น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา 542132007 หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ (Principles of Knowledge Management Research) KM704 น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา 542132007
การพัฒนาการทำการเกษตรของเกษตรกรเพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) โดยใช้ Maturity model : กรณีศึกษา มูลนิธิโครงการหลวง
ที่มา ความสำคัญ โครงการหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2512 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการปลูกฝิ่นของชาวเขา จึงทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะให้ชาวเขา เลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่าและมีความเหมาะสมที่จะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทนเป็นรายได้เสียก่อน จึงจะสามารถเลิกปลูกฝิ่นได้ พืชทดแทนที่โครงการหลวงได้นำเข้ามาทำการทดลองปลูกบนที่สูง มีจำนวนมากมาย หลายชนิด ทั้งพันธุ์ไม้ ผลไม้ พืชเมืองหนาวต่างๆมีจำหน่ายตลอดปี ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั่วไป สามารถส่งออกต่างประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้
ปัจจุบันตลาดโลกให้ความสําคัญกับระบบคุณภาพความปลอดภัยของสินค้าเกษตร อีกทั้งกระแสผู้บริโภคที่คํานึงถึงสุขอนามัย ความปลอดภัย และการจัดการสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยในฐานะประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสดไปทั่วโลก จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ผลผลิตของโครงการหลวงจึงจะต้องมีการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม Good Agriculture Practices (GAP) กล่าวคือ มีแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐาน ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรและผู้บริโภค ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
โจทย์วิจัย โจทย์วิจัยหลัก - จะทำการพัฒนาศักยภาพในการทำการเกษตรของเกษตกรในมูลนิธิโครงการหลวงได้อย่างไร โจทย์วิจัยรอง - ปัจจุบันการทำเกษตรของเกษตกรเป็นอย่างไร จะสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางให้ได้ผลที่เป็นมาตรฐานได้ยากง่ายเพียงใด มีปัญหาหรือไม่ - จะชักชวนให้เกษตรกรนำ GAP มาเป็นแนวทางในการทำการเกษตรได้อย่างไร - การทำ GAP จะช่วยให้เกิดการเกษตรที่ยั่งยืนจริงหรือไม่
วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนาแนวทางการเกษตรให้ได้มาตรฐาน - เพื่อให้เกิดการเกษตรแบบยั่งยืน ผลผลิตได้มาตรฐาน - สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หรือฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามแนวทางเกษตรที่ดี GAP - ผลผลิตได้มาตรฐาน สร้างการเกษตรแบบยั่งยืน - สภาพแวดล้อมดีขึ้น