นางสาวพรศิริ กลิ่นบำรุง วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยามในพระอุปถัมภ์ ฯ การแก้ปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) กลุ่ม 6201 สาขาการตลาด ในวิชาวิทยาศาสตร์ นางสาวพรศิริ กลิ่นบำรุง วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสยามในพระอุปถัมภ์ ฯ
ปัญหาการวิจัย ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคมไทยมีการปฏิบัติรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น โดยการสร้างแนวคิดและทัศนคติให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อสามารถทำให้รู้จักมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความใฝ่เรียนรู้ให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการศึกษาไทยได้มีการปฏิรูปและมีวิวัฒนาการเรื่อยๆ ส่งผลให้การปฏิบัติงานของทุกคนที่อยู่ในการศึกษามีจุดประสงค์คือมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษา ซึ่งปัญหาในการขาดเรียนเป็นปัญหาที่มาจากพฤติกรรมของนักศึกษาที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหานี้ควรจะหาวิธีการแก้ไข และนำมาปรับปรุงพฤติกรรมของนักศึกษาในชั่วโมง จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของครูผู้สอนทุกคนที่จะแก้ไขปัญหานี้เพราะเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.1) กลุ่ม 6201 สาขาการตลาด 2. เพื่อทำให้นักศึกษาพัฒนาผลการเรียนให้ดีขึ้น
สรุปผลการวิจัย ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการวิจัยในชั้น นักศึกษาที่ขาดเรียนบ่อย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4 ลดลงเหลือ 5 คนคิดเป็นร้อยละ 18.5 นักศึกษามาสายประจำ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 22.2 ลดลงเหลือ 3 คนคิดเป็นร้อยละ 11.1 นักศึกษาไม่ส่งงานตามที่รับมอบหมายจำนวน 4 คิดเป็นร้อยละ 14.8 ลดลงเหลือ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.4 นักศึกษาเข้าเรียนไม่ทันเวลาจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 18.6 ลดลงเหลือ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.4
มีการนวัตกรรมแบบบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนสามารถทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการมาเรียนสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เนื้อหารายละเอียดในการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆเกิดความต่อเนื่องต่อตัวผู้เรียน มีการใช้นวัตกรรมแบบบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนพร้อมกับเรียกมาคุยเป็นรายบุคคลเพื่อทราบถึงปัญหาของการมาสายเช่น รถติด ตื่นสาย และนอนดึกทำให้ผู้เรียนมาสายประจำ เมื่อมีการใช้นวัตกรรมก็ทำให้ผู้เรียนได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้นซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอารายา กองสุวรรณ(2550: บทคัดย่อ) ศึกษาการแก้ปัญหานักเรียนมาสายชั้นปวช.1/7 วิชางานอาชีพและเทคโนโลยี วิทยาลัยช่างศิลปะ เมื่อมีการใช้นวัตกรรมก็ทำให้นักศึกษามาเรียนได้ทันเวลา นักเรียนไม่ส่งงานตามที่รับหมอบหมายมีจำนวน 5 คนลดลงเหลือ 2 คน