วิธีสอนแบบอุปนัย
วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย หมายถึง เป็นการสอนรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ นั่นคือ นักเรียนได้เรียนรู้ในรายละเอียดก่อนแล้วไปสรุป ตัวอย่างของวิธีสอนนี้ ได้แก่ การให้โอกาสนักเรียนในการศึกษาค้นคว้าสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองศ์ประกอบที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
1. ขั้นเตรียมนักเรียน เป็นการเตรียมความรู้และแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน 2. ขั้นเสนอตัวอย่าง ให้นักเรียนเปรียบเทียบและสรุปกฎเกณฑ์ตัวอย่างควรเสนอหลายตัวอย่าง 3. ขั้นหาองค์ประกอบรวม เป็นการให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบจาก ตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ 4. ขั้นสรุปข้อสังเกตต่างๆ เป็นการสรุปข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างเป็นกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ ด้วยตัว นักเรียน 5. ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นนำข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ที่ได้จากการทดลองหรือสิ่งที่เข้าใจไปใช้ในสถานการณ์จริง
วิธีสอนแบบอุปนัยมีข้อดีอย่างไร ? 1. นักเรียนสามารถเข้าใจในรายละเอียด และหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนจด ชำนาน 2. นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการคิดตามหลักการ เหตุผล และหลักวิทยาศาสตร์ 3. นักเรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
วิธีสอนแบบอุปนัยมีข้อสังเกตอย่างไร 1. ในการสอนแต่ละขั้น ครูควรให้โอกาสนักเรียนคิดอย่างอิสระ 2. ครูควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการเพื่อลดความเครียดและเบื่อหน่าย 3. วิธีสอนแบบอุปนัยจะให้ผลสัมฤทธิ์สูงถ้าครูสร้างความเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างดีก่อนสอน
วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย (Induction) วิธีการสอนโดยใช้การอุปนัย คือกระบวนการที่ผู้เรียนสรุปหลักการจากตัวอย่าง ด้วยตนเอง ดังนี้ 1)มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกการฝึกการคิดวิเคราะห์แล้วเกิดการเรียนด้วยตนเอง 2)องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน ได้แก่ ตัวอย่างย่อย การวิเคราะห์ตัวอย่าง เพื่อหา หลักการ และสรุปหลักการนำไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ 3)ขั้นตอนสำคัญของการสอน ได้แก่ การยกตัวอย่างหรือสถานการณ์ ให้ผู้เรียนศึกษา และวิเคราะห์ สรุปเป็นหลักการ 4)เทคนิคการใช้วิธีการสอนนี้ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเตรียมตัวอย่าง ให้ผู้เรียน ศึกษาวิเคราะห์ แล้วสรุปและนำข้อสรุปไปใช้ 5)วิธีสอนนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือ ข้อดี เช่น ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ได้
ข้อเสีย ใช้เวลาสอนมาก อาจเกิดปัญหากับผู้เรียนที่ขาดทักษะการคิดและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้เขียนนำเสนอลักษณะของครูคณิตศาสตร์ที่ดี ได้แก่ 1)ขยัน – เอาใจใส่ต่อการสอน 2)มีความรู้ในศาสตร์ที่สอน 3) กระตือรือร้นสอน 4)ใช้กลยุทธ์ให้เด็กคิดวิเคราะห์ 5) มีจิตวิทยาในการสอน 6) มีความสามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆให้เข้ากับวิชา 7)สามารถบูรณาการความรู้ให้เข้ากับวิชา
ที่มา : บันทึกนี้เขียนโดย นางสาว อุบล ยีสมัน เมื่อ 3 ปีที่แล้ว http://www.l3nr.org/posts/444327