อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
John Rawls  John Rawls is the most famous American social contract theorist argued that “Justice is fairness” He Thought human natural have a appropriate.
Advertisements

Quality Development with Outcome Research
Texture การประมวลผลภาพแบบดิจิตอล Ian Thomas
4.Suwatganee Kamprapan P.6/1 Sirilak Boons wan Teacher
PERFECT TENSE.
ครั้งที่ 9 บทที่ 2 25 มิถุนายน 2553
Pronouns Pronouns (คำสรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนที่คำนาม
Exercise 4: Page 41.
Phrasal Verb ‘Give me a ring’.
การสร้าง WebPage ด้วย Java Script Wachirawut Thamviset.
Indirect Question without Question Word.
Luke 15 The Lost Sheep and the Lost Coin Luke 15 The Lost Sheep and the Lost Coin ลูกา​ 15 สูญหายแกะและ ลูกา​ 15 สูญหายแกะตัวและสูญหายเหรียญกษาปณ์
Programming & Algorithm
ภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน 2
งานหน่วย 2 เริ่มติดลบ 1 พรุ่งนี้ และเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์
ครูรุจิรา ทับศรีนวล.
Indirect Question word
Passive Voice By Witchuma Singhaphukam No.40 Soytreemook Boutoom No.41
ภาษาอังกฤษ อ่าน-เขียน 2
The Faulty Kettle.
ครูรุจิรา ทับศรีนวล. สนทนา โต้ตอบ ตามสถานการณ์ ที่กำหนดให้ ได้ถูกต้อง.
ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปึที่ 4 Grammar & Reading ครูรุจิรา ทับศรีนวล.
Model development of TB active case finding in people with diabetes.
These examples show that the subject is doing the verb's action.
แบบฝึกหัด Relative clauses
D 2 E 1 S E M N G ม. I G I T Grammar A L 4.0.
สื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ชุดฝึกเขียนสรุป (Writing Summary)
ภาพรวมของการบัญชี (OVERVIEW OF ACCOUNTING)
Chapter 5 Satellite Systems
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 7 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
คำเทศนาหัวข้อที่ 3: ประกาศข่าวดี SERMON 3: PREACHING GOOD NEWS
Modals-Ability By T’Sumana Hanlamyuang.
“เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH. “เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH.
By T’Sumana Hanlamyuang
1. นี่เป็นสิ่งที่พระเยซูทรงทำ พระองค์ทรงรักษาทุกคน ที่เจ็บป่วยให้หายดี
โครงการพัฒนาทีมจัดการระบบ การจัดการโรคเรื้อรัง ในระดับจังหวัดปี 2554
Control Charts for Count of Non-conformities
Principles of Accounting II
Chapter 6 Diplomatic and Consular Privileges and Immunities
เรื่องราวของวันคริสต์มาส
Adjective Clause (Relative Clause) An adjective clause is a dependent clause that modifies head noun. It describes, identifies, or gives further information.
(Product Liability: PL Law)
การประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพ Health Needs Assessment - HNA
อย่ากลัวสิ่งใดเลย Fear Nothing. อย่ากลัวสิ่งใดเลย Fear Nothing.
นวัตกรรมการบริการสารสนเทศ ในยุคประเทศไทย 4.0
Reported Speech Statements
Direct Speech Vs Indirect Speech
ตอนที่ 3: ท่านเป็นผู้ชอบธรรมได้อย่างไร?
The Christmas Story Part 4: Jesus Reveals The Truth
บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด
พระเยซูและเพื่อนของพระองค์
1 ยอห์น 1:5-7 5 นี่เป็นเรื่องราวซึ่งเราได้ยินจากพระองค์และประกาศแก่ท่าน คือพระเจ้าทรงเป็นความสว่าง ในพระองค์ไม่มีความมืดเลย 6 ถ้าเราอ้างว่ามีสามัคคีธรรมกับพระองค์แต่ยังดำเนินในความมืด.
(การสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ)
ตอนที่ 6: ชอบธรรมที่ภายใน Part 6: Righteous On The Outside
1. พระเยซูทรงมีฤทธิ์เดชที่จะ ช่วยให้รอด
ตอนที่ 3 - โดยฤทธิ์เดชแห่งการอธิษฐาน Part 3 - By the Power of Prayer
1 E 1 S E M N G Reading & Writing
“ความเชื่อที่นำสู่ชัยชนะ”
ที่มาและหน่วยงานกาชาดต่างๆ
กฎหมายสิ่งแวดล้อม : การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม
“สติปัญญาในการเลือกคู่ครอง” “Wisdom in Choosing a Spouse”
วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
“เคลื่อนไปสู่ชีวิตใหม่ ตอนที่ 2” Moving Into the Newness of Life
1. พระเยซูทรงต้องการให้เราเป็น เหมือนพระองค์
ตอนที่ 4: เคลื่อนไปกับของประทานของท่าน Part 4: Flowing In Your Gift
Control Charts for Count of Non-conformities
บทที่ 2 การวัด.
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการบูรณาการภาครัฐและเอกชนในการจัดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคตะวันออก This template can be used as a starter file to give updates for.
Air-Sea Interactions.
Principles of codification
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ บทที่ 3 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ อ.หทัยกาญจน์ กำเหนิดเพชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ความเบื้องต้น PL law – Products liability law เป็นกฎหมายสารบัญญัติที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้สินค้า โดยเน้นหนักไปที่ “หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด” หรือ Strict liability ที่มีภาระการพิสูจน์แตกต่างจากกฎหมายละเมิดทั่วไป - อันเป็นการลดภาระ การพิสูจน์ของผู้เสียหาย

