แนวนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ นายสุรีย์ จรูญศักดิ์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน วันที่ 1 ธันวาคม 2557 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ
ความเป็นมาของนโยบายและมาตรการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 มติ กพช. ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557
ความเป็นมาของนโยบายและมาตรการส่งเสริม พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย
การส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ วันที่ 4 กันยายน 2549 กพช. มีมติเห็นชอบให้มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยกำหนดส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Adder) วันที่ 4 ธันวาคม 2549 กำหนด Adder จากพลังงานแสงอาทิตย์ 8 บาท ต่อหน่วย ระยะเวลา 7 ปี 2550 เป้าหมาย 500 MW (REDP :2551-2565) มาตรการสนับสนุน Adder 8.00 บาท ระยะเวลาสนับสนุน 10 ปี 2553 Adder 8.00/6.50 บาท วันที่ 28 มิถุนายน 2553 กพช. เห็นชอบหยุดรับข้อเสนอขายไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และเห็นชอบปรับปรุงรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนด้วยมาตรการ FiT -มาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เริ่มต้นในปี 2550 ด้วยการกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าด้วยอัตราส่วนเพิ่ม หรือ Adder จากค่าไฟฟ้าปกติ สำหรับพลังงานทดแทนทุกประเภท ได้แก่ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ไฟฟ้าพลังงานน้ำ ขยะชุมชน พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีระยะเวลาการรับซื้อ 7-10 ปี โดยเป้าหมายการผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ กำหนดไว้เพียง 500 MW ในปี 2564 อัตรา Adder คือ 8 บาทต่อหน่วย ซึ่งเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าปกติ ประมาณ 3 บาทต่อหน่วยแล้ว จะทำให้ราคารับซื้อไฟฟ้ารวมเป็น 11 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราAdder ของพลังงานทดแทนทุกชนิด เนื่องจากราคาลงทุนรวม อยู่ที่ ประมาณ 200,000 บาทต่อ กิโลวัตต์ -ต่อมาช่วงปี 2551-2553 ราคาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือประมาณ 120,000-150,000 บาทต่อ กิโลวัตต์ แต่ราคา Adder ไม่ได้ปรับลดตาม ทำให้มีผู้สนใจยื่นขอขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น กว่า 3000 MW ( ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Solar Farm ที่ติดตั้งบนพื้นดิน) โดยครึ่งหนึ่งเป็นการเสนอใช้เทคโนโลยีแบบความร้อนรวมแสง หรือ CSP ซึ่งยังไม่มีความเหมาะสมกับคุณภาพความเข้มแสงอาทิตย์ของประเทศไทย -ดังนั้น วันที่ 28 เดือน มิถุนายน 2553 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติหยุดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่ม และปรับลด Adder ลงเหลือ 6.50 บาทต่อหน่วย -ต่อมากพช. มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 เพิ่มเป้าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 2,000 MW แต่ยังหยุดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบ Solar Farm เพิ่ม และยังคง Adder ที่ 6.5 บาทต่อหน่วย วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 กพช. เห็นชอบให้ยกเลิก REDP 2551:2565 และเห็นชอบ AEDP(2551-2564) พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า 2,000 MW 4
มติ กพช. ครั้งที่ 1/2557 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 มติ กพช. ครั้งที่ 1/2557 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557
สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 54/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 องค์ประกอบ 1. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ 2. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ) รองประธาน 3. รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ 4. ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ 5. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ 6. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ 7. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ 8. ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ 9. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ 10. ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ 11. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ 12. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ 13. ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ 14. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ 15. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ 16. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ 17. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ 18. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
มติ กพช. ครั้งที่ 1/2557 (ครั้งที่ 1) วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เห็นชอบอัตรา FiT สำหรับใช้ในการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในปี 2557– 58 ระยะเวลาสนับสนุน 25 ปี ดังนี้ 1. โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ขนาดไม่เกิน 90 MWp อัตรา FiT 5.66 บาท ต่อหน่วย 2. โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา 2.1 กลุ่มบ้านอยู่อาศัย กำลังผลิตติดตั้ง 0 - 10 kWp อัตรา FiT 6.85 บาท ต่อหน่วย 2.2 กลุ่มอาคารธุรกิจ/โรงงาน (1) กำลังผลิตติดตั้งมากกว่า 10 - 250 kWp อัตรา FiT 6.40 บาท ต่อหน่วย (2) กำลังผลิตติดตั้งมากกว่า 250 - 1,000 kWp อัตรา FiT 6.01 บาท ต่อหน่วย 3. โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร อัตรา FiT 5.66 บาท ต่อหน่วย
มติ กพช. ครั้งที่ 1/2557 (ครั้งที่ 1) วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เห็นชอบให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 3 ประเภท โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 1.1 ให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 576 MW (ให้เต็มเป้าหมาย 2,000 MW) ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT ที่ 5.66 บาท ต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 25 ปี และให้มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2558 1.2 มอบให้ พพ. รับไปพิจารณาและเจรจากับผู้ที่ยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอขายไฟฟ้าไว้เดิม ที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้า ซึ่งมีคำขอค้างการพิจารณาอยู่จำนวนประมาณ 1,054 MW โดยให้เจรจารับซื้อไฟฟ้าในส่วนที่เหลืออีกประมาณ 576 MW แบบ FiT ในอัตรา 5.66 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 25 ปี ทั้งนี้ ให้อยู่ในสถานที่ตั้งตามข้อเสนอเดิม และต้องมีการกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2558 ทั้งนี้ หากผลการเจรจากับผู้ยื่นข้อเสนอโครงการเดิมดังกล่าว ไม่สามารถตกลงกันได้และมิได้มีการอนุมัติให้ตอบรับซื้อไฟฟ้าภายในสิ้นปี 2557 ให้ถือเป็นการยุติข้อเสนอโครงการนั้น
มติ กพช. ครั้งที่ 1/2557 (ครั้งที่ 1) วันที่ 15 สิงหาคม 2557 โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา 2.1 ให้ขยายเวลากำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์สำหรับโครงการ Solar PV Rooftop สำหรับโครงการที่ผูกพันกับภาครัฐแล้ว 130.64 MW จากที่กำหนดไว้เดิมภายในเดือนธันวาคม 2556 เป็นภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2557 2.2 ให้เปิดรับซื้อไฟฟ้าสำหรับ Solar PV Rooftop ประเภทโครงการขนาดเล็กสำหรับที่พักอาศัยขนาดไม่เกิน 10 kWp เพิ่มอีก 69.36 MW โดยกำหนดอัตรา FiT 6.85 บาทต่อหน่วย โดยมีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2558
มติ กพช. ครั้งที่ 1/2557 (ครั้งที่ 1) วันที่ 15 สิงหาคม 2557 3. โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและ สหกรณ์การเกษตร 3.1 ให้ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งในพื้นที่ชุมชน เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร ขนาดติดตั้งไม่เกิน 5 MWpต่อแห่ง รวม 800 เมกะวัตต์ ในอัตรา FiT 5.66 บาทต่อหน่วย โดยมีระยะเวลาสนับสนุน 25 ปี กำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2558 3.2 มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งแต่งตั้งโดย กพช. รับไปกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ การคัดเลือกโครงการ และพิจารณารับซื้อไฟฟ้า โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และความสามารถรองรับของระบบสายส่ง
มติ กพช. ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2557
มติ กพช. ครั้งที่ 2/2557 (ครั้งที่ 2) วันที่ 22 ตุลาคม 2557 1. ให้ขยายระยะเวลากำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) ที่ผูกพันกับภาครัฐแล้ว 130.64 MW จากเดิมภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2557 เป็นภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2558 2. สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร เห็นควรให้บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เข้ามาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการฯ อย่างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป 3. ให้เพิ่มปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน จากเดิม 576 MW เพิ่มอีก 800 MW โดยโครงการส่วนที่สายส่งรองรับไม่ได้ ให้ยื่นขอเปลี่ยนจุดจำหน่ายไฟฟ้าจากพื้นที่ที่เสนอไว้เดิมได้ (สำหรับโครงการที่ยื่นข้อเสนอไว้แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาก่อนปิดรับ)
การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องของ พพ. 1. ประชุมชี้แจงผู้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการฯ แบบติดตั้งบนพื้นดิน ที่ยังไม่มีการตอบรับ และเปิดรับหนังสือยืนยันสิทธิ์ ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 2. จัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนาและแนวทางดำเนินการโครงการฯ สำหรับ หน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร เสนอคณะกรรมการบริหารมาตรการฯ 3. พิจารณาตอบรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ ติดตั้งบนพื้นดิน เสนอคณะกรรมการบริหารมาตรฯ พิจารณาวันที่ 4 ธันวาคม 2557
www.dede.go.th พพ. องค์กรฐานความรู้ (Knowledge Base) และศูนย์กลางในการผลักดันพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน www.dede.go.th 14