งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว
การผลิต น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว บริษัท ปฐมสิทธิ์ จำกัด 40/788 หมู่ 4 ต. คลองสาม อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120

2 เมนู วัตถุดิบในการผลิตน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว
กระบวนการผลิตรำข้าวและจมูกข้าว เอนไซม์ไลเปส (Lipase) ในรำข้าว การกลั่นด้วยระบบไอน้ำแรงสูง (High Pressure) การสกัดแบบบีบเย็น (Screw Press) การกรองแบบแรงดัน (Filter Press) การกรองด้วยกระดาษกรอง (Paper Filter) การกรองแบบแรงเหวี่ยง (Centifuge)

3 วัตถุดิบของน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว
พันธ์ข้าว สายพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากคือ ข้าวหอมมะลิ อายุของข้าวเปลือก ข้าวเก่าจะทำให้คุณภาพของรำที่ไม่ดี เพราะจมูกข้าวจะฝ่อหมดแล้ว ประเภทของโรงสีข้าว โรงสีข้าวจะต้องมีที่เก็บรำที่ไม่มีความชื้น จะทำให้ไม่เกิดเชื้อรา อายุของรำข้าว ต้องเป็นรำที่ออกมาจากเครื่องสี ไม่ใช่รำที่กองอยู่กับพื้น เพราะจะทำให้รำปนเปื้อนสิ่งสกปรก การขนส่งรำข้าว โรงสีข้าวที่อยู่ไกลจากโรงงานบีบน้ำมัน ทำให้การขนส่งเสียเวลา ล่าช้า ทำให้คุณภาพของรำเปลี่ยนไป การบีบน้ำมันรำข้าว รำข้าวในโรงงานบีบน้ำมันจะต้องไม่เก็บไว้ นานเกิน 24 ชั่วโมง โรงงานบีบน้ำมัน ต้องเป็นโรงงานที่ได้มาตรฐาน

4 กระบวนการผลิต น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว
เนื่องจากน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว มึคุณค่า อย่างมาก จึงได้รับความนิยมอย่างสูง กระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าว จึงมีความสำคัญต่อคุณภาพของน้ำมันเป็นอย่างยิ่ง เริ่มตั้งแต่การเลือกโรงสี ที่มีสถานที่เก็บรำที่สะอาด การเลือกรำที่ดีมีคุณภาพ ไม่มีสิ่งปลอมปน การขนส่งรำ จากโรงสีข้าวถึงโรงงานบีบ จะต้องไม่ใช้เวลานาน และ โรงงานบีบน้ำมันจะต้องบีบรำสดๆ ใหม่ๆ ไม่เก็บรำไว้ค้างคืน ทั้งหมดมีความสำคัญต่อการผลิตน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว เพราะคุณภาพน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวที่ดี ก็จะต้องได้จาก การมีวัตถุดิบที่ดี การเตรียมวัตถุดิบที่ดีเท่านั้น

5 เอนไซม์ไลเปส (Lipase) ในรำข้าว
เอนไซม์ ไลเปส คือ เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไขมัน เอนไซม์ ไลเปส มีอยู่ในน้ำกากน้ำมันรำข้าว เอนไซม ไลเปส ทำให้น้ำมันมีกลิ่นหืน น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวที่ผ่านการกรองแล้ว จะต้องไม่มีกากรำข้าวตกค้างอยู่ในน้ำมัน เพราะจะทำให้น้ำมันรำข้าว มีกลิ่นหื่น

6 กระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าว
1 การกลั่นด้วยระบบไอน้ำแรงสูง High Pressure Stream Refining System (230~240 degree) กระบวนการนี้จะต้องใช้ความร้อนสูง 230~240 องศา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของสารในน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว บางชนิดจะถูกทำลายไปเมื่อได้รับความร้อนสูง 2 การสกัดแบบบีบเย็น Screw Press Cold Process (60~70 degree) การบีบเย็นจำมีความร้อนสูงไม่เกิน 60~70 องศา โดยวิธีนี้ จะทำให้คุณภาพของน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวที่ดีที่สุด เพราะสารต่างๆ ในน้ำมันจะยังคงอยู่ในสภาพครบถ้วนสมบูรณ์

7 การกลั่นด้วยระบบไอน้ำแรงสูง
High Pressure Stream Refining System ใช้ความร้อน ประมาณ 230~240 องศา

