ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญ และการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ.2552 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 24 สิงหามคม 2552
สรุปสาระสำคัญ ***ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ใช้ทางการสาธารณสุขที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ.2538 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2538*** วัตถุอันตรายในประกาศนี้ หมายความว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วย เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งอยู่นอกรายชื่อของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกตามความในมาตรา 36 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 1.ผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./สธ 1 พร้อมเอกสารและหลักฐานที่ระบุในแบบดังกล่าว 2.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 3.เมื่อเห็นสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./สธ 2 ให้กับผู้ยื่นคำขอ 4.ในกรณีที่จำเป็นต้องผลิตหรือนำเข้าซึ่งตัวอย่างวัตถุอันตรายที่จะขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย หรือต้องนำเข้ามาซึ่งวัตถุอันตรายอย่างอื่นเพื่อใช้ในการผลิตวัตถุอันตรายที่จะขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายยื่นคำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งตัวอย่างวัตถุอันตรายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ วอ./สธ 8
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 5.เมื่อเห็นสมควรพนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบอนุญาตผลิตตัวอย่างวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./สธ 9 หรือใบอนุญาตนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตรายตามแบบ วอ./สธ 10 6.ตัวอย่างวัตถุอันตรายที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าต้องแสดงฉลากไว้ที่หีบห่อบรรจุหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 6.1 ชื่อทางการค้าของผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี) 6.2 ชื่อสามัญตามระบบ ISO (ถ้ามี) หรือชื่อสามัญในระบบอื่น ๆ 6.3 ชื่อวิทยาศาสตร์ของวัตถุอันตรายและ CAS No. (ถ้ามี) ในกรณีที่เป็นสารเคมีให้ระบุชื่อทางเคมีตามระบบ IUPAC หรืออื่น ๆ 6.4 อัตราส่วนผสมของวัตถุอันตราย
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 6.5 ผู้ผลิตและแหล่งผลิต 6.6 ข้อความ “ตัวอย่างวัตถุอันตรายเพื่อการขอขึ้นทะเบียน 6.7 คำเตือน 6.8 ขนาดบรรจุ 7.ผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายผู้ใดประสงค์จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย หรือรายการอื่นในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายให้ยื่นคำขอตามแบบ วอ./สธ 6
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 8.การขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้ผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายยื่นคำขอต่ออายุตามแบบ วอ./สธ 7
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ 9.แนบท้ายประกาศ คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ./สธ 1) / ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ./สธ 2 ) / คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ./สธ 6) / คำขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ./สธ 7) / คำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ./สธ 8) / ใบอนุญาตผลิตตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ./สธ 9) / ใบอนุญาตนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ./สธ 10)
จบการนำเสนอ