การมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตาม ดูแลพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนตามกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้วิจัย กนกวรรณ ตั้งจิตบำรุง หลักสูตร ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต ปี 2550
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับการเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม ดูแลความประพฤติของเด็กและเยาวชนที่ผ่านการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน นามกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป
ศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้าร่วมประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในสถานพินิจฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี สถานภาพ สมรสเป็นส่วนใหญ่ โดยรวมเห็นว่า กระบวนการเชิงสมานฉันท์เป็นการฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเพื่อเป็นคนดีคืนสู่สังคม รองลงมาเห็นว่า กระบวนการเชิงสมานฉันท์เป็นวิธีการช่วยให้เด็กกระทำผิดน้อยลง และสามารถปรับปรุงแก้ไขตนเองได้ ดังนั้น ชุมชนควรเข้ามาดูแลเยาวชนและเข้าอบรมช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติสุข
ผลการศึกษาการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตามดูแลพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ตามกระบวนการสมานฉันท์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า การมีส่วนร่วมในการติดตาม ดูแลพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน 3 อันดับแรก คือ 1.การให้คำชมเชยและให้กำลังใจเด็กด้านความประพฤติ 2.การให้คำแนะนำที่มีปัญหาความประพฤติ ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน 3.การพูดคุย ทักทายและแสดงความห่วงใยต่อเด็กและเยาวชน ที่มีปัญหาความประพฤติไม่เหมาะสม
ผลการศึกษาต่อกระบวนการยติธรรมสมานฉันท์และ การมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่าง
กระบวนการเชิงสมานฉันท์คือ การสร้างสำนึกผิด เยียวยา ฟื้นฟู ผดุงความยุติธรรมแก่ชุมชน เน้นการจัดการโดยตรงกับผู้กระทำผิดทางอาญา บทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้กับผู้กระทำผิด รวมทั้งการแก้ไขมากกว่าการลงโทษที่รุนแรง ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรม ของผู้กระทำผิด ความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์จึงเป็นความยุติธรรมเพื่อสังคมโดยส่วนรวมที่มุ่งเน้นความเอื้ออาทรและความสมัครใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้เสียหาย ชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม
ข้อเสนอแนะของการศึกษาวิจัย
1.สถานพินิจฯควรจัดทำมาตรการเชิงลุก เพื่อป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน 2.หน่วยงานภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เรียนรู้ถึงช่องทางการเช้ามามีส่วนร่วมให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร กฎหมาย ตลอดจน การมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่
3.ให้ชุมชนติดตามประเมินผลเป็นระยะในเด็กและเยาวชน เพื่อแจ้งเบาะแสให้สถานพินิจฯทราบ เมื่อพบแหล่งยาเสพติด 4.สถานพินิจฯควรให้การสนับสนุนและผลักดัน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขเด็กและเยาวชน รวมทั้งจัดกิจกรรมต่างๆให้มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณคะ