15. การวิจัยเชิงสำรวจ Survey Research
หัวข้อบรรยาย การวิจัยเชิงสำรวจ ขั้นตอนการวิจัย การกำหนดหัวข้อการวิจัย การสำรวจเอกสาร การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การกำหนดปัญหาการวิจัย การสร้างกรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย การกำหนดตัวแปรและการวัดตัวแปร การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การรายงานผลการวิจัย
การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง (Sample) วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้นำมาอนุมาน (infer) ถึงกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย 1. กำหนดหัวข้อวิจัย 2. สำรวจเอกสาร การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3. กำหนดปัญหาการวิจัย 4. การสร้างกรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย 5. กำหนดตัวแปรและการจัดตัวแปร 6. กำหนดตัวอย่าง (Sampling) 7. กำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 8 วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 9. รายงานผลการวิจัย
• การกำหนดหัวข้อการวิจัย ☞ เป็นเรื่องที่แคบพอที่จะศึกษา ไม่ควรเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป ☞ ควรสื่อความหมายในประเด็นที่วิจัยอย่างชัดเจน ☞ เป็นเรื่องที่ผู้วิจัยมีความรู้ ความสามารถและมีความสนใจที่จะทำการวิจัยได้ ☞ จะต้องมีประโยชน์และตอบสนองความต้องการของหน่วยงานหรือชุมชน หรือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง ☞ คำนึงถึงระยะเวลา งบประมาณที่เหมาะสม
• การตรวจเอกสาร การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง • การตรวจเอกสาร การทบทวนวรรณกรรม และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง อ่าน/เก็บรวบรวมประเด็นแนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือ ประเด็นของปัญหาของการวิจัย ประโยชน์ 1. ป้องกันการวิจัยซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของบุคคลอื่นที่ทำมาแล้ว 2. ผู้วิจัยสามารถทำการวิจัยได้รอบคอบ ละเอียดตรงเป้าหมาย และมีคุณภาพอย่างแท้จริง 3. ช่วยในการเสนอแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อเรื่อง
• การกำหนดปัญหาการวิจัย ► ระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและอยากหาคำตอบ แนวทางในการกำหนดปัญหา - ศึกษาเบื้องต้นในเนื้อหาที่ทำวิจัยอย่างละเอียด - ศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง - ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ในเรื่องที่ศึกษา หลักเกณฑ์ - ปัญหาต้องกำหนดให้ชัดเจน/กำหนดในรูปของคำถาม - ควรปรากฎในรูปความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร หรือ มากกว่า
• การสร้างกรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ - กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ - ประกอบด้วย ตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ของตัวแปร - ทำให้นักวิจัย จัดระเบียบของข้อมูล เพื่อเห็นความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล สมมติฐานการวิจัย (Hypothesis) - ข้อความที่ใช้คาดคะเนความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร 2 ตัว แปรหรือมากกว่า - มีลักษณะเป็นข้อ ๆ - เป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและแนวคิดการวิจัย
• การกำหนดตัวแปรและการวัดตัวแปร ► ตัวแปร (Variable) คือ ลักษณะ คุณสมบัติของหน่วยต่าง ๆ ► ประเภทของตัวแปร ▲ แบ่งตามหน้าที่ - ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น - ตัวแปรตาม - ตัวแปรคุม ▲ แบ่งตามลักษณะ - เชิงปริมาณ : สามารถบอกค่าเป็นตัวเลขได้ - เชิงคุณภาพ : ไม่สามารถบอกค่าเป็นตัวเลขได้
• การกำหนดตัวแปรและการวัดตัวแปร (ต่อ) ► การวัดตัวแปร คือ กระบวนการแปรสภาพความคิด (Concept) ที่เป็นนามธรรมให้เป็นข้อมูลทางสถิติ ► ระดับของการวัด - Nominal Scale - Ordinal Scale - Interval Scale - Ratio Scale
• การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) เป็นการคัดเลือกตัวอย่างที่จะทำการเก็บข้อมูล - เป็นตัวแทนที่ดี - มีขนาดมากพอที่จะเป็นตัวแทนได้
• เครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ★ แบบสอบถาม (Questionnaire) ★ แบบสัมภาษณ์ (Interview)
• การวิเคราะห์และแปรผลข้อมูล ► วางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล - วิเคราะห์ตัวแปรอย่างไร - ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ/ตัวแปรตาม - กำหนดสถิติที่จะใช้ - จัดเตรียมตารางรายงานผล ► การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ - สถิติพรรณา ใช้บรรยายลักษณะของประชากร - สถิติวิเคราะห์ ใช้ทดสอบสมมติฐาน (การวิเคราะห์ข้อมูลอาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ)
• การรายงานผลการวิจัย ★ เสนอผลการวิจัยอย่างละเอียดตามรูปแบบที่กำหนด (ตามแบบ ว-3 กรมส่งเสริมการเกษตร)