หลักประกันสุขภาพไทย เป็นอย่างไรในสายตานานาชาติ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ที่มาของข้อมูล ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศต่างๆ ในรายงานประจำปีขององค์การอนามัยโลก (World Health Report & World Health Statistics) รายงานการวิจัยในวารสารวิชาการต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ (international experts)
ระบบสุขภาพไทย ประเทศไทยมีผลลัพธ์สุขภาพ (health outcomes) ตามตัวชี้วัดต่างๆ ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนา นวัตกรรมด้านสุขภาพของไทย (Health innovations) หลายเรื่องในอดีตเป็นต้นแบบข้อเสนอในระดับสากล การสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) การวางแผนครอบครัว (Family planning) การรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ (HIV/AIDS prevention) การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage)
Source: Rohde J et. al (2008)
Top rank in developing countries Source: Rohde J et. al (2008)
ทำไมนานาชาติชื่นชม UC ไทย 1 ระบบพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยนักวิชาการและความรู้ที่พัฒนาขึ้นในประเทศ ระบบมีกลไกการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ การจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว (capitation payment) การจ่ายตามกลุ่มจำแนกโรคร่วม (DRGs) การจัดบริการสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับบริการที่ระดับปฐมภูมิ (Health service based on primary care)
ทำไมนานาชาติชื่นชม UC ไทย 2 มีข้อมูลเชิงประจักษ์ (hard evidence) ที่ยืนยันผลสัมฤทธิ์ของระบบ UC ไทย สามารถปกป้องครัวเรือนไม่ให้ล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (prevention of medical impoverishment) ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้มากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมไม่ได้เพิ่มขึ้นมากจนเป็นที่น่าวิตก
จำนวนครัวเรือนที่สามารถป้องกัน ไม่ให้ยากจนจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
การเข้าถึงบริการของผู้มีสิทธิ UC ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ต่อประชากรและร้อยละของ GDP
คนไทยกับระบบ UC ไทย มองและเข้าใจปัญหาอย่างเป็นระบบ (systems thinking) โดยคำนึงถึงพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศโดยรวม สนับสนุนการพัฒนาด้วยการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ การทำงานร่วมกับภาคีต่างๆ ในลักษณะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (strategic partner) ต่างคนต่างมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่หนุนเสริมกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายสุดท้ายร่วมกัน ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นจากองค์กรใด แต่เป็นความสำเร็จร่วมของทุกองค์กร
Thank you for your attention