การอบแห้งข้าวที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยสารสกัดจากใบเตยด้วยวิธี ไมโครเวฟ Dying of rice grain coated with pandan extract by microwave
ผู้จัดทำ นายชานุพงษ์ ไชยเมืองชื่น 4813096 นายศุภฤทธิ์ เพ็ญญาหลวง 4813121 อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.ยงยุทธ เฉลิมชาติ
เค้าโครงการนำเสนอ - ความเป็นมาของโครงงาน - วัตถุประสงค์ - วิธีการทดลอง - แผนการทดลอง - แผนการทำงาน
ความเป็นมาของโครงงาน ปัจจุบันประเทศไทยมีการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์จำพวกแป้งต่างๆ เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนม เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนมากขึ้น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวส่วนใหญ่มีสีขาวหรือสีอื่นที่ได้จากสีสังเคราะห์จำพวกสีผสมอาหาร สีสกัดจากธรรมชาติ แต่การใช้สีผสมอาหารกับผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณที่ต้องใช้ตามกฎของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคอาหาร จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมให้มีการใช้สีสกัดจากธรรมชาติและลดการการใช้สีสังเคราะห์ กดกดกด
วัตถุประสงค์ของโครงงานวิจัย เพื่อศึกษาผลของระยะเวลา กำลังไฟและความหนาของข้าวในการอบแห้งข้าวที่ผ่านการเคลือบด้วยสารสกัดจากใบเตยด้วยเทคนิคไมโครเวฟ 2. เพื่อตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของข้าวที่ผ่านการเคลือบด้วยสารสกัดจากใบเตยด้วยไมโครเวฟ
วิธีการทดลอง 1. นำใบเตยมาทำการสกัดด้วยไอน้ำเพื่อให้ได้สารให้ความหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline - นำใบเตยหั่น 40 g - น้ำสกัดปริมาณ 200 ml - กลั่นให้ได้สารสกัด 150 ml - ปิดฝาให้แน่น - นำไปทำ encapsulation
2. วิธีการทำ encapsulation - ผสม gum acacia : maltodextrin สัดส่วน 70 : 30 นำมาละลายในน้ำที่ควบคุมอุณหภูมิ (50-60 องศาเซลเซียส) ให้ได้ส่วนผสมของ wall material เข้มข้น 33 % w/v - นำส่วนผสม wall material ที่ได้จากข้อ 1 มาผสมสารสกัดธรรมชาติจากใบเตย ที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำ ปริมาณ 25 % โดยน้ำหนักจากนั้นนำไปวัดความหนืดโดยเครื่องวัดความหนืด
นำส่วนผสมดังกล่าวไปเคลือบบนผิวของข้าวขาวพันธุ์ กข 7 ซึ่งเป็นข้าวที่ไม่มีกลิ่นหอมด้วยอัตราส่วน ข้าว10 ส่วน : สารสกัด 1 ส่วน จากนั้นนำข้าวที่ผ่านการเคลือบไปหาความชื้นเริ่มต้น ศึกษาการอบแห้งข้าวที่ผ่านการเคลือบด้วยสารสกัดจากใบเตย ด้วยวิธีใช้คลื่นไมโครเวฟ โดยทำการศึกษาผลของกำลังงานของไมโครเวฟ ที่ระดับ 90 210 และ 360 วัตต์ ผลของความหนาของชั้นข้าว 1 cm และ 10 cm และศึกษาเวลาในการอบแห้ง 10 20 และ 30 นาที
แผนการทดลอง ผลการศึกษา 1 cm 90 10 20 30 210 360 10 cm ความหนา (cm) กำลังวัตต์ (วัตต์) เวลา (นาที) ผลการศึกษา ข้าวดิบ ข้าวหุงสุก ความชื้น สี ลักษณะปรากฏ sensory test เนื้อสัมผัส แรงกด แรงเฉือน 1 cm 90 10 20 30 210 360 10 cm
แผนการทำงาน ขั้นตอน เดือน ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. 1. ศึกษาการสกัดสารหอมจากใบเตยด้วย วิธีกลั่นด้วยไอน้ำ 2. ศึกษาถึงกรรมวิธีการเคลือบผิวข้าวที่ เหมาะสม 3. ศึกษาผลของกำลังงานจากคลื่น ไมโครเวฟ เวลา และความหนาต่อการ ทำแห้ง 5. สรุปผลการทดลองและจัดทำรูปเล่ม
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ นักศึกษามีความชำนาญในการอบแห้งข้าวที่ ผ่านการเคลือบผิวด้วยสารสกัดจากใบเตย นักศึกษาสามารถทำข้าวหอมกลิ่นใบเตยที่มี คุณภาพได้ - นักศึกษาสามารถหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งข้าวที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยสารสกัดจากใบเตยด้วยไมโครเวฟ