ความรู้พื้นฐานด้านการมาตรฐาน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
Advertisements

วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
การฝึกอบรมหลักสูตร การบริหารจัดการโครงการ และการติดตามประเมินผล
เทคนิคการอ่านรายงานการวิจัย
โครงงานเรื่อง การบริหารสินค้าคงคลัง
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
Research Problem ปัญหาการวิจัย
หลักปฏิบัติที่ดีด้านการกำหนด การรับมาใช้ และการใช้มาตรฐาน
โดย นางภัทรพร เพ้งหล้ง นักวิชาการมาตรฐาน 7 ว สำนักบริหารมาตรฐาน 1
แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ นำไปสู่การปฏิบัติ
แนวทางพัฒนาการกำหนดมาตรฐาน
ตรายี่ห้อ บรรจุภัณฑ์ และฉลาก
บทที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
โครงร่างองค์กร (Organizational Profile)
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) คือ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก.
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
วิธีการทางสุขศึกษา.
การวางแผนและการดำเนินงาน
บทที่ 8 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
การบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน
เครื่องหมายสินค้ามาตรฐานสหกรณ์
การเขียนรายงานการวิจัย (เชิงปริมาณ)
ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี
บทบาทการบริหารงานสำนักงาน 1
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนรายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสำนักงาน และการบริหารงานสำนักงาน
กรอบความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
Working Group on Legal Metrology
สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย/คณะ
เกษตรอินทรีย์ (Organic)
เครื่องหมายรับรอง “Q ”และ “Q Premium”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันเพื่อการส่งออก
ปัจจัยของการสร้างนวัตกรรม
ปัจจัยของการสร้างนวัตกรรม
การวัดผล (Measurement)
กลุ่มที่ 1.
การบริหารและกระบวนการวางแผน
กฎระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์
การเขียนรายงานการวิจัย
การจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2554
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
ยุทธศาสตร์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส 41102
Educational Standards and Quality Assurance ผศ.ดร.ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์
ประกาศการทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4214 (พ. ศ
สรุประบบเทคโนโลยี สมาชิกกลุ่ม 1.น.ส.มยุรี ริยะอุด เลขที่ 1 ม.4.10
การวางเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน
กลุ่มgirls’generation
บทที่ 10 การตลาดทางตรง ความหมายของการตลาดทางตรง Direct marketing is the use of consumer-direct channels to reach and delivery goods and services to customers.
พฤติกรรมผู้บริโภค (CONSUMER BEHAVIOR)
การเขียนรายงานผลการวิจัย
กลุ่ม คาวาอี้ ~~ จัดทำโดย ชั้น ม.4.11 นางสาว กรรณิการ์ ใจวัง เลขที่ 7
การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality control : QCC
บทที่ 7 การดำเนินการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเกษตร
7.Discussion การอภิปราย นายวัชรกร เดชะบุญ รหัสนิสิต
IDS 3901 ค้นคว้าวิจัยงานออกแบบ. บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เนื้อหาในส่วนนี้มาจากข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับ เรื่องที่จะทำ ประวัติความเป็นมาของตัวสินค้าหรือตัว.
แบบทดสอบก่อนเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเสนอรายงานโครงงาน คะแนนเต็ม 10 คะแนน.
บทที่ 5 การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
หน่วยที่1 ข้อมูลทางการตลาด
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเรื่อง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างอุตสาหการสาขาช่างเชื่อมฟลักซ์คอร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 21.
กลุ่ม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.
บทที่ 3 การจัดการตราผลิตภัณฑ์ คุณค่าของตรา และตำแหน่งผลิตภัณฑ์
ความเชื่อมั่น ความดูดีในอีก ระดับ ความเป็นผู้นำ ความแตกต่างที่ เป็นจุดเด่น การบ่งบอกถึง คุณภาพ.
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ความรู้พื้นฐานด้านการมาตรฐาน 1

หัวข้อการบรรยาย จุดมุ่งหมายของการมาตรฐาน ประโยชน์ของการมาตรฐาน นิยามคำว่า “การมาตรฐาน” จุดมุ่งหมายของการมาตรฐาน ประโยชน์ของการมาตรฐาน นิยามคำว่า “มาตรฐาน” ขอบเขตของมาตรฐาน ระดับของมาตรฐาน หัวข้อการบรรยายความรู้พื้นฐานด้านการมาตรฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังต่อไปนี้ ความหมายของ “การมาตรฐาน” จุดมุ่งหมายของการมาตรฐาน ประโยชน์ของการมาตรฐาน ความหมายของ “มาตรฐาน” ขอบเขตของมาตรฐาน ระดับของมาตรฐาน