ความเป็นมา คดี Liebeck v McDonald’s Rests 1995 WL 360309 (1994) แมคโดนัลไม่ได้ให้คำเตือนแก่ลูกค้าว่ากาแฟมีความร้อนมาก (180-190 องศาฟาเรนไฮด์) ซึ่งเป็นความร้อนที่สูงกว่าผู้ขายรายอื่น ทำให้โจทก์ถูกน้ำ ร้อนลวก โจทก์มีส่วนประมาทด้วย คือ ใช้เข่าหนีบถ้วยกาแฟเพื่อเปิดฝาเติมครีมและ น้ำตาล เหลือค่าเสียหาย 160,000 ดอลล่าร์ มีผู้เสียหายรวมกว่า 700 คน

Philip Morris: Tobacco Products In 2002, Philip Morris [now known as Altria Group, Inc. (MO)] faced charges in a suit filed by a woman who had lung cancer and claimed that smoking cigarettes had caused her sickness and that her tobacco addiction was caused by the tobacco company's failure to warn her of the risks of smoking. The company was ordered to pay punitive damages of a whopping $28 billion and $850,000 in compensatory damages. Philip Morris appealed the case and nine years later the amount was reduced to $28 million. โจทก์ฟ้องว่าป่วยเป็นมะเร็งเพราะบริษัทไม่ให้คำเตือนถึงอันตรายของบุหรี่ Read more: The 5 Largest U.S. Product Liability Cases | Investopedia http://www.investopedia.com/slide-show/5-largest-us-product-liability-cases/#ixzz4CkfNqpXo

Dow Corning: Silicone Breast Implants In 1998, Dow Corning [a joint venture of The Dow Chemical Co. (DOW) and Corning Inc. (GLW)] was reached a settlement in which it agreed to pay $2 billion as part of a larger $4.25 billion class action suit filed by customers who claimed that their silicone breast implants were rupturing, causing injury, bodily damage, scleroderma and death. ผู้ขายนำซิลิโคนที่รู้อยู่แล้วว่าอาจรั่วและแตกได้มาจำหน่าย Read more: The 5 Largest U.S. Product Liability Cases | Investopedia http://www.investopedia.com/slide-show/5-largest-us-product-liability-cases/#ixzz4Ckgr4Y3u

หลักความรับผิด หลักความรับผิดเมื่อมีความผิด (fault liability) หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (strict liability) หลักความรับผิดเด็ดขาด (absolute liability) หลักความรับผิดเพื่อละเมิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น (vicarious liability)

สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑

๑. สภาพปัญหา (ที่มาของกฎหมายฉบับนี้) ๑. การผลิตสินค้ามีการใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสูงขึ้นเป็นลำดับ ๒. การที่ผู้บริโภคจะตรวจพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัยกระทำได้ยาก ๓. การฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายมีความยุ่งยากเนื่องจากภาระในการ พิสูจน์จะตกแก่ผู้ได้รับความเสียหาย

