ชื่อเรื่อง ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการ สอน สาขาวิชาการจัดการทั่วไป ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง ผู้วิจัย นางเยาวลักษณ์ อา ลักษณสุวรรณ
ปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความ คิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนสาขาวิชาการ จัดการทั่วไป ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิค บริหารธุรกิจกรุงเทพ ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา หลักสูตร ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียน ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน และด้านการวัดและประเมินผลโดยจำแนกตาม เพศ ระดับชั้น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อ นำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดการศึกษา และนำมาพัฒนาด้านการเรียนการสอนสาขาวิชา การจัดการทั่วไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีก ทั้งมีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการเรียน การสอนสาขาวิชาการจัดการทั่วไป ของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจ กรุงเทพ ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา หลักสูตร ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการ เรียน ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมใน การเรียน และด้านการวัดและประเมินผล
ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการจัดการทั่วไป วิทยาลัย อาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ เขต วัฒนา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 150 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาที่สอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2556 ทั้งหมด 98 คน ได้มา โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง
สรุปผลการวิจัย ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียน ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า โดยรวมและรายข้อมีความคิดเห็นอยู่ ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย 1. ด้านเนื้อหาหลักสูตร ควรเพิ่มเนื้อหารายวิชาการจัดการ ทั่วไป ให้มีความเพียงพอที่จะนำไปศึกษาต่อหรือเทียบ โอนในระดับปริญญาตรี 2. ด้านครูผู้สอน เพิ่มเทคนิควิธีใช้สื่อให้เหมาะสมกับ เนื้อหารายวิชาการจัดการทั่วไป 3. ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียน ควรจัดให้มีมีการ เพิ่มพูนความรู้จากครูหรือวิทยากรที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ และ ประสบการณ์ตรงสาขาอาจกระทำโดยเชิญวิทยากร ภายนอกมาบรรยายพิเศษ 4. ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน ควรมีการปรับปรุงห้องน้ำ และเพิ่มสถานที่พักผ่อนให้เพียงพอต่อนักศึกษา 5. ด้านการวัดและประเมินผลเพิ่มวิธีการวัดและประเมินผลที่ สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตร