วิจัยประเภทการเรียนการสอน เรื่อง การศึกษาเจตนคติที่ดีต่อการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช 2/9 โดยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
วิทยาลัยเทคโนโลยีอยุธยา จัดทำโดย นางสาวผุสดี ยอดเงิน สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีอยุธยา
ปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการสอนใน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 นักศึกษาระดับชั้นปวช.2/9 สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในชั้นเรียนนี้มีนักศึกษากลุ่มที่สนใจเรียน อยู่ประมาณ 4-5 คน ซึ่งผู้วิจัยจึงเห็นว่าเป็นปัญหาที่นำมาศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และสร้างเจตคติที่ดีของผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษา คือ การศึกษาเจตนคติที่ดีต่อการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช 2/9 โดยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
วัตถุประสงค์ ศึกษาเจตนคติที่ดีต่อการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช 2/9 โดยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและนำไปใช้แก้ไขปัญหาการไม่สนใจเรียน ไม่ชอบเรียน ไม่เข้าเรียน ของนักศึกษา ต่อวิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9
สรุปความสำคัญ ในการดำเนินการวิจัย เรื่อง การศึกษาเจตนคติที่ดีต่อการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 ของนักเรียนระดับชั้น ปวช 2/9โดยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยเทคโนโลยีอยุธยา ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการดำเนินการสร้างเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาเจตนคติที่ดีต่อการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวช 2/9 โดยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ดังนี้ ตาราง ผลการทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ผลการทดสอบ คะแนนเต็ม X S.D. ก่อนเรียน หลังเรียน 100 33.85 84.85 12.36 4.06 ตาราง ความพึงพอใจ ระดับ 5 4 3 2 1 ร้อยละ 72.45 19.90 5.10 2.04 0.51 S.D. 2.25 2.44 1.29 0.73 0.35
จากวิจัยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิม การเรียนแบบร่วมมือ การเรียนแบบดั้งเดิม 1. มีการพึ่งพาอาศัยกับภายในกลุ่ม 2. สมาชิกเอาใจใส่รับผิดชอบต่อตนเอง 3. สมาชิกมีความสามารถแตกต่างกัน 4. สมาชิกผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำ 5. รับผิดชอบร่วมกัน 6. เน้นผลงานของกลุ่ม 7. สอนทักษะทางสังคม 8. ครูคอยสังเกตและแนะนำ 9. มีกระบวนการทำงานเพื่อประสิทธิผลของกลุ่ม 1. ขาดการพึ่งพากันระหว่างสมาชิก 2. สมาชิกขาดความรับผิดชอบในตนเอง 3. สมาชิกมีความสามารถเท่าเทียมกัน 4. มีผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งเพียงคนเดียว 5. รับผิดชอบเฉพาะตนเอง 6. เน้นผลงานของตนเองเพียงคนเดียว 7. ไม่เน้นทักษะทางสังคม 8. ครูขาดความสนใจ หน้าที่ของกลุ่ม 9. ขาดกระบวนการในการทำงานกลุ่ม การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1.นำผลวิจัยไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้ดีขึ้น 2.นำผลวิจัยพัฒนารูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
สรุป จากผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอน วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 กับนักศึกษาระดับชั้น ปวช 2/9 โดยการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อ วิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 9 เพราะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นและมีระดับความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีผลการทดสอบก่อนเรียนทดสอบหลังเรียน คะแนนเต็ม 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 84.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.06 โดยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 72.45
สวัสดี