ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
หน่วยรับข้อมูลเข้า
หน่วยรับข้อมูล เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ และเมาส์ อุปกรณ์รับเข้าในปัจจุบันมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการในการนำเข้าที่ต่างๆ กัน เราอาจแบ่งเป็นประเภทของ อุปกรณ์รับเข้าได้ดังนี้ 1.อุปกรณ์รับเข้าแบบกด 2.อุปกรณ์รับเขัาแบบชี้ตำแหน่ง 3.อุปกรณ์รับเข้าแบบปากกา 4.อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส 5.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ 6.อุปกรณ์รับเข้าแบบจำเสียง
ตัวอย่าง
1.อุปกรณ์รับเข้าแบบกด *แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด
2. อุปกรณ์รับเขัาแบบชี้ตำแหน่ง *เมาส์
3.อุปกรณ์รับเข้าแบบปากกา *ปากกาแสง
4.อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส * จอภาพสัมผัส
5.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ *เครื่องอ่านรหัสแท่ง
6.อุปกรณ์รับเข้าแบบจำเสียง * อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ 1.หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงาน ทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกา เป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน 2. หน่วยคำนวน เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้นการคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุม ของหน่วยควบคุม
ตัวอย่าง
* CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำ ชนิดนี้จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว แบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล 1.หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้ กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด 2. หน่วยความจำไม่ลบเลือน คือ หน่วยความจำเก็บข้อมูลได้ โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร
ตัวอย่าง
* รอม
* แรม
หน่วยความจำรอง
หน่วยความจำรอง ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อ อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที ข่าวสารหรือข้อมูลที่จะเก็บไว้ในส่วนความจำนั้นเป็นรหัสแทนเลขฐานสอง คือ ๐ กับ ๑ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นกลุ่ม ๆ และมีแอดเดรสตามที่กำหนด เพื่อความสะดอกขอนิยามไว้
ตัวอย่าง
*ฮาร์ดดิสก์
*หน่วยความจำแบบแฟลช
หน่วยส่งออก
หน่วยส่งออก คือ มีอุปกรณ์ส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจาก หน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์
ตัวอย่าง
*จอภาพ
*ลำโพง
จัดทำโดย นส.ณัฐพร ป้อดี เลขที่ 35 ด.ญ.จิราพร หมื่นจี้ เลขที่ 36 นายอานุภาพ ชัยพนัส เลขที่ 37 นส.สุพรรษา ชัยเทพ เลขที่ 43 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนจักรคำคณาทร