ชื่อเรื่องวิจัย ความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนจากเทคโนโลยี ไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนของ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ชื่อผู้วิจัย นางสาวภัทธิรา กลิ่นหอม สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ปัญหาการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากที่ผู้วิจัยได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาการผลิตและพัฒนาสื่อการสอนจากเทคโนโลยี ไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีหน้าที่หลักในด้านมัลติมีเดียในด้าน ภาพยนตร์ เพลง เกม อีบุ๊ก และท่องเว็บไซต์ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ในปีการศึกษา 2556 ผู้วิจัยมีความต้องการในการศึกษาถึงความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนจากเทคโนโลยีไอแพดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของทางวิทยาลัยฯ เพื่อจะได้ทราบถึงความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อการสอนซึ่งจะเป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง การผลิตและพัฒนาสื่อการสอนจากเทคโนโลยี ไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลใช้สำหรับการวางแผน การผลิตและพัฒนาสื่อการสอนต่อไป
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจใช้สื่อการสอนจากเทคโนโลยี ไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) ข้อมูลพื้นฐาน ----------------------------- 1. เพศ 2. ระดับการศึกษา 3. สาขาวิชา 4. ความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนจากเทคโนโลยีไอแพดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ------------------------------------- 1.ส่วนนำของบทเรียน 2.เนื้อหาของบทเรียน 3.การใช้ภาษา 4.การออกแบบระบบการเรียนการสอน 5.ส่วนประกอบด้าน MULTIMEDIA 6. การออกแบบปฏิสัมพันธ์ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
แสดงร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามตัวแปร อายุ เพศ และระดับการศึกษา
ความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนจากเทคโนโลยี ไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ [SBAC]
สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาถึงระดับพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนจากเทคโนโลยี ไอแพด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ อยู่ในระดับ มาก x-bar = 3.60 ซึ่งส่วนที่นักศึกษามีความพอใจสูงสุด คือ เรื่องของส่วนประกอบด้าน MULTIMEDIA และการออกแบบปฏิสัมพันธ์ x-bar = 3.62 เนื่องด้วย เพราะสื่อการสอนมีการใช้ภาพกราฟิกเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา และมีความสวยงาม มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ รองลงมาคือการออกแบบระบบการเรียนการสอน เนื้อหาของบทเรียน การใช้ภาษา และที่มีความพึงพอใจน้อยสุดคือ ส่วนนำของบทเรียน x-bar = 3.56