายเหตุ ผู้ป่วยทำแท้งที่มีเหตุผลด้านเศรษฐกิจ/สังคม/ครอบครัว

กรอบแนวคิดการพัฒนาสุขภาพคนตลอดช่วงชีวิต : กลุ่มวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2559 เป้าหมาย KPI กระทรวง 1. อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี (ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน ภายในปี 2561 2. ความชุกผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรอายุ 15 – 19 ปี (ไม่เพิ่มขึ้นจากผลBSS ในปี 2558) ผลผลิต ผลักดันการบังคบใช้กฎหมายเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพวัยรุ่น วัยรุ่นเข้าถึงความรู้ในการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง การเชื่อมต่อระบบสถานบริการสาธารณสุขกับสถานศึกษาและชุมชนในการจัดบริการให้กับวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดบริการสุขภาพวัยรุ่น โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายเพื่อวัยรุ่นปลอดภัยจากพฤติกรรมเสี่ยง มาตรการ : การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้วัยรุ่นปลอดภัยจากปัญหาทางเพศ และแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบบริหารจัดการร่วมกับ DHS เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มวัยรุ่น มาตรการ : การบูรณาการและเชื่อมโยงกับระบบ DHS โดยมีการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพวัยรุ่น มีทีม Teen Manager ระดับเขต/จังหวัด ในการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงและใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุมและเข้าถึงวัยรุ่นทุกกลุ่มในสถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา และชุมชน มาตรการที่ 1 : จัดบริการเชิงรุกสู่สถานศึกษา เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต เพศศึกษารอบด้าน สนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน มาตรการที่ 2 : จัดบริการที่เป็นมิตรสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของวัยรุ่น รวมถึงการให้บริการคุมกำเนิดในแม่วัยรุ่น มาตรการที่ 3 : จัดบริการเชิงรุกสู่ชุมชน เน้นการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ที่วัยรุ่น และเยาวชนมีส่วนร่วม และการจัดพื้นที่เรียนรู้ของพ่อแม่ (โรงเรียนพ่อแม่/การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับลูกหลานวัยรุ่น) จากสถานการณ์ดังกล่าว ได้มีการบูรณาการแผนงาน/โครงการ ระหว่างกรมวิชาการภายในกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้นโยบายของรัฐบาลในแผนพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินงานที่สอดคล้องโดยในกลุ่มวัยรุ่นมีเจ้าภาพหลัก คือ กรมสุขภาพจิต ส่วนของกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นเจ้าภาพร่วม โดยในปี 2559 มีการกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญ โดยการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวอยู่ในมาตรการที่ 3 : จัดบริการเชิงรุกสู่ชุมชน เน้นการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ที่วัยรุ่น และเยาวชนมีส่วนร่วม และการจัดพื้นที่เรียนรู้ของพ่อแม่ (โรงเรียนพ่อแม่/การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง กับลูกหลานวัยรุ่น)  

นโยบาย / ระบบเฝ้าระวัง/ การติดตามและประเมินผล แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สถานศึกษา มีการสอนเพศวิถีศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน พัฒนาแกนนำวัยรุ่น เป้าหมาย 1.ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ 2.เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 3.การตั้งครรภ์ที่พร้อม สถานบริการสาธารณสุข อปท. / ครอบครัว / ชุมชน มีฐานข้อมูล แผนงาน และ กิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ มีการจัดบริการสุขภาพ ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน มีระบบการดูแล/ส่งต่อ เชื่อมโยง ทุกระดับ มีแผนดำเนินการ สนับสนุนทรัพยากร มีฐานข้อมูลเรื่องเพศและอนามัย การเจริญพันธุ์ การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม ครอบครัวมีการสื่อสารเรื่องเพศ พื้นที่เรียนรู้สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองในรูปแบบโรงเรียนพ่อแม่ จากกรอบแนวทางการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น ของ WHO ซึ่งเน้นว่าการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี ต้องเน้นอยู่ใน setting สถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุข ครอบครัว / ชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม โดยที่สถานศึกษามีบทบาท การสอนเพศวิถีศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และพัฒนาแกนนำวัยรุ่น สถานบริการสาธารณสุข มีฐานข้อมูล แผนงาน และ กิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ มีการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Services: YFHS) และมีระบบการดูแล/ส่งต่อ เชื่อมโยง ทุกระดับ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดำเนินการ การสนับสนุนทรัพยากร มีฐานข้อมูลเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม และสนับสนุนให้ครอบครัวมีการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งพื้นที่การเรียนรู้สำหรับพ่อแม่ในชุมชน นโยบาย / ระบบเฝ้าระวัง/ การติดตามและประเมินผล