8 ผลดีและผลเสียของการกลั่นด้วยระบบไอน้ำแรงสูง
ข้อดี ผลิตได้จำนวนมาก ผลิตแบบอุตสาหกรรมได้ ไม่ต้องใช้รำใหม่ในการผลิต เหมาะแก่การผลิตน้ำมัน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือใช้ในครับเรือน ข้อเสีย ผ่านกระบวนการทางเคมี และความร้อน ทำให้สูญเสียธาตุอาหารสำคัญบางอย่างไปกับความร้อน คุณภาพและคุณค่าทางอาหารของน้ำมันมีน้อยมาก

9 การสกัดแบบบีบเย็น Screw Press Cold Process
ไม่มีการเติมสารเคมี ไม่มีความร้อน (ความร้อนที่เกิดจากการบีบอัดเพียง 60 องศา)

10 ข้อดีและข้อเสียของการบีบน้ำมันด้วยวิธีการบีบเย็น
ไม่มีการเติมสารเคมี ไม่ใช้ความร้อน ได้น้ำมันที่คุณภาพสูงมาก คุณค่าของอาหารยังครบถ้วนสมบูรณ์ เหมาะกับการรับประทานเป็นอาหารเสริม ที่มีคุณภาพสูง ข้อเสีย ผลิตได้ครั้งละน้อย ต้องใช้รำใหม่ ในกระบวนการผลิต ต้องใช้รำในปริมาณมาก และเสียเวลาในการบีบมาก ไม่เหมาะจะนำไปเป็นอุตสาหกรรมอาหาร

11 การกรองน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว

12 การกรองแบบแรงดัน Filter Press
ใช้การบีบอัด แยกน้ำมันออกจากกาก สามารถกรองได้เร็ว แต่จากการบีบ ทำให้ มีกากผสมออกมาด้วย ทำให้น้ำมันที่ได้ ไม่บริสุทธิ์ และจะทำให้น้ำมันมีกลิ่นหืน จากกากที่ติดตกค้าง

13 การกรองด้วยกระดาษกรอง
ปล่อยให้น้ำมันไหล ตามแรงโน้มถ่วง ผ่านกระดาษกรอง กรองได้ช้า แต่ได้น้ำมันที่สะอาดมาก น้ำมันมีคุณภาพสูง

14 ประเภทและคุณภาพของกระดาษกรอง
ความถี่: 17 ไมครอน กรองกำจัดความขุ่นมาก มีความหนืดสูง สำหรับ น้ำมันพืช สีทาบ้าน ความถี่: 10 ไมครอน กรองความใสระดับหนึ่ง ความหนืดปานกลาง สำหรับ ไวน์  สุรา น้ำเชื่อม น้ำมัน ยา สารเคมี ความถี่: 1.2 ไมครอน กรองใส และการกำจัดยีสต์  สำหรับ ไวน์ขาว สุราผลไม้ สุรากลั่น น้ำผลไม้ เครื่องสำอาง ยา ความถี่: 0.3 ไมครอน กรองกำจัดเชื้อ (Sterilizing) สำหรับ ไวน์ชนิดไม่หวาน แชมเปญ เครื่องสำอาง ยาที่ต้องการความบริสุทธิ์สูง ความถี่: 0.2 ไมครอน กรองที่ต้องการความบริสุทธิ์สูงสุด กำจัดแบคทีเรีย สำหรับ ยา ไวน์หวาน แชมเปญ

15 การกรองแบบแรงเหวี่ยง
ใช้การหมุนเหวี่ยง เพื่อแยกน้ำออกจากกาก (ไม่นิยมใช้ เพราะไม่สามารถ แยกน้ำมันออกจากกากได้หมด)

16 สรุปการผลิตน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว
กระบวนการผลิตน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวที่ดีที่สุด คือ วิธีการการบีบเย็น Cold Screw Press วัตถุดิบที่ใช้ คือ รำข้าว ต้องใหม่เสมอ การบีบทำได้ช้า ผลิตได้ครั้งละไม่มาก แต่ได้น้ำมันที่มีคุณค่าของรำและจมูกข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด กระบวนการกรองที่ดีที่สุด คือ การกรองด้วยกระดาษกรอง ให้ไหลตามแรงโน้มถ่วง กรองได้ช้า แต่จะทำให้ได้น้ำมันที่สะอาด ไม่มีกากรำเจือปนเก็บไว้นานไม่ตกตะกอน เพราะในกากรำมี ไลเปส ที่ทำให้ย่อยน้ำมันก่อให้เกิดการหืน

17 Thank you !


ดาวน์โหลด ppt น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google