งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด
บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด

2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ในกฎหมายโรมันมี หลักหนี้ที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บุคคลผู้เสียหายสามารถตอบโต้ได้อย่างเสรีปราศจากการควบคุม เป็นการแก้แค้นทดแทน ไม่มีขอบเขต อาจแก้แค้นเกินกว่าที่ตนโดนกระทำ อาญากับละเมิดจึงแยกกันไม่ออก ยุคต่อมา ใช้ระบบตาต่อตาฟัน ต่อมา ใช้การตกลงกัน หากต้องการให้หลุดพ้นจากระบบตาต่อตาฟัน เริ่มมีการตกลงชดใช้ทางแพ่ง

3 ยุคปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันได้มีการแบ่งแยกความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทางอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายแพ่งและอาญานั้นต่างกัน กฎหมายกำหนดจำนวนค่าเสียหายจำนวนหนึ่งโดยให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนด

4 ทฤษฎีความรับผิดในทางละเมิด
ทฤษฎีความรับผิดในทางละเมิด  ทฤษฎีรับภัย ถือว่า ใครกระทำการใด ๆ แล้วย่อมเป็นการเสี่ยงภัย (ใครก่อ คนนั้นต้องรับผิด ) ผู้ที่ก่อความเสียหายจะต้องรับผิดเสมอ โดยไม่มีสิทธิปฏิเสธความรับผิด โดยถือว่าผู้ที่ได้กระทำการใดขึ้นมาย่อมต้องรับความเสี่ยงภัยจากการกระทำของตน ทฤษฎีความผิด(Fault theory) อิทธิพลความเชื่อทางศาสนา ถือว่าผู้ที่ทำละเมิดคือผู้ที่ทำผิดศีลธรรมด้วย ดังนั้นต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในจิตใจด้วย กล่าวคือความรับผิดในทางละเมิดจะมีได้เมื่อการกระทำนั้นเป็นความผิด (Fault) ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้ผู้อื่นเสียหายจึงต้องรับผิด

5 ทฤษฎีความรับผิดเด็ดขาด(Strict liability)
ความรับผิดโดยไม่มีความผิด (Liability without fault) ความรับผิดที่ผู้กระทำจะต้องรับผิดทั้งที่ไม่มีความผิด

6 ความรับผิดในทางละเมิดของตนเอง (Fault liability)
1) กรณีบุคคลทำละเมิดตาม มาตรา 420 2) กรณีนิติบุคคลรับผิดในการทำละเมิดของผู้แทนนิติบุคคลตาม มาตรา 76

7 ความรับผิดในการทำละเมิดของบุคคลอื่น (Vicarious Liability)
   1) กรณีของนายจ้างร่วมรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง ตามมาตรา 425      2) กรณีตัวการร่วมรับผิดในการทำละเมิดของตัวแทน ตามมาตรา 427      3) กรณีความรับผิดของบิดามารดา ผู้อนุบาลร่วมรับผิดในการทำละเมิดของผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถ ตามมาตรา 429      4) กรณีความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง บุคคลอื่นผู้ดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ตามมาตรา 430

8 ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ (Liability for damage caused by a property)
ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์ เป็นกรณีที่เป็นความรับผิดเด็ดขาดหรือความรับผิดโดยไม่มีความผิด(Liability without Fault หรือ Strict Liability) ของคนที่เป็นเจ้าของทรัพย์ เนื่องจากทรัพย์สินไมใช่บุคคล(Subject of Law)จึงไม่สามารถทำผิดกฎหมายหรือกระทำละเมิดได้ แต่สามารถทำความเสียหายได้

9 ความรับผิดทางละเมิด กับความรับผิดทางอาญา
อาญา รัฐลงโทษผู้กระทำโดยคำนึงถึงส่วนรวม แต่ละเมิด มุ่งการเยียวยาความเสียหายที่เป็นปัจเจก อาญา มุ่งลงโทษผู้กระทำตามความชั่วร้ายของผู้กระทำ แต่ละเมิดมุ่งการเยียวยาความเสียหายในสังคมให้ได้รับการชดเชยเป็นหลัก อาญา ความรับผิดของผู้กระทำเป็นเรื่องเฉพาะตัว คดีอาญาเลิกเมื่อผู้กระทำผิดตาย แต่ความรับผิดละเมิดของผู้กระทำเป็นมรดกตกทอดได้ การตีความอาญาต้องเคร่งครัด แต่ทางละเมิดตีความขยายความเพื่อเยียวยาความเสียหายได้

10 ความรับผิดทางละเมิด กับความรับผิดทางอาญา
อาญา จำแนกตัวผู้กระทำรับผิดไม่เท่ากัน ตัวการ ผู้สนับสนุน แต่ละเมิด มุ่งการเยียวยาความเสียหาย จึงไม่แยก ตัวการ ผู้สนับสนุน ต้องรับผิดเท่ากันหมด


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความรับผิดละเมิด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google