หัวข้อการบรรยาย (ต่อ) ปริภูมิมาตรฐาน หลักการกำหนดมาตรฐาน วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐาน การดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐาน ของ สมอ. ประเภทของมาตรฐาน (มอก.) การนำมาตรฐานไปใช้ ปริภูมิมาตรฐาน หลักการกำหนดมาตรฐาน วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐาน การกำหนดมาตรฐานของ สมอ. การนำมาตรฐานไปใช้

ตาม ISO/IEC Guide 2 นิยามของคำว่า “การมาตรฐาน (Standardization)” การกำหนดมาตรฐาน (developing) การประกาศใช้มาตรฐาน (issuing) การนำมาตรฐานไปใช้ (implementing) องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization, ISO) ได้ให้ความหมาย ไว้ใน ISO/IEC Guide 2 ว่า การมาตรฐาน (standardization) หมายถึง กิจกรรมที่ขจัดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนให้หมดไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทาง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐศาสตร์ โดยมุ่งการบรรลุเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดตามวิธีการที่กำหนดขึ้น การมาตรฐานเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการหรือกรรมวิธี 3 กิจกรรม คือ การกำหนดมาตรฐาน การประกาศใช้มาตรฐาน และ การนำมาตรฐานไปใช้ การกำหนดมาตรฐาน องค์การมาตรฐานระดับประเทศหรือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ (National Standards Body ; NSB) ของแต่ละ ประเทศจะมีกระบวนการกำหนดมาตรฐานคล้ายคลึงกัน หรือเป็นแนวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือที่กำลังพัฒนา อาจมีส่วนแตกต่างกันบ้างเนื่องจากสภาพแวดล้อมของประเทศที่แตกต่างกัน แนวทางการดำเนินการกำหนดมาตรฐานของ สมอ. เป็นไปตามหลักสากล คือ เป็นไปตามแนวทางที่ประเทศสมาชิกองค์การระหว่าง ประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ปฏิบัติอยู่ การประกาศใช้มาตรฐาน มาตรฐานที่กำหนดขึ้นต้องมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ - มาตรฐานต่างประเทศ เช่น ISO , IEC - มาตรฐานไทย เช่น มอก. , มกอช. โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา /กฎกระทรวง มาตรฐานจะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อมีการนำมาตรฐานไปใช้ เช่น นำไปอ้างอิง นำไปผลิต จัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของการมาตรฐาน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของเศรษฐกิจ โดยรวม เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสะดวกในการใช้ มากที่สุด เพื่อแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซาก เพื่อจำกัดขอบเขตระดับของสิ่งที่จำเป็น จุดมุ่งหมายโดยทั่วไปของการมาตรฐานในทุกระดับ มีดังนี้ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของเศรษฐกิจโดยส่วนรวม จะพิจารณาในลักษณะของการประหยัด ความพยายามของมนุษย์ การประหยัดวัตถุดิบที่จำเป็น หรือใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้วัตถุดิบ การยอมรับการผลิต การขนส่ง รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นการประหยัดต่อการผลิตมากที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสะดวกในการใช้มากที่สุด ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการมาตรฐานที่จะนำไปสู่การลดแบบลดขนาด การสับเปลี่ยนทดแทนกันได้ของชิ้นส่วน อะไหล่ และการลดขนาดของวัสดุอุปกรณ์ลงรวมทั้งการเพิ่มผลผลิต การลดความสูญเสียโดยไม่จำเป็น และลดการตรวจสอบ เพื่อแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซากโดยการยอมรับสรุปผลที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้มีการนำข้อมูลด้านวิชาการที่มีอยู่หรือที่มีการพัฒนาให้ทันสมัยมาใช้ เพื่อจำกัดขอบเขตระดับของสิ่งที่จำเป็น ได้แก่ การทำมาตรฐานวิธีการชักตัวอย่าง การทดสอบ การคัดขนาด และการกำหนดเกณฑ์คุณภาพ ทั่วไป จุดประสงค์หลักขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน คือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในโลกของความรู้วิทยาการเทคโนโลยีโดยใช้มาตรฐานเป็นหลัก

