หลักการออกแบบของ ADDIE model
หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอดังนี้ 1 หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอดังนี้ 1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysi 2. ขั้นการออกแบบ Design 3. ขั้นการพัฒนา Development 4. ขั้นการนำไปใช้ Implementation 5. ขั้นการประเมินผล Evaluation
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน 3. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 4. การวิเคราะห์เนื้อหา
2. ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียนซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์พฤติกรรมเนื้อหาแบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้ 1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้ง 4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ 5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
3. ขั้นตอนการพัฒนา (Develop) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การเตรียมการ การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้ 1.1 การเตรียมข้อความ 1.2 การเตรียมภาพ 1.3 การเตรียมเสียง 1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้วในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบ
4. ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement) การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมากมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ
5. ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน
การวิจัยและพัฒนาโปรแกรม4-เอช เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ การวิจัยครั้งนี้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (statistics package for the social science: SPSS) เพื่อคำนวณวิเคราะห์ค่าสถิติต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ความเบ้ (sk) และความโด่ง (ku) ของคะแนนภาวะผู้นำของนักเรียนในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
2. ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติทดสอบที ชนิดกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กัน (t-test for dependent) 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะผู้นำของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยสถิติทดสอบที ชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (t-test for independent)
2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยเน้นเนื้อหาที่อิงจากกรอบแนวคิดการวิจัยและสามารถตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างถูกต้อง 2. การวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป คือ การวิเคราะห์แบบอุปนัย (analytic analysis) ใช้การตีความหมายเพื่อสร้างข้อสรุปจากเหตุการณ์ที่ได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ และใช้วิธีการวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดของข้อมูล
3. การวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล คือ การที่ผู้วิจัยนำเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ที่ได้จำแนกข้อมูลนั้นแล้วมาเปรียบเทียบกัน การใช้วิธีการเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์เช่นนี้ จะนำไปสู่การสร้างข้อสรุปเชิงนามธรรมและการสร้างทฤษฎีโดยใช้วิธีการสร้างข้อสรุป
ขั้นที่ 2 การออกแบบ (DesignPhase) 1. เพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรม4-เอชเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียน 2. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำระหว่างนักเรียนที่ใช้กิจกรรมการสอนแบบปกติร่วมกับโปรแกรม4-เอชและนักเรียนที่ใช้กิจกรรมการสอนแบบปกติ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรม การขยายความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนที่ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติร่วมกับโปรแกรม4-เอชและนักเรียนที่ใช้กิจกรรมการสอนแบบปกติ และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม
ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (Development Phase) สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมการสอนแบบปกติและกิจกรรมการสอนแบบปกติร่วมกับโปรแกรม4-เอช ทดลองใช้โดยจะดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ทดสอบก่อนการทดลอง (pre-test) ขั้นตอนที่ 2 ทดลองสอนตามกิจกรรมการเรียนการสอนของโปรแกรม4-เอชที่ได้สร้างขึ้น และขั้นตอนที่ 3 ทดสอบหลังการทดลอง (post-test
ขั้นที่ 4 ขั้นการนำดำเนินการ (Implementation Phase) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 52 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมีการคัดเลือก 2 ขั้นตอน คือ การเลือกโรงเรียนและการเลือกนักเรียนเข้าสู่การทดลองดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเลือกโรงเรียนโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคือ 1. เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2. เป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนมีความสนใจให้ความร่วมมือและอนุญาตให้ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย
ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะผู้นำสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะผู้นำก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังทดลองนักเรียนทั้งสองกลุ่มมีคะแนนภาวะผู้นำสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การวิเคราะห์ การดำเนินการ การออกแบบ การพัฒนา ประเมินผล การวิจัยและพัฒนาโปรแกรม4-เอช เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
แหล่งข้อมูล http://www.thaiedresearch.org/thaied/index.php?q=thaied_results&-table=thaied_results&-action=browse&-cursor=102&-skip=90&-limit=30&-mode=list&-recordid=thaied_results%3Fid%3D8762
นางสาวนันทิชา พนาผดุงธรรม รหัส 541121211 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ นางสาวนันทิชา พนาผดุงธรรม รหัส 541121211 โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์