ศูนย์สุขภาพชุมชน (Mini Health Center) สุพิสชา กิ่งแก้วก้านทอง
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการบรรลุสุขภาพดี การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ กลวิธีที่นำมาใช้ในการพัฒนาผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขเพิ่มพลังการมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการจัดตั้ง “ศูนย์สุขภาพชุมชน”
ศูนย์สุขภาพชุมชน หมายถึง สถานที่ให้บริการสาธารณสุข ขั้นพื้นฐานเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมสาธารณสุขเบื้องต้นแก่สมาชิกในชุมชน เป็นที่รวมความรู้ ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข และเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในชุมชน โยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เป็นผู้ดำเนินการภายใต้การดูแล สนับสนุน การให้คำปรึกษาและแนะนำจากเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เป็นศูนย์รวมการให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในชุมชนในการจัดกิจกรรมบริการ แก้ไขปัญหาสาธารณสุขโดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯเป็นพี่เลี้ยง เพิ่มศักยภาพ อสส.ให้เกิดความมั่นใจและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในชุมชน
องค์ประกอบของศูนย์สุขภาพชุมชน สถานที่ตั้ง ควรเป็นสถานที่ของชุมชนโดยส่วนรวม ที่สะดวก ในการใช้บริการ สะอาดปลอดภัย สภาพแวดล้อมเหมาะสม มีการจัดสถานที่ การจัดวางตู้ โต๊ะ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆเป็นระเบียบ และสะดวกในการใช้งาน มีการแสดงเวลาการปฏิบัติงาน และผู้ปฏิบัติงานชัดเจน ผู้ให้บริการ จำนวนเพียงพอ อย่างน้อย 3 คน/ศูนย์ฯ มีความรู้ ความสามารถ มีความรับผิดชอบ สุขภาพอนามัยดี มีการประสานงานกับศูนย์ฯพี่เลี้ยงต่อเนื่อง
องค์ประกอบของศูนย์สุขภาพชุมชน เครื่องมือ มีการจัดทำบัญชี วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ การดูแลเครื่องมือพร้อมใช้ ระบบการเบิก จ่ายยา และเวชภัณฑ์ อื่นๆ มีการบันทึกชัดเจน การบันทึกการสำรวจ ข้อมูลประชาชนในชุมชน แผนที่ชุมชน การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ให้บริการต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ลงบันทึกการปฏิบัติงานชัดเจน บันทึกข้อมูลการให้บริการ
กิจกรรมของศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน กิจกรรมบริการ การส่งต่อผู้ป่วย ศูนย์รวมในการประสานงาน และการจัดกิจกรรมสาธารณสุข
สวัสดี