ระบบสารสนเทศย่อยทางธุรกิจ Business Information systems บทที่ 3 ระบบสารสนเทศย่อยทางธุรกิจ Business Information systems
ประเภทของระบบสารสนเทศย่อยทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศสำหรับงานขายและการตลาด (Information system for sales and marketing) ระบบสารสนเทศสำหรับงานผลิตและคลังสินค้า (Information system for manufacturing and production) ระบบสารสนเทศสำหรับงานการเงินและบัญชี (Information system for finance and accounting) ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Information system for human resources)
ระบบสารสนเทศสำหรับงานขายและการตลาด (Information system for sales and marketing) สำหรับงานขาย : รับผิดชอบในการติดต่อกับลูกค้า, ขายบริการหรือสินค้า, รับการสั่งซื้อ และติดตามการขายจนเสร็จสิ้นกระบวนการ สำหรับฝ่ายการตลาด : ค้นหาความต้องการของลูกค้า, วางแผนการผลิตบริการหรือสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า, จัดการโฆษณา และจัดการกระตุ้นการขาย (Promotion) และกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับบริการหรือสินค้าที่องค์กรผลิต
ระบบสารสนเทศสำหรับงานขายและการตลาด (Information system for sales and marketing) ตัวอย่างเช่น ระบบงานขาย (sales), ระบบสื่อสารการตลาด (telemarketing), ระบบรับรายการสั่งซื้อ (order processing), ระบบการขายหน้าร้าน (point-of-sales systems), ระบบตรวจสอบบัตรเครติด (credit authorization)
ระบบสารสนเทศสำหรับงานขายและการตลาด (Information system for sales and marketing) ตัวอย่างลักษณะการทำงานในระบบสารสนเทศสำหรับงานขายตามระดับสายงาน
ระบบสารสนเทศสำหรับงานผลิตและสินค้า (Information system for manufacturing and production) วางแผน, พัฒนา, บำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก, กำหนดเป้าหมายการผลิต, สอบถาม, เก็บรักษา, ความพร้อมใช้งานของวัสดุสำหรับการผลิต. กำหนดตารางทำงานให้กับอุปกรณ์, สิ่งอำนวยความสะดวก, จัดหาวัสดุ และแรงงานเพื่อนำมาสร้างเป็นสินค้าที่ต้องการ
ระบบสารสนเทศสำหรับงานผลิตและสินค้า (Information system for manufacturing and production) ตัวอย่างเช่น ระบบการจัดซื้อเครื่องจักร (materials purchasing) , ระบบการรับสินค้า (receiving), การส่งสินค้า (shipping), ระบบตรวจสอบกระบวนการผลิต (process control) , ระบบควบคุมการตรวจนับสินค้า (numerical control) , ระบบจัดการทรัพยากรหรืออุปกรณ์ (equipment), ระบบควบคุมคุณภาพสินค้าและการผลิต (quality control), ระบบควบคุมการจ้างแรงงาน (labor costing), ระบบอัตโนมัติ (robotic systems)
ระบบสารสนเทศสำหรับงานผลิตและสินค้า (Information system for manufacturing and production) ตัวอย่างลักษณะการทำงานในระบบสารสนเทศการผลิตตามระดับสายงาน
ระบบสารสนเทศสำหรับงานการเงินและบัญชี (Information system for finance and accounting) สำหรับฝ่ายการเงิน : รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์กร เช่น เงินสด หุ้น พันธบัตร และการลงทุนอื่น ๆ ซึ่งจะได้รับข้อมูลจำนวนมากจากแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กรเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าองค์กรจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน สำหรับฝ่ายการบัญชี : รับผิดชอบในการรักษา และจัดการรายการหลักฐานเกี่ยวกับ การเงินขององค์กร เช่น ใบเสร็จรับเงิน รายการชำระเงิน การเสื่อมราคา และ รายการชำระค่าตอบแทน นอกจากนี้ต้องสรุปสถานะทางทรัพย์สินขององค์กรในปัจจุบัน และสรุปรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมา
ระบบสารสนเทศสำหรับงานการเงินและบัญชี (Information system for finance and accounting) ตัวอย่างเช่น : ระบบบัญชีลูกหนี้ (accounts receivable), ระบบบัญเจ้าหนี้ (accounts payable), ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (general ledger), ระบบบัญชีเงินเดือน (payroll), ระบบการบริหารเงินสด (cash management), ระบบประมวลผลเงินกู้ (loan processing), ระบบตรวจสอบการสั่งจ่ายเช็ค (check processing), ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ (securities trading)
