การประเมินโครงการ (Project Evaluation) โดย อาจารย์ ยุทธนา พรหมณี สมสุณีย์ ดวงแข Page 1
ทำไมต้องประเมินโครงการ การประเมินโครงการมีเป้าประสงค์หลักคือ ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ดำเนินการ นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หรือ เป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการดำ เนินการหรือไม่ รวมถึงการศึกษาว่าในการดำ เนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยน แปลงหรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง และเป็นโครง การที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด สมสุณีย์ ดวงแข Page 2
การประเมินโครงการคืออะไร การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสรุปผลว่าโครงการ นั้น ๆ ได้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ เพียงใด สมสุณีย์ ดวงแข Page 3
ประเภทของการประเมินโครงการ การประเมินโครงการจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท การประเมินโครงการก่อนดำเนินการ การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต การประเมินประสิทธิภาพ สมสุณีย์ ดวงแข Page 4
1.การประเมินโครงการก่อนดำเนินการ เป็นการศึกษาประเมินความเป็นไปได้ ก่อนที่เริ่มโครงการใด ๆ โดยอาจทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของปัจจัยป้อน ความ เหมาะสมของกระบวนการที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการบริหารจัดการ โครงการ ปัญหา อุปสรรค ความเสี่ยงของโครงการ ตลอดจน ผลลัพธ์ หรือประสิทธิผลที่คาดว่าจะได้รับ ในขณะเดียวกันก็อาจจะศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น - การประเมินผลกระทบด้านสังคม - การประเมินผลกระทบด้านนิเวศ - การประเมินผลกระทบด้านการเมือง - การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สมสุณีย์ ดวงแข Page 5
1.การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ เป็นการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเป็นสำคัญซึ่งมักจะใช้ ประเมินผลระหว่างแผนหรือระหว่างพัฒนาโครงการ ผลที่ ได้จะช่วยตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่แท้จริง นอกจากนั้นการประเมินระหว่างดำเนินโครงการ จะช่วยตรวจสอบว่าโครงการได้ดำเนินไปตามแผนของโครงการ อย่างไร สมสุณีย์ ดวงแข Page 6
การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ อาจใช้ประเมินสิ่งต่อไปนี้ 1.ทบทวนแผนของโครงการ 2.การสร้างแผนของโครงการ 3.การพัฒนาแบบสอบถาม 4.การเตรียมข้อมูลที่จะเป็นข่าวสาร สำหรับการรายงาน 5.การแนะนำแนวทางปรับปรุงการแก้ปัญหา และการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติของโครงการ สมสุณีย์ ดวงแข Page 7
3.การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการประเมินผลรวมสรุป มักจะใช้ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ ซึ่งผลสรุปที่ได้จะนำสู่การรายงายว่า โครงการได้บรรลุเป้าหมาย (Goals) หรือไม่อย่างไร ตลอดจนการรายงานถึงสถานภาพของ โครงการว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงไร มีปัญหาหรือ อุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริหาร โครงการสามารถนำไปสู่การตัดสินว่า โครงการนั้นควรดำเนินการต่อ หรือยกเลิก สมสุณีย์ ดวงแข Page 8
4.การประเมินประสิทธิภาพ การประเมินประสิทธิภาพของโครงการมักจะเริ่มจากคำถามต่าง ๆ กัน เช่น 1. ความสำเร็จของโครงการนั้น ๆ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายแล้วมี ความเหมาะสมหรือไม่ 2. ผลผลิตของโครงการเกิดจากปัจจัยที่ลงทุนไปใช่หรือไม่ 3. โครงการนี้มีผลผลิตสูงกว่าโครงการอื่น ๆ เมื่อลงทุนเท่ากันหรือไม่ และเพราะเหตุใด สมสุณีย์ ดวงแข Page 9
การประเมินแบบซิป (CIPP Model) (Srufflebeam’s CIPP Model) เป็นการประเมินภาพรวมของโครงการ ตั้งแต่บริบท ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิต (Context, Input, Process and product) โดยจะใช้วิธีการ สร้างเกณฑ์และประสิทธิภาพของโครงการ ทั้งภาพรวม หรือรายปัจจัยเป็นสำคัญ สมสุณีย์ ดวงแข Page 10
ประสิทธิภาพของผลผลิต -หลักการ - วัตถุประสงค์ของโครงการ - เป้าหมายของโครงการ - การเตรียมการภายในโครงการ ประเมินสภาวะแวดล้อม ( Context Evaluation ) - บุคลากร - วัสดุอุปกรณ์ - เครื่องมือเครื่องใช้ - งบประมาณ ประเมินการปัจจัยเบื้องต้น ( Input Evaluation ) -การดำเนินโครงการ -กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ - การนิเทศติตามกำกับ - การประเมินผล ประเมินกระบวนการ ( Process Evaluation ) ประสิทธิภาพของผลผลิต การประเมินผลผลิต ( Product Evaluation ) สมสุณีย์ ดวงแข Page 11
สวัสดี สมสุณีย์ ดวงแข Page 12