การเปรียบเทียบสินค้าส่งออก ของไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน
การส่งออกสินค้าส่งออกของไทย สินค้าเกษตรกรรม ประเภทกสิกรรม ปศุสัตว์ และประมง เรียงลำดับตามมูลค่าการส่งออก ดังนี้ 1. ยางพารา 71,831.7 ล้านบาท คิดเป็น 42.9 2. ข้าว 33,164.6 ล้านบาท คิดเป็น 19.7 เปอร์เซ็นต์ 3. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 25,549.8 ล้านบาท คิดเป็น 15.2 เปอร์เซ็นต์ 4. ไก่แปรรูป 14,620.1 ล้านบาท คิดเป็น 8.7เปอร์เซ็นต์ 5. กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง 7,152.5 ล้านบาท คิดเป็น 4.3 เปอร์เซ็นต์ 6. ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 6,436.8 ล้านบาท คิดเป็น 3.9เปอร์เซ็นต์ 7. ปลาหมึกสด แช่เย็น แช่แข็ง 2,708.1 ล้านบาท คิดเป็น 1.6 เปอร์เซ็นต์ 8. เนื้อปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง 2,330.4 ล้านบาท คิดเป็น 1.4 เปอร์เซ็นต์ 9. เนื้อและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ที่บริโภคได้ 2,204.6 ล้านบาท คิดเป็น 1.3 เปอร์เซ็นต์ 10. ผักสด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,787.0 1.3 ล้านบาท คิดเป็น 1.1 เปอร์เซ็นต์
เพราะอะไร?? สินค้าส่งออกของไทยจึงเป็นสินค้าเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม เพราะอะไร?? สินค้าส่งออกของไทยจึงเป็นสินค้าเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรม เพราะว่าไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม สามารถผลิตวัตถุดิบเองได้ และเป็นรายได้หลักของประเทศ การเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนไทยตั้งแต่อดีตจรถึงปัจจุบัน จึงทำให้สินค้าทางการเกษตรเป็นที่โดดเด่น ทำให้สินค้าไทยเป็นความต้องการของประเทศอื่นๆ เพราะมีคุณภาพและราคาถูก แต่ในปัจจุบัน พบว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพที่ต่ำลงและมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพในการจ้างแรงงานสูงขึ้น
ทำไม?? สินค้าส่งออกของไทยถึงไม่เป็นที่ 1 ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต อยู่กับอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โลกและสถานการณ์ทางการเมือง การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ช้ากว่าที่คาด และการชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว ของเศรษฐกิจในจีนจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการส่งออกของไทย ปมขัดแย้งทางการเมืองได้ส่งผลให้ความเชื่อมั่น ถดถอย อีกทั้งเกิดความลำบากในการดำเนินงานประจำของภาคราชการ เช่น การออกหนังสือเดินทางเป็นต้น ความล่าช้าของโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานจะมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่ในปีนี้แต่ใน ระยะยาวด้วย เนื่องจากการบริหารจัดการที่ดีขึ้นและระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำคัญยิ่งต่อการเติบโต ของประเทศไทยในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นการขาดเสถียรภาพการเมืองที่อย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญต่อ การพัฒนาระยะยาว เช่น การเพิ่มทักษะ และความสามารถในการแข่งขัน น้อยกว่าที่ควร
วิธีแก้ไขและการพัฒนา เนื่องจากไทยมีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งมาก แต่ยังขาดภาคการผลิต ภาคอุสาหกรรมอย่างประเทศอื่นๆ ดังนั้นไทยจึงควรมีภาคอุตสาหกรรมเป็นของตัวเอง เพื่อป้อนวัตถุดิบของไทยเราเอง จึงทำให้ไทยเรามีทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้ไทยสามารถพัฒนาสินค้าส่งออกได้ดีมากขึ้น
สมาชิกในกลุ่ม 1. นายเสฎฐวุฒิ มีหินกอง เลขที่ 12 2. นายเอกนัฐ ประมูลชัย เลขที่ 14 3. นางสาวพิชญา มีอาหาร เลขที่ 23 4. นางสาวมินตรา ท้วมนาค เลขที่ 24 5. นางสาววราลี จันทร์วงศ์ เลขที่ 26 6. นางสาวอมรรัตน์ เกตุสวัสดิ์ เลขที่ 30 7. นางสาวกฤษณวรรณ ยนต์นิยม เลขที่ 36 8. นางสาวปาริฉัตร ข่ายสุวรรณ เลขที่ 39 9. นางสาวปานตะวัน สุดจิตร์ เลขที่ 50 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 เสนอ คุณครูชยัน ยุบล