นางสาวจุไรรัตน์ เพิ่มสุข กล้องถ่ายรูป นางสาวจุไรรัตน์ เพิ่มสุข
กล้องถ่ายรูป หลักการทำงาน ขั้นพื้นฐานของ กล้องถ่ายภาพนั้น หากอธิบายอย่างง่ายๆ ก็คือ การที่แสง สะท้อน จากวัตถุ แล้วเดิน ทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่อง สี่เหลี่ยมเข้ามา จนเกิดเป็นภาพของวัตถุบน ฉากรองรับ ด้านตรงข้าม ซึ่งภาพที่ได้นั้นจะเป็นภาพแบบหัว กลับส่วนประกอบ และ การทำงาน ของกล้องถ่ายภาพ สามารถ แบ่งออก เป็นส่วนสำคัญได้ สอง ส่วน คือ 1.ส่วนที่ทำให้เกิดภาพ 2.ส่วนที่ไวแสง
ชนิดของกล้องถ่ายภาพ กล้องบ๊อกซ์ ลักษณะที่สำคัญ - เลนส์ถ่ายภาพและช่องมองภาพทำงานแยกกัน - มีเลนส์เพียงตัวเดียว - รูรับแสงและความเร๊วชัตเตอร์รับไม่ได้หรือรับได้น้อย ข้อดี - ใช้ง่าย สะดวก ราคาถูก ข้อเสีย - ภาพไม่คมชัด ถ่ายภาพใกล้กว่าระยะ 5 ฟุตไม่ได้
ชนิดของกล้องถ่ายภาพ กล้องสะท้อนภาพเลนส์ะเดี่ยว ขนาด 35 มม. ลักษณะที่สำคัญ - เป็นกล้องที่นิยมใช้มากที่สุด - ใช้เลนส์ถ่ายภาพและเลนส์มองภาพชุดเดียวกัน - มีกระจกสะท้อนภาพไปยังปริซึม - ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ทุกขนาดความยาวโฟกัส -ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. ข้อดี - ใช้งานได้กว้างขวาง - ภาพที่ได้มีความคมชัดสูง ข้อเสีย - ฟิล์ม 35 มม. ถ้าขยายภาพใหญ่มากๆเกรนจะหยาบ
ชนิดของกล้องถ่ายภาพ กล้องเล็ก ลักษณะที่สำคัญ - เป็นกล้องขนาดเล็กที่คุณภาพดี - ช่องมองภาพแยกจากเลนส์ - เป็นเลนส์มุมกว้าง 28 - 35 มม. - บางรุ่นมีไฟแวบหรือไฟแฟลชในตัว ข้อดี - ใช้งานง่าย เพียงมองผ่านช่องมองภาพแล้วกดเท่านั้น ข้อเสีย -ไม่สามารถปรับระยะชัดด้วยมือหรือเปลี่ยนรูรับแสงได้ มักเกิดการเหลื่อมของภาพ
ชนิดของกล้องถ่ายภาพ กล้องวิว ลักษณะที่สำคัญ - เป็นกล้องขนาดใหญ่นิยมใช้สำหรับถ่ายภาพในสตูฯ - ใช้ฟิล์มแผ่นได้หลายขนาด เช่น 4x5 ถึง 8x10 นิ้ว - ปรับระยะชัด หรือปรับโฟกัสด้วยวิธีการยืดหนังหรือผ้าสีดำพับเป็นจีบแบบยืด (Bellow) - สามารถปรับมุมก้ม เงย หรือ ซ้าย ขวา ได้พอสมควร มีจอรับภาพเป็นกระจกฝ้าเนื้อละเอียดอยู่ด้านหลังสำหรับมองภาพ ข้อดี - ถ่ายภาพที่มีความละเอียด ความคมชัดสูง - สามารถขยายใหญ่ได้ดี - เหมาะสำหรับถ่ายภาพ บุคคล ภาพโฆษณา ภาพทิวทัศน์ ข้อเสีย - ต้นทุนในการถ่ายภาพแต่ละภาพสูงมาก - การขนย้ายลำบาก
ชนิดของกล้องถ่ายภาพ กล้องดิจิตอล ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันกล้องถ่ายภาพได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ได้มีการนำเอาระบบดิจิตอล(Digital) ที่มีความสะดวก รวดเร็วและมีความแม่นยำในการถ่ายภาพทำให้รูปแบบของกล้องถ่ายภาพได้ เปลี่ยนจากการบันทึกภาพด้วยฟิล์มมาเป็น การบันทึก ภาพด้วยระบบหน่วยความจำ (Memory)และสามารถ แสดงผลได้ทั้งทางจอภาพคอม์ (Monitor) และแสดงผลหรือพิมพ์ภาพผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer)
ส่วนประกอบของกล้อง - ปุ่มกดชัตเตอร์ - ที่เปลี่ยนฟิล์มสำหรับถ่ายภาพต่อไป - ที่ตั้งความเร็วชัตเตอร์ และสามารถดึงขึ้นตั้งความไวแสงของฟิล์ม - ช่องสำหรับเสียบไฟแฟลช - ช่องดูจำนวน/ หมายเลขภาพที่ถ่าย - ปุ่มล่าง สำหรับตั้งเวลาถ่ายอัตโนมัติ - คานสำหรับกดดูระยะชัดลึก-ชัดตื้น - ที่ปรับ รูรับแสง /ค่า F-number - ที่ปรับความชัด/โฟกัสภาพ - ปุ่มดึงเพื่อเปิดฝาหลัง - ปุ่มสำหรับเปลี่ยนเลนซ์ - รูสำหรับเสียบสายไฟแฟลช - แกนหมุนฟิล์มและดูว่าฟิล์มไม่หลุดเมื่อใส่ฟิล์มแกนนี้จะหมุนตาม - ช่องมองภาพ /viewfinder