การจัดการความรู้ คือ กระบวนการในการบริหารจัดการ ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะอยู่ในตัว บุคคล กระดาษ เอกสาร คู่มือ สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆนำมาทำการ รวบรวมข้อมูล จัดการให้เป็นระบบ ระเบียบ ถูกต้อง ครบถ้วน ง่ายต่อ การให้บุคคลในองค์กรสามารถ เข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูล ความรู้ นั้นๆได้ และที่สำคัญที่สุดจะต้องมี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิด ความเข้าใจที่ตรงกันนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้จนบุคคลในองค์กร สามารถพัฒนาตนเองและองค์กร เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตัวอย่างเช่น 1. เมื่อบุคลากรเกษียณอายุราชการ มี การย้ายหรือลาออกไป ความรู้ที่มีอยู่ ในตัวบุคคลนั้นๆก็หายไปด้วย KM ก็ จะช่วยทำให้ความรู้ที่มีอยู่นั้นถ่ายทอด ออกมาให้บุคคลที่จะมาทำงานใหม่ นำไปใช้ได้ นั่นคือ อาจนำข้อมูล ออกมาโดยการจดบันทึกเป็นลาย ลักษณ์อักษรหรือข้อความ เป็นต้น 2. การจัดการความรู้ในโรงพยาบาลศิริ ราช คือ มีการวางแผนและจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ การสนับสนุน สื่อสาร KM ในองค์กร จากเสียงตามสาย ให้รางวัลแก่บุคลากรที่มีการ แลกเปลี่ยนความรู้และเข้าร่วมกิจกรรม เป็นต้น
ความรู้ คือ พฤติกรรมเบื้องต้น ประสบการณ์ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่า เรียนของบุคคลที่เริ่มจากสิ่งง่ายๆ โดยเกิดจากความจำ นึกได้ หรือ โดยการมองเห็น ได้ยินแล้วแสดง ออกมาในรูปของการบรรยาย เกี่ยวกับข่าวสารนั้นๆโดยใช้คำพูด ของตนเองหรือการจดบันทึก อธิบาย ตามที่ตนเองได้รับฟังมาจน ไปถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยาก ซับซ้อนได้
ประเภทของความรู้ มีอยู่ 3 ประเภท คือ 1. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือมนุษย์ – เป็น ความรู้เฉพาะ ประสบการณ์ที่เกิดจาก การศึกษา การฝึกอบรม การสนทนา เจต คติของแต่ละบุคคล ความรู้ประเภทนี้จะถูก ถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นได้นั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากเจ้าตัวไม่ยินยอม การขอรับการถ่ายทอด ความรู้จากบุคคลผู้รู้เหล่านี้ ดังนี้ เช่น การ สนทนา ฝึกอบรม อบรมเข้มข้น แนะนำ การเข้ากลุ่ม 2. ความรู้ที่ปรากฏชัดเจน – ความรู้ที่ได้รับการ ถ่ายทอดจากบุคคลออกมาในรูปของการ บันทึกตามรูปแบบต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออื่นๆ สามารถถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นได้โดยไม่ ยากนัก การขอรับการถ่ายทอดอาจเรียนรู้ได้ ดังนี้ รายงาน การจดบันทึก ข้อมูลข่าวสาร หนังสือพิมพ์ 3. ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม - ความรู้ที่เกิด จากความเชื่อ ความศรัทธา ซึ่งเกิดจากผล สะท้อนกลับของความรู้และสภาพแวดล้อม ทั่วไปขององค์กร
ตัวอย่างเช่น งานศิลป์ งานที่ต้องวัดคุณภาพจากรูป รส กลิ่น เสียง ที่ไม่สามารถกำหนดได้ ตายตัว ( เหมือนกับการเป็นกรรมการ ตัดสินการประกวดนางงาม กำหนด ไม่ได้ว่าตาต้องกว้าง ยาว กี่ เซนติเมตร ดั้งจมูกจะต้องสูงกี่ เซนติเมตร หักมุมกี่องศา แต่ต้อง พิจารณารวมๆว่าสมส่วนรับกันไปหมด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า )- ความรู้แบบ นามธรรม ( อ้างอิง : ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุลและเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย ( 2549 ) ะ. ระบบ สารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ซีเอ็ด ยูเคชั่น. 346 นางสาววิลาวรรณ์ วงศ์ขัติย์ รหัส ประจำตัวนักศึกษา