แนวทางการวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะ Specific Business Tax Planning สุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
หลักการทั่วไปของภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. เป็นภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) 2. จัดเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการชนิดพิเศษที่ไม่อาจคำนวณหามูลค่าเพิ่มได้โดยง่าย 3. จัดเก็บแทนที่ภาษีการค้า (Business Tax) ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2535 เป็นต้นมา โดยจัดเก็บจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ 4. จัดเก็บเป็นรายเดือนภาษี 5. เป็นภาษีอากรประเมิน (มาตรา 91) 6. เป็นภาษีทางเลือก (Alternative Tax) ของภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา 77/3 ประกอบมาตรา 91/2 และมาตรา 91/3)
กิจการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสีย SBT 1. กิจการธนาคารพาณิชย์ 2. กิจการบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ 3. การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เข่น การให้กู้ยืม การ แลกเปลี่ยนเงินตรา ค้ำประกัน (ดู คำสั่งกรมสรรพากรที ป.26/2534) 4. กิจการประกันชีวิต 5. กิจการโรงรับจำนำ 6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ดู พรฎ. (ฉบัยที่ 342) พ.ศ.2541 7. กิจการแฟ็กเตอริ่ง (Factoring)
เกณฑ์การคำนวณรายรับเพื่อเสีย SBT มาตรา 91/8 ให้เลือกใช้เกณฑ์เงินสด หรือเกณฑ์สิทธิ เว้นแต่ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ดู มาตรา 50(5) และ (6) มาตรา 69 ตรี มาตรา 91/10 วรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก
แนวทางในการวางแผนภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. SBT เป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ และเป็นภาษีทางเลือกของ VAT จึงต้องพิจารณาว่ารายได้ประเภทนั้นๆ อยู่ในข่ายต้องเสีย VAT หรือ SBT 2. กรณีรายได้นั้นต้องเสีย SBT ให้พิจารณาฐานภาษี อัตราภาษี วิธีการเสียภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง 3. พิจารณาช่องโหว่และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับ SBT
แนวทางการวางแผนเกี่ยวกับอากรแสตมป์ 1. พิจารณาว่าตราสารที่กระทำนั้นต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ ถ้าเป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ให้ปิดก่อนหรือในขณะที่กระทำตราสาร แต่มีข้อยกเว้นตามมาตรา 111 และมาตรา 113 2. วางแผนให้คู่สัญญาเป็นผู้ปิดอากรแสตมป์ แต่พึงต้องระมัดระวังผลกระทบทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้องด้วย 3. ดูมาตรา 118