สื่อช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย สาระ หลักการใช้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ คำสันธาน ชนิดของคำ ครูศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา ๕ (วัดตลิ่งต่ำ)
มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท ๔.๑ มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษา และ หลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา ทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติ ของชาติ กลับ หน้าต่อไป
ชนิดและหน้าที่ของคำ ในประโยค ตัวชี้วัด วิเคราะห์ ชนิดและหน้าที่ของคำ ในประโยค กลับ
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนเขียนแผนภูมิความรู้เรื่องคำสันธานได้ นักเรียนบอกชนิดของคำสันธาน และอธิบายความหมายได้ นักเรียนแต่งประโยคเกี่ยวกับคำสันธานได้ นักเรียนทำแบบทดสอบคำนามได้ ๔ ใน ๕ ข้อ
คำสันธาน คือคำที่เชื่อมประโยคกับประโยค หรือคำกับกลุ่มคำ ประโยคที่เชื่อมด้วยสันธานจะแยกออกเป็นประโยคที่มีความบริบูรณ์มากกว่าหนึ่งความได้ สันธานคล้อยตามกัน สันธาน เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง สันธานเป็นเหตุเป็นผลกัน สันธานขัดแย้งกัน สันธานเชื่อมความให้ติดต่อกัน หรือเข้าคู่กัน
เชื่อมประโยคกับประโยค สันธานคล้อยตามกัน แล้วก็ แล้ว และ กับ เชื่อมคำกับคำ ออย และ เบญ กำลังทำการบ้าน เชื่อมประโยคกับประโยค ออยมาจากกรุงเทพฯ แล้ว จะเดินทางต่อพรุ่งนี้ ประโยค ๑ ออยมาจากกรุงเทพฯ ประโยค ๒ (ออย)จะเดินทางต่อพรุ่งนี้
สันธาน เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ เธอจะไปช่วยงานวัด หรือ จะไปแข่งขันกีฬา พ่อจะรับประทานก๋วยเตี๋ยว หรือ ก๋วยจั๊บ
สันธานขัดแย้งกัน แต่ คุณยายจะไปวัด แต่ ผมจะไปเรียนพิเศษ คุณยายจะไปวัด แต่ ผมจะไปเรียนพิเศษ ฉันชอบแกงจืด แต่ พี่ชายชอบแกงเผ็ด
สันธาน เป็นเหตุ เป็นผลกัน เพราะ.........จึง สันธาน เป็นเหตุ เป็นผลกัน เพราะฉะนั้น...จึง เพราะ แดงป่วย จึง ไม่ได้มาโรงเรียน เขาพูดความจริงเสมอ เพราะฉะนั้น เขา จึง ได้รับความเชื่อถือ
สันธาน เชื่อมความให้ติดต่อกัน หรือ เข้าคู่กัน ถึง....แต่ กว่า....ก็ แม้...ก็ เมื่อ ถ้า ถึงเขาจะปากร้าย แต่ใจเขาดี กว่าจะรู้ตัว ก็ สายไปเสียแล้ว แม้ร่างกายเขาไม่แข็งแรง เขา ก็ มีจิตใจแข็งแกร่ง เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีด เขารีบวิ่งทันที
แบบทดสอบ ๑. ข้อใดเป็นความหมายของคำสันธาน ก. เป็นคำที่ทำหน้าที่ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน ข. คำชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ค. เป็นคำที่ใช้เชื่อมประโยค ๒ ประโยคให้เป็นประโยค เดียวกัน หรือเชื่อมข้อความให้สละสลวย ง. มีความสำคัญมากเพราะช่วยให้ข้อความในประโยค มีความหมายที่ชัดเจนและแตกต่างกันไป
แบบทดสอบ ๒. ข้อใดเป็นประโยคที่เป็นคำสันธานเชื่อมประโยค ที่มีใจความคล้อยตามกัน ก. พรุ่งนี้ไม่พ่อก็แม่ที่จะพาฉันไปเที่ยว ข. เพราะเธอเป็นคนตั้งใจเรียนจึงสอบได้ที่หนึ่ง ค. ถึงเขาจะเรียนไม่ค่อยเก่ง แต่เขาก็เป็นคนขยันเรียน ง. แม่บอกฉันว่าดูทีวีเสร็จแล้วต้องไปทำการบ้าน
แบบทดสอบ ๓. ข้อใดเป็นประโยคที่เป็นคำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความ เป็นเหตุเป็นผลกัน ก. พรุ่งนี้ไม่พ่อก็แม่ที่จะพาฉันไปเที่ยว ข. เพราะเธอเป็นคนตั้งใจเรียนจึงสอบได้ที่หนึ่ง ค. ถึงเขาจะเรียนไม่ค่อยเก่ง แต่เขาก็เป็นคนขยันเรียน ง. แม่บอกฉันว่าดูทีวีเสร็จแล้วต้องไปทำการบ้าน
แบบทดสอบ ๔. ดังนั้น, ฉะนั้น, เหตุเพราะ, เหตุว่า, เพราะฉะนั้น...จึง, ฉะนั้น...จึง จัดอยู่ในคำสันธานประเภทใด ก. คำสันธานเชื่อมประโยคเพื่อให้มีความสละสลวย ข. คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน ค. คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความขัดแย้งกัน ง. คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความเลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง
แบบทดสอบ ๕. มิฉะนั้น, ไม่ก็, ไม่..ก็, จัดอยู่ในคำสันธานประเภทใด ก. คำสันธานเชื่อมประโยคเพื่อให้มีความสละสลวย ข. คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน ค. คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความขัดแย้งกัน ง. คำสันธานเชื่อมประโยคที่มีใจความเลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง
ผู้พัฒนาสื่อ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา ๕ (วัดตลิ่งต่ำ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑ การศึกษา ปริญญาตรี การประถมศึกษา วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ปริญญาตรี การแนะแนวมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครูศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