เหตุผลในการตรากฎหมาย โดยที่สินค้าในปัจจุบันไม่ว่าจะผลิตภายในประเทศหรือนำเข้า มีกระบวนการผลิตที่ ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้นเป็นลำดับ การที่ผู้บริโภคจะ ตรวจพบว่าสินค้าไม่ปลอดภัยกระทำได้ยาก เมื่อผู้บริโภคนำสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไป ใช้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สินของ ผู้บริโภคหรือบุคคลอื่นได้ แต่การฟ้องคดีในปัจจุบันเพื่อเรียกค่าเสียหายมีความยุ่งยาก เนื่องจากภาระในการ พิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการกระทำผิดของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าตก เป็นหน้าที่ของผู้ได้รับความเสียหายตามหลักกฎหมายทั่วไปเพราะยังไม่มีกฎหมาย ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าโดยมีการกำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบในความเสียหายของผู้ผลิตหรือผู้เกี่ยวข้องไว้โดยตรง

จึงสมควรนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้ อันจะมีผลให้ผู้เสียหายไม่ต้อง พิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า ตลอดจนได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็น ธรรม “Strict liability” ต้องรับผิดโดยไม่ต้องพิจารณาว่าจงใจ ประมาทเลินเล่อในการก่อให้เกิดความ เสียหายนั้นหรือไม่

๒. วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ - พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๓๖ก วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เป็นต้นไป) - หากมีกฎหมายใดบัญญัติเรื่องความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไว้โดยเฉพาะซึ่งให้ความคุ้มครองผู้เสียหายมากกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ให้บังคับตามกฎหมายนั้น

๓. นิยามศัพท์ มาตรา ๔ “สินค้า” หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย รวมทั้งผลิตผลเกษตรกรรม และให้หมายความรวมถึง กระแสไฟฟ้า ยกเว้นสินค้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

“ผลิตผลเกษตรกรรม” หมายความว่า ผลิตผลอันเกิดจากเกษตรกรรมต่างๆ เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงไหม เลี้ยงครั่ง เพาะเห็ด แต่ไม่รวมถึงผลิตผลที่เกิดจาก ธรรมชาติ

กฎกระทรวงกําหนดผลิตผลเกษตรกรรมเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นฯ กําหนดให้ผลิตผลเกษตรกรรมของเกษตรกรที่มีแหล่งกําเนิดในประเทศไทย แม้ผ่าน กระบวนการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นตามบทนิยามคําว่า “สินค้า” ในมาตรา 4 (1) การสีฝัด หรือขัดข้าว (2) การร่อนหรือล้างพืช หรือการคัดหรือแยกขนาดหรือคุณภาพของพืช (3) การปอก ตัด บด ป่น หรือย่อยพืช (4) การกะเทาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช (5) การอบใบยาสูบให้แห้งหรือการรูดก้านใบยาสูบ (6) การล้าง ชําแหละ แกะ หรือบดสัตว์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์ (7) การกระทําอื่นใดที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน

กฎกระทรวงกําหนดยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขได้ผลิตเพื่อนํามาใช้กับผู้ป่วยหรือสัตว์เฉพาะรายที่ผ่านการตรวจรักษาหรือได้ผลิตตามคำสั่งของผู้ให้บริการสาธารณสุขผู้ตรวจรักษาเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นฯ ให้ยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขได้ผลิตเพื่อนํามาใช้เฉพาะกับการ บําบัดรักษาผู้ป่วยหรือสัตว์เฉพาะรายที่ผ่านการตรวจรักษาหรือได้ผลิตตามคําสั่ง ของผู้ให้บริการสาธารณสุขผู้ตรวจรักษานั้นแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ผลิตใน ลักษณะเดียวกันเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นตามบทนิยามคําว่า “สินค้า” ในมาตรา 4

ข้อสังเกตสำหรับสินค้า ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ต้องเป็นสิ่งที่ “ผลิต” หรือ “นำเข้า” เพื่อขาย เท่านั้น – หากเป็นสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อขาย แม้จะก่อความเสียหายขึ้น ก็ไม่เข้าข่ายการเป็นสินค้าตาม ความในพระราชบัญญัตินี้ ผู้เสียหายต้องไปเรียกร้องค่าเสียหายตามหลักละเมิด ทั่วไป ผลิตผลทางการเกษตรของเกษตรกรที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย เป็นสินค้าที่ ได้รับการยกเว้นตามกฎกระทรวง – ต้องเป็นผลิตผลจากเกษตรกรรายย่อยที่มี แหล่งกำเนิดในประเทศไทยเท่านั้น

เป็นสินค้าหรือไม่ ??

“สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” หมายความว่า สินค้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิต หรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือกำหนดไว้ แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้ สินค้าใดที่ได้ขายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้

ความไม่ปลอดภัยของสินค้า แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากความบกพร่องในการผลิต (manufacturing defects) – สินค้ามีความผิดพลาดในการผลิต หรือผลิตแตกต่างไปจากแบบที่ ได้ออกไว้ ความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการออกแบบที่บกพร่อง (design defects) - เป็นความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ความไม่ปลอดภัยที่เกิดจาการเตือนที่บกพร่อง (warning defects) – การ ขาดการให้ข้อมูลที่จำเป็นเพียงพอสำหรับผู้ใช้สินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่ อาจเกิดขึ้นจากการใช้สินค้านั้น

“ความเสียหายต่อจิตใจ” “ความเสียหาย” หมายความว่า ความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ ไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็น ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่ รวมถึง ความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น “ความเสียหายต่อจิตใจ” หมายความว่า ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อ จิตใจอย่างอื่น ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

ข้อสังเกตสำหรับ ความเสียหาย ต้องเป็นความเสียหายโดยตรงจากสินค้าไม่ปลอดภัย ความเสียหายต่อตัวสินค้าไม่ปลอดภัยเอง ไม่ถือเป็นความเสียหายที่จะเรียกได้ ตาม พรบ.นี้ แต่ผู้เสียหายอาจเรียกร้องโดยอาศัยหลักกฎหมายอื่น เช่น สัญญา ละเมิด เป็นต้น เช่น ความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่อง หากรถยนต์เสียหายด้วย ก็ ไม่อาจเรียกค่าเสียหายได้จาก พรบ.นี้ แต่ผู้เสียหายมีสิทธิในการเรียกร้อง ค่าเสียหายจากบริษัทผู้ขายได้ ตามสัญญาซื้อขายในฐานที่ส่งมอบสินค้าที่ชำรุด บกพร่อง

“ผู้เสียหาย” หมายความว่า ผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

ข้อสังเกตสำหรับ ผู้เสียหาย ไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์กับผู้ถูกฟ้อง ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริโภค แต่รวมไปถึงบุคคลใดๆ ที่ได้รับความเสียหายอันเกิด จากสินค้าไม่ปลอดภัย – จึงมีความหมายกว้างกว่าผู้บริโภค เนื่องจาก พรบ.นี้มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองบุคคลทุกคนที่ได้รับความเสียหาย อันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้เสียหายจะเป็นผู้บริโภค หรือไม่ก็ตาม เช่น นาย ก ได้รับความเสียหายจากการที่รถยนต์ของบุคคลอื่นที่จอดอยู่ เกิด ระเบิดขึ้น แม้นาย ก จะไม่ได้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าว (ไม่เป็นผู้บริโภค) นาย ก ก็ ถือเป็นผู้เสียหายตาม พรบ.นี้ มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้

“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง แต่ง ประกอบ ประดิษฐ์ “ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง แต่ง ประกอบ ประดิษฐ์ แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ดัดแปลง คัดเลือก แบ่งบรรจุ แช่เยือกแข็ง หรือฉายรังสี รวมถึงการกระทำใดๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ทาง การค้า และให้หมายความรวมถึงให้เช่า ให้เช่าซื้อ จัดหา ตลอดจน เสนอ ชักชวน หรือนำออกแสดงเพื่อการดังกล่าว

“นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย “นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย “ผู้ประกอบการ” หมายความว่า (๑) ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต (๒) ผู้นำเข้า (๓) ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ (๔) ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายข้อความ หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ อันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็น ผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้า

ข้อสังเกตสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หลักๆ ได้แก่ ผู้ผลิต / ผู้ว่าจ้างให้ผลิต และ ผู้นำเข้า ผู้ขายสินค้าทั่วๆ ไป ไม่เป็นผู้ประกอบการ เว้นแต่ผู้ขายสินค้านั้น จะขายสินค้าที่ ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ กรณีผู้ใช้ชื่อ ชื่อทางการค้าฯ ที่แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือนำเข้าเอง หากแต่สมัครใจ ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าตนเป็นผู้ผลิต ย่อมตกอยู่ในฐานะผู้ประกอบการที่ต้อง รับผิดตาม พรบ.นี้ด้วย

๔. ความรับผิดของผู้ประกอบการ มาตรา ๕ “ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิด จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความ เสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ หรือไม่ก็ตาม”

เงื่อนไขความรับผิดของผู้ประกอบการ มี 2 ประการ ความเสียหายเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผู้ประกอบการต้องรับผิดเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น หากแม้เป็นสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่อง แต่ยังไม่เกิดความเสียหาย ก็ไม่อาจเรียก ค่าเสียหายจากผู้ประกอบการได้ แต่ผู้เสียหายสามารถเรียกให้รับผิดตามสัญญาซื้อ ขายได้ สินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว นอกจากผู้ประกอบการจะต้องรับผิดเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องเป็นกรณีที่สินค้านั้นมีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว หากเป็นความเสียหาย ระหว่างการขนส่ง ยังไม่มีการขายไปยังผู้บริโภค ผู้ประกอบการก็ไม่ต้องรับผิด แต่ อาจต้องรับผิดตามกฎหมายละเมิดทั่วไป

ความรับผิดของผู้ประกอบการเป็นความรับผิดโดยเคร่งครัด คือ ผู้ประกอบการต้องรับผิดในความเสียหาย แม้ความเสียหายนั้นจะไม่ปรากฏว่า เป็นความผิดของตนอย่างชัดแจ้ง ความรับผิดโดยเคร่งครัด เป็นความรับผิดที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความประมาทเลินเล่อ หรือความจงใจ แต่เป็นความรับผิดที่เกิดจากการฝ่าฝืนหน้าที่ที่จะต้องทำให้เกิดความปลอดภัยโดย แท้จริง ดังนั้น เมื่อเกิดความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย ผู้ประกอบการต้องรับ ผิด ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือไม่ก็ตาม

การร่วมกันรับผิดของผู้ประกอบการ ความรับผิดร่วมกันของผู้ประกอบการในมาตรานี้ เป็นไปตามประมวลกฎหมาย แพ่งฯ มาตรา 291 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายอาจเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการทุกรายเฉลี่ยกัน หรือเรียก ให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดรับผิดให้ครบถ้วนก็ได้ หากเป็นกรณีที่ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดชำระหนี้แทนผู้ประกอบการรายอื่น ไป ย่อมสามารถไปเรียกร้องเอาจากผู้ประกอบการรายอื่นภายหลังได้ตามหลัก เรื่องลูกหนี้ร่วม

ภาระการพิสูจน์ มาตรา ๖ “เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้อง คดีแทนตามมาตรา ๑๐ ต้องพิสูจน์ว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากสินค้าของ ผู้ประกอบการและการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา แต่ ไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการผู้ใด”

ภาระการพิสูจน์ของผู้เสียหาย มี 2 ประการ ต้องพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบการ พิสูจน์ว่าสินค้าที่ก่อความเสียหายเป็นสินค้าของผู้ประกอบการนั้น ผู้เสียหายไม่ต้องนำสืบว่าสินค้าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย การพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล หลักฐานที่ใช้ในการพิสูจน์เป็นไปตาม วิ.แพ่ง – พยานบุคคล พยานเอกสาร พยาน วัตถุ การใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา เช่น ใช้ตามคำเตือน ใช้ตามฉลากสินค้า

๕. ข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิด มาตรา ๗ ๕. ข้อยกเว้นไม่ต้องรับผิด มาตรา ๗ “ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้า ที่ไม่ปลอดภัย หากพิสูจน์ได้ว่า (๑) สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (๒) ผู้เสียหายได้รู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (๓) ความเสียหายเกิดขึ้นจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้า ไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผู้ประกอบการได้กำหนดไว้อย่างถูกต้องและชัดเจนตามสมควรแล้ว”

หากผู้ประกอบการนำสืบได้ใน 3 กรณีนี้ก็ไม่ต้องรับผิด กรณีที่ 1 พิสูจน์ว่าสินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยต้องพิสูจน์ดังต่อไปนี้ 1.1 สินค้านั้นไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เพราะสินค้านั้นไม่มีความบกพร่องใน การผลิต 1.2 สินค้านั้นไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เพราะสินค้านั้นไม่มีความบกพร่องใน การออกแบบ 1.3 สินค้านั้นไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เพราะได้มีการกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บ รักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไว้ถูกต้องชัดเจนตามสมควรแล้ว โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า ลักษณะการใช้งาน และการเก็บรักษาตากปกติธรรมดา ของสินค้าอันพึงคาดหมายได้โดยผู้บริโภคทั่วไป

ข้อสังเกตเรื่องคำเตือนที่ผลิตภัณฑ์ ข้อควรระวัง - การที่ผู้ประการจะได้ให้คำเตือนเกี่ยวกับอันตรายของสินค้าไว้บนตัว ผลิตภัณฑ์แล้ว แต่หากมีข้อความอื่นเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ด้วย จน อาจทำให้ผู้ใช้สินค้าเกิดความสับสนว่า ผลิตภัณฑ์นี้เป็นสินค้าปลอดภัยหรือเป็น สินค้าอันตรายกันแน่ ก็อาจถือว่าข้อความที่รับรองความปลอดภัยของสินค้า ไปลบ ล้างคำเตือนได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพรมที่มีข้อความว่า “ปลอดภัยในการทำความ สะอาด” และมีคำเตือนว่า “เตือนภัย: ห้ามสูดควัน ใช้เฉพาะในสถานที่ที่มีการ ระบายอากาศที่ดี” กรณีนี้ถือว่า ข้อความที่รับรองความปลอดภัย ได้ลบล้างคำ เตือนแล้ว ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงไม่พ้นความรับผิด

กรณีที่ 2 พิสูจน์ว่าผู้เสียหายรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือ ผู้เสียหายรู้ว่าสินค้านั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น การที่นาย ก ซื้อรถยนต์มาจากบริษัท เอ เมื่อนำมาใช้ปรากฏว่าศูนย์ถ่วงล้อมีปัญหา เบรกไม่ดี จึงติดต่อกับบริษัทผู้ขายเพื่อขอเปลี่ยน/ คืนรถ แต่บริษัทแจ้งว่าต้องใช้เวลา ในการดำเนินการระยะหนึ่ง ระหว่างนั้น นาย ก ต้องการใช้รถ และไม่มีรถคันอื่นให้ใช้ จึงใช้รถคันดังกล่าว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ กรณีนี้ นาย ก รู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าไม่ ปลอดภัย แต่ยังคงใช้สินค้านั้นอยู่ ดังนั้น หากบริษัท เอ พิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ได้ บริษัท เอ ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด

กรณีที่ 3 พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้า ไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผู้ประกอบการ ได้กำหนดไว้อย่างถูกต้องและชัดเจนตามสมควรแล้ว Misconduct ผู้ใช้ ใช้สินค้าไม่ถูกต้อง หากความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ใช้เอง หากผู้ประกอบการพิสูจน์ให้เห็นได้ ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด **กรณีผู้ประกอบการสามารถนำสืบเพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดตามมาตรา 7 ได้ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย**

การผลิตตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง มาตรา ๘ “ผู้ผลิตตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิตไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความ ไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบของผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือจากการปฏิบัติ ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิต ทั้งผู้ผลิตไม่ได้คาดเห็นและไม่ควรจะได้คาดเห็นถึง ความไม่ปลอดภัย ผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้าไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่า ความไม่ ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบหรือการประกอบหรือการกำหนดวิธีใช้ วิธี เก็บรักษา คำเตือน หรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของผู้ผลิตสินค้านั้น”

กรณีที่ 1 ข้อยกเว้นเฉพาะตัวของผู้ผลิตตามคำสั่งของผู้จ้างให้ผลิต หากผู้ผลิตเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ต้องรับผิดร่วมด้วย ผู้ผลิตมีเหตุที่จะนำสืบ เพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดร่วมเป็นการเฉพาะตัวได้ โดยต้องพิสูจน์ 2 ประการคือ ความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบของผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผลิตตาม คำสั่งของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตไม่ได้คาดเห็นและไม่ควรจะคาดเห็นถึงความไม่ปลอดภัย