พระราชบัญญัติ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยมี 5 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ความหมายและสิทธิของวัยรุ่น ภายใต้ พรบ. วัยรุ่น (หมายถึง บุคคลอายุ 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ) มีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา 2. เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้ 3. เสนอรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 4. กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชนเพื่อป้องกัน ช่วยเหลือแก้ไข และเยียวยาปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น การใช้ความรุนแรงทางเพศและการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ 5. ให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชน 6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย   พรบ.นี้ส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถใช้งบประมาณในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่

มาตรการสำคัญทางกฎหมาย สถานศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา (๒) จัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษาและให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา (๓) จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม สถานบริการ ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่นและสอดคล้องกับสิทธิตามมาตรา ๕ รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม สถานประกอบกิจการ ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นดังต่อไปนี้ (๑) ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ (๒) จัดหรือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม หน่วยงานสวัสดิการสังคม ฝึกอาชีพและจัดหางานแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ จัดหาครอบครัวทดแทนให้วัยรุ่นที่มาสามารถเลี้ยงดูบุตรได้เอง สร้างแกนนำเยาวชนระดับจังหวัดและอำเภอ ในการเฝ้าระวังปัญหา สนับสนุนหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้ความช่วยเหลือแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัว

ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569 ร่าง ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569   ร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569 (อยู่ภายใต้ พรบ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559)  

แนวคิดหลักของยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์นี้เน้น การเสริมสร้างการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยราชการและภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม การพัฒนาวัยรุ่นเชิงบวก มุ่งสร้างสุขภาวะแก่วัยรุ่น โดยสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ใหญ่และชุมชน เพื่อจัดการกับปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมปัจจัยบวกที่มีผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่นไปพร้อมๆ กัน ให้ความรู้ คำแนะนำและช่วยเหลือวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข เพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีการติดตามสถานการณ์ปัญหา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย ลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยพิจารณาจากการลด อัตราการคลอดในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่งภายในพ.ศ. 2569 เมื่อเทียบกับพ.ศ. 2558

วัตถุประสงค์ 1.วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต 9.รณรงค์สื่อสารเพื่อให้เกิดวัฒนธรรม ค่านิยมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางเพศ 8. พ่อแม่วัยรุ่นได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมรวมถึงการฝึกอาชีพและการได้ งานทำ 2. ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกและมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องเพศกับ บุตรหลาน 7.พ่อแม่วัยรุ่นได้รับความช่วยเหลือในการจัดหาครอบครัวทดแทนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ วัตถุประสงค์ 3. วัยรุ่นในระบบการศึกษาที่ตั้งครรภ์ได้รับความช่วยเหลือจากสถานศึกษา และครอบครัวให้สามารถศึกษาต่อเนื่องได้ วัตถุประสงค์อันหนึ่งที่สำคัญ คือ ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกและมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน 6.พ่อแม่วัยรุ่นได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือเกี่ยวกับการดูแลเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ 4. วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาทางเลือก สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 5. วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับบริการที่เป็นมิตรและถูกต้องตามหลักวิชาการ

ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต แก่วัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศ ของวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัย การเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ และการจัดสวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสื่อสารสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศ ในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนากลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในทุกระดับ ร่าง ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตแก่วัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดูสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการสื่อสารสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนากลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในทุกระดับ ในยุทธศาสตร์ที่ 2 กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ดำเนินการที่สอดคล้องคือ การให้ความสำคัญในการสื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในครอบครัวจึงได้จัดทำ “คู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว”ฉบับปีพ.ศ.2558 โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้มีการพูดคุย สื่อสารเรื่องเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์กับลูกหลานวัยรุ่น และลูกหลานวัยรุ่นกล้าพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง อีกทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศและกล้าที่จะเริ่มพูดคุยกับลูกหลาน เพื่อส่งผลให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมและปลอดภัย การจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญที่จะช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา จึงมีหลายหน่วยงานและผู้ที่สนใจที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สถานประกอบการ และชุมชนให้ความสนใจนำคู่มือไปใช้ในการจัดอบรมฯนอกจากนี้ กรมอนามัย ยังมีการขยายการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องผ่านระบบการเยี่ยมประเมินตามเกณฑ์อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัย และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2560-2569 ว่าด้วย “การส่งเสริมบทบาทครอบครัวและชุมชนในการเลี้ยงดูสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น” และในปลายปีงบประมาณ 2558 – 2559 จึงได้มีพัฒนาคู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัวโดย กรมวิชาการที่เกี่ยวข้อง ให้เป็น“คู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว (ฉบับบูรณาการ)” มีการปรับปรุงเนื้อหาในคู่มือฯ ให้มีความครอบคลุมในประเด็นอนามัยการเจริญพันธุ์ พัฒนาการวัยรุ่น และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และมุ่งหวังที่จะเป็นเครื่องมือที่จะให้ 3 กรมวิชาการขยายผลในพื้นที่ต่อไป

กลไกระดับชาติ สนับสนุนและประสานการทำงานระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น งบประมาณสำหรับงานประสานและริเริ่ม หนุนเสริมวิชาการ พัฒนาศักยภาพที่จำเป็น ผู้บริหารหน่วยงานระดับจังหวัด สนับสนุนการทำงาน ๙ ภารกิจในพื้นที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงสาธารณสุข กลไกประสานระหว่างทุกภาคส่วน ระบบข้อมูล ติดตาม และประเมินผล กระทรวงศึกษาธิการ การส่งเสริมทักษะชีวิตและเพศศึกษาในโรงเรียน กระทรวงมหาดไทย การพัฒนาทักษะพ่อแม่ในการสื่อสารกับลูก ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นลงครึ่งหนึ่งใน ปี ๒๕๖๗ กระทรวงวัฒนธรรม การป้องกันในกลุ่ม เปราะบาง กระทรวงแรงงาน การสื่อสารรณรงค์ ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ต้องประกอบด้วยหลากหลายภาคส่วน กระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวง ICT และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานระดับจังหวัดสนับสนุนการทำงาน 9 ภารกิจในพื้นที่คือ 1.กลไกประสานระหว่างทุกภาคส่วน 2.การส่งเสริมทักษะชีวิตและเพศศึกษาในโรงเรียน 3.การป้องกันในกลุ่มเปราะบาง 4.การจัดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับวัยรุ่น 5.การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น 6.บริการด้านสังคมทั้งการดูแลบุตร การได้ศึกษาต่อ และ/หรือส่งเสริมให้มีงานทำในรายได้ที่พอเพียง 7.การสื่อสารรณรงค์ 8.การพัฒนาทักษะพ่อแม่ในการสื่อสารกับลูก 9.ระบบข้อมูล ติดตาม และประเมินผล กระทรวง ICT การจัดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับวัยรุ่น บริการด้านสังคมทั้งการดูแลบุตร การได้ศึกษาต่อ และ/หรือส่งเสริมให้มีงานทำในรายได้ที่พอเพียง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น ภาควิชาการและภาคีอื่นๆ

สวัสดี