N I C U โรงพยาบาลนครพิงค์
(Box of love)
นวัตกรรม “กล่องดวงใจ” (Box of love) หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
ความเป็นมา การดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายมีความละเอียดอ่อนและมีขั้นตอนที่ซับซ้อนแตกต่างจากการดูแลผู้ป่วยทั่วไป
วัตถุประสงค์ พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะสุดท้าย (การจัดการกับศพ )
กลุ่มเป้าหมาย/ผู้รับบริการ บิดามารดาของผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะสุดท้าย และบุคลากรพยาบาล ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
แนวคิดการสร้างนวัตกรรม การดูแลด้านร่างกาย และจิตวิญญาณโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งของทารกและครอบครัว เป็นหัวใจสำคัญของการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้ายโดยเฉพาะการจัดการกับศพ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนและไวต่อความรู้สึกของบิดามารดา
การนำผลงานไปใช้/วิธีดำเนินงาน การจัดการกับศพผู้ป่วยทารกแรกเกิดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ซึ่งกระทำภายหลังการให้บิดามารดารวมถึงญาติเข้ามามีส่วนร่วมดูแล ทำพิธีขออโหสิกรรม และไว้อาลัย)
การผลิตนวัตกรรม อุปกรณ์ กล่องแข็งขนาด.ขนาด 9x18, 7x 18 ( แล้วแต่น้ำหนักและความยาวของทารก) กระดาษห่อของขวัญ พลาสติกกันกระแทก สกอตเทป
ขั้นตอนการดำเนินการ เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยถึงแก่กรรม พยาบาลเริ่มถอดอุปกรณ์การแพทย์ออกจากตัวผู้ป่วย
ให้บิดามารดาเช็ดตัว ทำความสะอาดร่างกาย และสวมใส่เสื้อผ้าให้แก่ผู้ป่วย
แพทย์ พยาบาล และบิดามารดาร่วมทำพิธีขออโหสิกรรมและไว้อาลัยให้แก่ผู้ป่วย
แพทย์ พยาบาล และบิดามารดาร่วมกันบรรจุร่างของผู้ป่วยลงในกล่องดวงใจ
ส่งมอบให้หน่วยรักษาศพดูแลต่อไป
ผลลัพธ์ บุคลากรพยาบาลผู้ดูแลและบิดามารดามีความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยเฉพาะการจัดการกับศพ 2.เป็นการนำกล่องกระดาษที่ใช้แล้วมารีไซเคิล และสร้างคุณค่าของงาน
แผนภูมิแสดงความพึงพอใจ
แนวทางการพัฒนาในอนาคต เปิดโอกาสให้บิดามารดาและครอบครัวร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเขียนความในใจเพื่อไว้อาลัยให้บุตรเป็นครั้งสุดท้าย
อยู่เพื่อรัก…จากไปเพื่อรำลึกถึง บทเรียนเพื่อแบ่งปัน อยู่เพื่อรัก…จากไปเพื่อรำลึกถึง