**ข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรานี้ เป็นการยกเว้นเฉพาะตัว** กรณีที่ 2 ข้อยกเว้นเฉพาะตัวของผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้า กรณีที่มีผู้ประกอบการที่ต้องรับผิดมีหลายราย และมีผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้า รวมอยู่ด้วย ผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้ามีเหตุนำสืบเฉพาะตัวเพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดร่วมกับ ผู้ประกอบการอื่นได้ โดยพิสูจน์ให้เห็นว่า ความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบหรือการ ประกอบ หรือการกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ของผู้ผลิตสินค้านั้น **ข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรานี้ เป็นการยกเว้นเฉพาะตัว**

ข้อตกลงเพื่อยกเว้นความรับผิดที่ทำไว้ล่วงหน้า มาตรา ๙ “ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดความ เสียหาย และประกาศหรือคำแจ้งความของผู้ประกอบการเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความ รับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จะนำมาอ้าง เป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้บริโภคมีความหมายเช่นเดียวกับนิยามคำ ว่า “ผู้บริโภค” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค”

ตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั่วไป บุคคลสามารถทำข้อตกลงล่วงหน้าเพื่อ ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดได้ ตามมาตรา 151 มาตรา 151 ป.พ.พ. “การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่อันเกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีชองประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ” แต่ตาม พรบ.นี้ ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ ล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหาย และประกาศหรือคำแจ้งความของผู้ประกอบการ เพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายอันเกิดจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย จะนำมาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้

๖. บุคคลผู้มีสิทธิฟ้องคดี มาตรา ๑๐ “ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม และมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจ ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้ โดยให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการฟ้องและ ดำเนินคดีแทนตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม การฟ้องและดำเนินคดีแทนผู้เสียหายตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชา ธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด”

ผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย 1. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค – ตามมาตรา 39 พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค 2. สมาคมและมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค – ตามมาตรา 40 พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค การยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม เฉพาะกรณีที่มีผู้ฟ้องคดีแทนเท่านั้น หากผู้เสียหายฟ้องคดีเอง ไม่ได้รับการยกเว้น กรณีที่โจทย์(คกก.ผู้บริโภค/สมาคม/มูลนิธิ) ชนะคดี – จำเลย (ผู้ประกอบการ) จะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทย์ แต่หากโจทย์แพ้คดี โจทย์ย่อมได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรค 1 “ค่าฤชาธรรมเนียม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาลค่าป่วย การ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้า พนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรค 1 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิด ใน ชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตาม ข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้น รับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี”

๗. ภาระการพิสูจน์ ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับภาระในการพิสูจน์ ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทน เพียงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ได้รับความ เสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบการและการใช้ หรือการเก็บรักษาสินค้า นั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา แต่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากการ กระทำของผู้ประกอบการผู้ใด

๘. การกำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยศาล มาตรา ๑๑ “นอกจากค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามที่กำหนดไว้ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจอันเป็นผล เนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้เสียหาย และหากผู้เสียหายถึงแก่ความตาย สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ของบุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจ (๒) หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ประกอบการได้ผลิต นำเข้า หรือ ขายสินค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือมิได้รู้เพราะ ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยภายหลัง จากการผลิต นำเข้า หรือขายสินค้านั้นแล้วไม่ดำเนินการใด ๆ ตามสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการจ่าย ค่าสินไหมทดแทน

เพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง นั้น  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหาย ที่ผู้เสียหายได้รับ การที่ผู้ประกอบการรู้ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการปกปิดความไม่ปลอดภัยของสินค้า การดำเนินการ ของผู้ประกอบการเมื่อทราบว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผลประโยชน์ ที่ผู้ประกอบการได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ประกอบการ การที่ ผู้ประกอบการได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้เสียหายมี ส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย”

ค่าเสียหายตามพรบ.นี้ มี 3 ประเภท 1. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ตามมาตรา 438-447 โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่ง ละเมิด ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ม.438 ว.2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ชีวิต ม.443, 445 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ร่างกายและอนามัย ม.444-446 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่เสรีภาพ ม.445-446 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ชื่อเสียง ม.447

2. ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อจิตใจ (อันเป็นผลเนื่องมาจากความเสียหาย ต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้เสียหาย) และหากผู้เสียหายถึงแก่ความตาย สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าเสียหายสำหรับ ความเสียหายต่อจิตใจ

3. หากผู้ประกอบการได้ผลิต นำเข้าหรือขายสินค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย/ หรือมิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง/ หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยภายหลังจากการผลิต นำเข้า หรือขายสินค้านั้น แล้ว ไม่ดำเนินการใดๆ ตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ผู้ประกอบการอาจจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น จากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง ศาลกำหนดได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงนั้น

ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความร้ายแรง ของความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ การที่ผู้ประกอบการรู้ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการปกปิดความไม่ปลอดภัยของสินค้า การดำเนินการของผู้ประกอบการเมื่อทราบว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ประกอบการ การที่ผู้ประกอบการได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้เสียหายมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย

๙. อายุความ มาตรา ๑๒  ”สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยตาม พระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสามปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความ เสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่มีการขาย สินค้านั้น ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดย ผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการ แสดงอาการ ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนตามมาตรา ๑๐ ต้องใช้สิทธิ เรียกร้องภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับ ผิด แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย”

อายุความสะดุดหยุดอยู่ มาตรา ๑๓ “ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบการและ ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนตามมาตรา ๑๐ ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับ ในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา”

“ ” บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้เสียหาย ที่จะเรียกค่าเสียหาย โดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น มาตรา ๑๔ ”

“ข้อสังเกต”

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ คดีผู้บริโภค รวมถึงคดีตามพระราชบัญญัติความรับผิด ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ประกอบการตามพระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ เจ้าพนักงานคดี วิธีพิจารณาคดีที่รวดเร็ว สะดวก และประหยัด : ฟ้องด้วยวาจาได้

ศาลที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา คือ ศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนา ศาลใช้ระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจสั่งให้เปลี่ยนสินค้า สงวนสิทธิในการแก้ไขคำพิพากษา/คำสั่ง เกี่ยวกับความเสียหาย เรียกเก็บสินค้า กำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษ และ เรียกผู้ถือหุ้นเข้าเป็นจำเลยร่วมและพิพากษา ให้ร่วมรับผิด อายุความ ภาระการพิสูจน์ เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑

โปรดดู “มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” โดย ศักดิ์เดช โพธิรัชต์, รศ.ดร.กัลยา ตัณศิริ และอาจารย์ ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ (วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)

ตัวอย่างกรณีศึกษาของต่างประเทศ

Johnson & Johnson has suffered its second costly court defeat in less than three months over claims its talcum powder caused cancer. And many more cases are looming. A jury in St. Louis awarded $55 million in damages to Gloria Ristesund, who used Johnson & Johnson's talcum powder for more than 35 years before being diagnosed with ovarian cancer in 2011.

Damages Ms Ristesund was diagnosed with ovarian cancer in 2011 and had to undergo a hysterectomy and related surgeries. Her cancer is now in remission. Following a three-week trial in a Missouri state court, she was awarded $5m in compensatory damages and $50m in punitive damages. Jere Beasley, whose firm represents Ms Ristesund, said his client was gratified with the verdict. The jury's decision should "end the litigation", he said, and force J&J to settle the remaining cases.

Ristesund's lawyers argued that Johnson & Johnson knew of possible health risks associated with talc, but failed to warn consumers. "Internal documents from J & J show it knew of studies connecting talc use and ovarian cancer but, to this day, it continues to market it as safe -- neglecting any warning," The Onder Law Firm, which represented Ristesund, said in a statement. Johnson & Johnson said it plans to appeal the verdict.

Philip Morris: Tobacco Products In 2002, Philip Morris [now known as Altria Group, Inc. (MO)] faced charges in a suit filed by a woman who had lung cancer and claimed that smoking cigarettes had caused her sickness and that her tobacco addiction was caused by the tobacco company's failure to warn her of the risks of smoking. The company was ordered to pay punitive damages of a whopping $28 billion and $850,000 in compensatory damages. Philip Morris appealed the case and nine years later the amount was reduced to $28 million. Read more: The 5 Largest U.S. Product Liability Cases | Investopedia http://www.investopedia.com/slide- show/5-largest-us-product-liability-cases/#ixzz47g7E4Imj