ระบบสารสนเทศสำหรับงานการเงินและบัญชี (Information system for finance and accounting) ตัวอย่างลักษณะการทำงานในระบบสารสนเทศการบัญชีตามระดับสายงาน
ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Information system for human resources) พัฒนา, การสงวนรักษาบุคลากรขององค์กร, สนับสนุนการเลือกสรรบุคลากร, จัดการรักษาระเบียนข้อมูลบุคลากรให้มีความสมบูรณ์, สร้างสรรค์กิจกรรมที่กระตุ้นให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์, ทักษะในการปฏิบัติงาน, การจ่ายค่าทดแทนให้แก่บุคลากรที่ถูกเลิกจ้าง และการจัดวางบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม
ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Information system for human resources) ตัวอย่างเช่น : ระบบบันทุกประวัติการรักษาพยาบาล (personnel record keeping), ระบบติดตามการสมัครงาน (applicants tracking), ระบบแสดงรายตำแหน่งงาน (positions listing), ระบบการฝึกอบรมและทักษะ (training and skills), ระบบดูแลผลประโยชน์ (benefits)
ระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Information system for human resources) ตัวอย่างลักษณะการทำงานในระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามระดับสายงาน
ประโยชน์ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กรธุรกิจ 1. ด้านโครงสร้างองค์กร : สามารถทำการเชื่อมโยงสำนักงานสาขาต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันได้ สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีวิธีการดำเนินธุรกิจเป็นระบบเดียวกัน โดยมีการประสานหน้าที่ การทำงานของฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้
ประโยชน์ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กรธุรกิจ 2. ด้านกระบวนการบริหาร : สามารถจัดการการทำงานแบบอัตโนมัติให้แก่กระบวนการทำงาน ทั้งหลายได้ สามารถปรับปรุงข้อมูลสำหรับการบริหาร และการตัดสินใจได้ ข้อมูลที่นำเสนอ โดยมีโครงสร้างของการผสมผสานระหว่างการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ประโยชน์ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กรธุรกิจ 3. เทคโนโลยีพื้นฐาน : สามารถประสานการทำงานระหว่างกันได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน ทั่วทั้งองค์กร ข้อมูลเก็บรวมกันเพียงแห่งเดียว มีมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำข้อมูลไปใช้กับระบบสารสนเทศในทุกส่วนขององค์กรได้
ประโยชน์ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กรธุรกิจ 4. ความสามารถทางธุรกิจ : การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถช่วยให้เกิดระบบงานพื้นฐานที่มีลูกค้าหรือความต้องการต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นกระบวนการทำงานให้เกิดขึ้น สามารถรวบรวมกระบวนการทำงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี ด้านฝ่ายการผลิตมีข้อมูลที่ดีขึ้น ในการที่จะทำการผลิตเฉพาะสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อ สามารถจัดซื้อวัสดุในปริมาณที่พอดีกับความต้องการในการผลิตสินค้า ช่วยลดระยะเวลาที่สินค้าถูกเก็บไว้ในคลังสินค้า
แบบฝึกหัด พร้อมจัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าคุณลักษณะและความสามารถของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ ระบบการขายหน้าร้าน (point-of-sales systems) ระบบตรวจสอบบัตรเครติด (credit authorization) ระบบบัญชีเงินเดือน (payroll) ระบบการฝึกอบรมและทักษะ (training and skills) ระบบควบคุมการจ้างแรงงาน (labor costing) ระบบควบคุมคุณภาพสินค้าและการผลิต (quality control) พร้อมจัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน