หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ นำเสนอโดย กลุ่มสัตว์ปีก
หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ หญ้าแฝก (Vetiveria spp.) ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝก (Vetiveria spp.) เป็นพืชตระกูลหญ้าที่พบอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ทนต่อสภาพความแห้งแล้ง ความเปียกแฉะและสภาพน้ำท่วมขังได้ดี เพราะมีระบบรากลึกและใบแคบ หญ้าแฝกขึ้นเป็นกอใหญ่ ขนาดของกอประมาณ 5-20 เซนติเมตรมีความสูงของลำต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ใบแคบยาว มีรากเป็นกระจุกเหมือนใยฟองน้ำ สามารถดูดซับน้ำได้ดีถ้านำมาปลูกเป็นแถวจะช่วยในการดักตะกอนดินและป้องกันการพังทลายของดินได้ดี หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์
ชนิดของหญ้าแฝก หญ้าแฝกที่พบในประเทศไทยจำแนกตามลักษณะภายนอกได้เป็น 2 ชนิดคือ 1. หญ้าแฝกลุ่ม 2. หญ้าแฝกดอน หญ้าแฝกลุ่ม หรือ หญ้าแฝกหอม หรือหญ้าแฝกบ้าน มีใบและรากยาวกว่าหญ้าแฝกดอนเนื้อใบค่อนข้างเนียน มีไขเคลือบมากทำให้มักเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีความชื้นสูงและในน้ำแช่ขัง ใบชี้ตรง เมื่อยาวเต็มที่จะหักพับเป็นมุมแหลม ไม่ชอบที่ร่มรำไร เจริญเติบโตและขยายกอได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องมีการตัดใบจึงจะมีอายุยืนยาว หญ้าแฝกดอน หรือ หญ้าแฝก หรือ หญ้าแฝกป่า พบทั่วไปในที่ค่อนข้างแห้งแล้งสามารถขึ้นได้ในที่แดดจัดและที่ร่มรำไร กอจะเตี้ยกว่าหญ้าแฝกลุ่ม ใบหยาบมีไขเคลือบน้อยทำให้ดูกร้าน ใบเมื่อยาวเต็มที่จะโค้งลงคล้ายตะไคร้ หลังปลูกเมื่อตั้งตัวได้แล้วต้องการการดูแลน้อยกว่าหญ้าแฝกลุ่ม
ลักษณะพื้นที่ในการปลูกหญ้าแฝก พื้นที่ที่จะปลูกหญ้าแฝก พื้นที่ลาดชัน สภาพพื้นที่ที่มีความลาดชันที่ไม่ใช่เป็นป่าต้นน้ำ เป็นที่ซึ่งมีการทำการเกษตร หรือมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการเกษตร เช่น พื้นที่เกษตรที่สูงและไร่เลื่อนลอย พื้นที่ราบ การปลูกหญ้าแฝกในสภาพพื้นที่ราบ โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อการตัดใบหญ้าแฝกคลุมดิน ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์น้ำในดินที่ได้จากน้ำฝน ตลอดจนฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ และหมุนเวียนธาตุอาหารที่มีดินชั้นล่างขึ้นมาสู่ดินชั้นบน ซึ่งอาจปลูกตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบร่วมกันก็ได้ พื้นที่วิกฤติ การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลาย ได้แก่ ขอบบ่อน้ำหรือสระน้ำที่ขุดใหม่ ไหล่ถนน รอยต่อของผิวน้ำกับแนว ป่าที่อยู่เหนือเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ แนวร่องน้ำข้างถนน พื้นที่ภูเขาและพื้นที่ที่ถูกน้ำกัดเซาะเป็นร่องลึก เป็นต้น
ประโยชน์ของการปลูกหญ้าแฝก 1.) ด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ 2.) ด้านฟื้นฟูและปรับปรุงดิน - ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน - แถวหญ้าแฝกช่วยกักเก็บตะกอนดิน - ลดความแรงของน้ำที่ไหลบ่า - ช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินและพื้นที่ตอนบน - ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ 3.) ด้านรักษาสภาพแวดล้อม - ช่วยรักษาคุณภาพน้ำและแหล่งน้ำ - ดูดซับโลหะหนักจากสภาพแวดล้อม - ช่วยในการบำบัดและกรองน้ำเสีย - ป้องกันการพังทลายของไหล่ถนน - เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน - รักษาความชื้นในดิน - ช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น - ทำให้ดินโปร่งและระบายอากาศของดินดี - เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน
แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/watershed/vetiver.htm http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G3/G3_18.pdf http://www.doae.go.th/library/html/detail/vertiver/vertg2.html http://www.chainat.go.th/sub1/ldd/Report/vetiver/vetiver05.htm http://www.haii.or.th/wiki84/index.php/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%81-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C http://www.dnp.go.th/watershed/web%20%CB%AD%E9%D2%E1%BD%A1/page4.htm http://www.chaoprayanews.com/2012/01/26/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-84-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2/