ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคตัวต่อ วิชาคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
ความสำคัญ และความเป็นมาของปัญหา นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับการเรียน ภาคทฤษฏีของวิชาคอมพิวเตอร์ แต่กลับให้ความสนใจกับภาคปฏิบัติ มากกว่า ซึ่งในรายวิชาคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการเบื้องต้นนั้นมี ทั้งทฤษฏี และปฏิบัติ ผู้สอนจึงได้ใช้วิธี การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งมีรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้กระบวนการกลุ่ม และยุทธวิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวล ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เทคนิคตัวต่อ (Jigsaw) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
ผลการวิจัย ตารางที่ 1 ค่าสถิติคะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน และคะแนนผลต่าง ค่าสถิติ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน คะแนนผลต่าง 5.14 11.47 6.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.84 0.99 ตารางที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน จำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน t Sig. ก่อนเรียน 42 5.143 1.84 19.643 .000 หลังเรียน 11.476 0.99
ผลการวิจัย ตารางที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการเบื้องต้น ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคตัวต่อ ข้อที่ ข้อความ ค่าเฉลี่ย ความหมาย ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ : 3.967 เห็นด้วยมาก 1 วิธีสอนแบบนี้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 4.524 เห็นด้วยมากที่สุด 2 วิธีสอนแบบนี้นักเรียนสามารถให้ และรับความช่วยเหลือกับเพื่อนได้ 3.976 3 วิธีการสอนแบบนี้นักเรียนทำงานเสร็จตามเวลาโดยการร่วมมือกันของนักเรียนทุกคน 3.762 4 วิธีสอนแบบนี้ทำให้นักเรียนกล้าซักถามเกี่ยวกับบทเรียนมากขึ้น 3.833 5 วิธีสอนแบบนี้ทำให้นักเรียนได้ช่วยเหลือกันในกลุ่ม 3.738 ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ : 4.230 6 วิธีสอนแบบนี้ช่วยกระตุ้นบรรยากาศในการเรียน 4.500 7 วิธีสอนแบบนี้ทำให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยน และแสดงความคิดเห็นมากขึ้น 3.952 8 วิธีการสอนแบบนี้ทำให้นักเรียนสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนมากขึ้น 4.238 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ : 4.089 9 วิธีสอนแบบนี้ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักเพื่อนมากขึ้น และรู้จักการทำงานร่วมกัน 4.071 10 วิธีสอนแบบนี้ช่วยให้นักเรียนเข้ากับเพื่อนได้ดี และร่วมกันทำงานได้สำเร็จ 4.214 11 วิธีสอนแบบนี้ช่วยให้นักเรียนทำงานได้อย่างมีระบบ 12 วิธีสอนแบบนี้นักเรียนสามารถสรุปความสำคัญของเนื้อหาได้ ค่าเฉลี่ยโดยรวม : 4.073
สรุปผลการวิจัย ค่า t = 19.643 ความพึงพอใจ = 4.073 จากค่าเฉลี่ย และค่า t แสดงให้เห็นว่า ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคตัวต่อ มีความแตกต่างกันโดยก่อนเรียนมีระดับคะแนนน้อยกว่าหลังเรียน ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก ระดับนัยสำคัญ 0.05
ขอบคุณ ครับ นายกัณพงศ์ พันธุ์สวัสดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