ประโยชน์ของการมาตรฐาน 1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 2. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขาย 3. การสับเปลี่ยนทดแทนกันได้ ประโยชน์ของการมาตรฐาน 1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ช่วยป้องกันข้อปัญหาและลดเวลาในการอธิบายด้วยคำพูด เช่น บทนิยาม วิธีเขียน แบบ หน่วยที่ใช้ (SI Units) 2. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขายและในการแข่งขันทางการค้า เพราะข้อกำหนดในมาตรฐานจะทำให้สินค้า มีคุณภาพแน่นอน ผู้ขายไม่อาจหลอกลวงผู้ซื้อ หรือเอาเปรียบคู่แข่งได้ 3. การสับเปลี่ยนทดแทนกันได้ นับเป็นหลักของการกำหนดมาตรฐาน และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการผลิตมวลภัณฑ์ (mass production) เช่น เมื่อหลอดไฟฟ้าขาด เปลี่ยนเฉพาะส่วนที่ชำรุดเสียหาย โดยไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ทั้งชุด 4. ทำให้เกิดการประหยัด สำหรับผู้ใช้เป็นการลดค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ทำเป็นการลดต้นทุนการผลิต และสำหรับประเทศเป็นการ สงวนทรัพยากรของส่วนรวมให้มีใช้ในวันข้างหน้า เช่น การลดแบบลดขนาดให้เหลือเท่าที่จำเป็น ทำให้ประหยัดต้นทุนด้าน เครื่องจักร การเก็บวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพ ลดการเสียเวลาในกระบวนการผลิต 4. ทำให้เกิดการประหยัด

ประโยชน์ของการมาตรฐาน (ต่อ) 5. ทำให้เกิดอุตสาหกรรมลูกโซ่ 6. ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการทำอุตสาหกรรม 7. ป้องกันมิให้มาตรฐานเป็นอุปสรรค ต่อการค้า 5. ทำให้เกิดอุตสาหกรรมลูกโซ่และเกิดการขยายตัวทางอุตสาหกรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยอุตสาหกรรม ทำเฉพาะด้านหรือทำเฉพาะผลิตภัณฑ์ (ชิ้นส่วน) หรือทำเฉพาะบางขั้นตอนการผลิต 6. ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการทำอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ยังมีการพัฒนาน้อย เนื่องจากข้อกำหนดในมาตรฐานสามารถใช้เป็นแนวทางในการทำผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันใน มาตรฐานระหว่างประเทศแล้วว่า มาตรฐาน คือ เครื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีราคาถูก 7. ป้องกันมิให้มาตรฐานเป็นอุปสรรคต่อการค้า จะเห็นได้จากเป้าหมายของ ISO ที่มุ่งให้มาตรฐานของ ประเทศต่างๆ มีความสอดคล้องกัน ทำให้การค้าระหว่างประเทศทำได้ง่าย ต้นทุนการผลิตลดลง และ ผู้บริโภคได้รับความสะดวกในการซื้อสินค้า

เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช นิยามของคำว่า “มาตรฐาน (Standard)” ตาม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ เช่น มอก. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช และสิ่งที่ถือเอา เป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

นิยามของคำว่า “มาตรฐาน (Standard)” ตาม ISO/IEC Guide 2 : 2004 องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ISO ได้ให้ความหมายไว้ใน ISO/IEC Guide 2 : 2004 Standard : document, established by consensus and approved by a recognized body , that provides, for common and repeated use, rules, guidelines or characteristics for activities or their results, aimed at the achievement of the optimum degree of order in a given context. Note : Standard should be based on the consolidated results of science, technology and experience, and aimed at the promotion of optimum community benefits.

The standards body definition เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยได้รับความเห็นพ้องต้องกัน (consensus) ได้รับการรับรองโดยองค์การที่ได้รับการยอมรับ (recognized body) กำหนดขึ้นสำหรับนำไปใช้ทั่วไปและใช้กันเป็นประจำ เกี่ยวกับกฎ แนวทาง หรือลักษณะของกิจกรรมหรือ ผลของกิจกรรม จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระดับที่เหมาะสม ที่สุด องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ได้ให้ความหมายไว้ใน ISO/IEC Guide 2 : 2004 Standard : document, established by consensus and approved by a recognized body , that provides, for common and repeated use, rules, guidelines or characteristics for activities or their results, aimed at the achievement of the optimum degree of order in a given context.

The standards body definition (ต่อ) มาตรฐานมีรากฐานมาจากการรวบรวมผลทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และประสบการณ์ ที่มีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยส่วนรวม Note : Standard should be based on the consolidated results of science, technology and experience, and aimed at the promotion of optimum community benefits.

นิยามของคำว่า “มาตรฐาน (Standard)” ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรรม พ.ศ.2511 ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เกี่ยวกับ : มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้ให้ความหมายของคำว่า “มาตรฐาน” ไว้ดังนี้ มาตรฐาน หมายความว่า ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเกี่ยวกับ (1) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2) วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับ การทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (3) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุหุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย (4) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบหรือวิธีชั่ง ตวง วัด อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (5) คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และ หน่วยที่ใช้ทางวิชาการอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (6) ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ หรือตามพระราชกฤษฎีกา

คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานฯ (ต่อ) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำ มาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความปลอดภัย อันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้ให้ความหมายของ คำว่า “มาตรฐาน” ไว้ดังนี้ มาตรฐาน หมายความว่า ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างเกี่ยวกับ จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2) วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (3) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุหุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย (4) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบหรือวิธีชั่ง ตวง วัด อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และ หน่วยที่ใช้ทางวิชาการ (6) ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ หรือตามพระราชกฤษฎีกา

จำพวกแบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุ ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานฯ (ต่อ) จำพวกแบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุ ชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำหีบห่อหรือสิ่งบรรจุ ชนิดอื่น วิธีการบรรจุ หุ้มห่อ หรือผูกมัด และ วัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบ หรือวิธีชั่ง ตวง วัด อันเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้ให้ความหมายของ คำว่า “มาตรฐาน” ไว้ดังนี้ มาตรฐาน หมายความว่า ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างเกี่ยวกับ จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2) วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (3) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุหุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย (4) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบหรือวิธีชั่ง ตวง วัด อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และ หน่วยที่ใช้ทางวิชาการ (6) ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ หรือตามพระราชกฤษฎีกา

คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานฯ (ต่อ) คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และหน่วยที่ใช้ทางวิชาการอัน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ หรือตาม พระราชกฤษฎีกา มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้ให้ความหมายของ คำว่า “มาตรฐาน” ไว้ดังนี้ มาตรฐาน หมายความว่า ข้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างเกี่ยวกับ จำพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทำ เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2) วิธีทำ วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนำมาทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (3) จำพวก แบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อหรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น รวมตลอดถึงการทำหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุหุ้มห่อหรือผูกมัด และวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย (4) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบหรือวิธีชั่ง ตวง วัด อันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คำเฉพาะ คำย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และ หน่วยที่ใช้ทางวิชาการ (6) ข้อกำหนดรายการอย่างอื่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ หรือตามพระราชกฤษฎีกา

มาตรฐานอาจอยู่ในลักษณะของ เอกสารระบุรายการข้อกำหนดต่างๆ (NORM) หน่วยมูลฐาน หรือค่าคงที่ทางกายภาพ หรือสิ่งสำหรับเปรียบเทียบทางกายภาพ (ETALON) มาตรฐานอาจอยู่ในลักษณะของ NORM หรือ ETALON NORM หมายถึง เอกสารระบุรายการข้อกำหนดต่างๆ NORM เป็นมาตรฐานที่ไม่ static แต่ต้อง dynamic คือ ต้องทันสมัยอยู่เสมอ ETALON หมายถึง หน่วยมูลฐานหรือค่าคงที่ทางกายภาพ เช่น แอมแปร์ องศาสัมบูรณ์ (เคลวิน) หรือสิ่งสำหรับเปรียบเทียบทางกายภาพ เช่น เมตรมาตรฐาน ETALON เป็นมาตรฐานที่ static ไม่เปลี่ยนแปลง

ขอบเขตของมาตรฐาน (Field of standard) 1. สาขา (subject) ของมาตรฐาน กิจกรรมของผู้ประกอบอาชีพในสาขาวิชาการ รวมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร ไฟฟ้า 2. เรื่องหรือข้อกำหนด (aspect) ของมาตรฐาน รายละเอียดภายใต้ข้อกำหนดในมาตรฐานที่ สนองต่อความต้องการของผู้ใช้ เช่น บทนิยาม 3. ระดับ (level) ของมาตรฐาน ตามผู้ใช้มาตรฐาน ขอบเขตของมาตรฐาน 1. สาขาของมาตรฐาน หมายถึง มาตรฐานซึ่งครอบคลุมแนวความคิดที่เป็นกิจกรรมของผู้ประกอบอาชีพในสาขา วิชาการต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรม การก่อสร้าง เกษตรศาสตร์ และรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางวัฒนธรรมและทางสังคมศาสตร์ด้วย เช่น เรื่องเกี่ยวกับกีฬา ดนตรี สาขามาตรฐาน เช่น อุตสาหกรรม เกษตรกรรม สิ่งทอ อาหาร ไฟฟ้า 2. เรื่องหรือข้อกำหนดของมาตรฐาน หมายถึง มาตรฐานซึ่งแตกต่างจากสาขาในส่วนที่เป็นเนื้อหา ชนิด แบบ หรืออื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับรายการหรือเรื่องเฉพาะของแต่ละสาขามาตรฐานที่ต้องการให้ครอบคลุม “เรื่อง” มาตรฐานดังกล่าว เรื่อง (เนื้อหา) เช่น มาตรฐานพื้นฐาน มาตรฐานวิธีทดสอบ มาตรฐานสัญลักาษณ์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ 3. ระดับมาตรฐาน เป็นการกำหนดขอบเขตหรือแวดวงของมาตรฐานที่มีการกำหนดขึ้นและนำไปใช้กัน โดยวัดได้จาก กลุ่มของผู้สนใจหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ทำหรือที่ใช้มาตรฐานในการดำเนินงาน

1. ระดับบุคคล (Individual Standard) ระดับมาตรฐาน 1. ระดับบุคคล (Individual Standard) 2. ระดับบริษัทหรือระดับโรงงาน (Company Standard) 3. ระดับสมาคม องค์กร สถาบัน (Association or Trade Standard) 4. ระดับชาติหรือระดับประเทศ (National Standard) 5. ระดับภูมิภาค (Regional Standard) 6. ระดับระหว่างประเทศ (International Standard) ระดับของมาตรฐาน มีดังนี้ 1. ระดับบุคคล : มาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยผู้ที่ต้องการใช้แต่ละคน รวมไปถึงการกำหนดโดยแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของคนนั้นๆ หรือหน่วยงานนั้นๆ เช่น ข้อกำหนดในการทำเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้น การออกแบบบ้านแต่ละหลัง เขื่อน หรือการสร้างสะพาน การสร้างโรงงาน ทำผลิตภัณฑ์เฉพาะ 2. ระดับบริษัทหรือระดับโรงงาน : มาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยการตกลงร่วมกันของแผนกต่างๆ ในบริษัทหรือ โรงงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการซื้อขาย การผลิต การออกแบบ 3. ระดับสมาคม องค์กร สถาบัน : มาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มบริษัทซึ่งมีกิจกรรมของอุตสาหกรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในวงการค้าเดียวกัน เช่น สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สมาคมผู้ค้าข้าว 4. ระดับชาติหรือระดับประเทศ : มาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยการปรึกษาหารือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในประเทศ โดยมีหน่วยงานมาตรฐานของประเทศเป็นศูนย์กลาง ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก็ได้ เช่น มอก. , BS 5. ระดับภูมิภาค : มาตรฐานที่เกิดจากการประชุมปรึกษาหารือของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน กำหนดขึ้นเป็นข้อตกลงร่วมกัน เช่น มาตรฐานกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป EN 6. ระดับระหว่างประเทศ : มาตรฐานที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของหลายๆ ประเทศที่มีผลได้ผลเสียหรือมีความสนใจร่วมกัน เช่น มาตรฐาน ISO มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) มาตรฐาน ITU (International Telecommunication Union)

ปริภูมิการมาตรฐาน แสดงถึงความสัมพันธ์ของลักษณะต่างๆ ของมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์ และหน้าที่ของการมาตรฐานได้ถูกต้อง โดยแกนอ้างอิงทั้งสาม ประกอบด้วย แกน X หมายถึง สาขาของมาตรฐาน แกน Y หมายถึง เรื่องหรือข้อกำหนดของมาตรฐาน และ แกน Z หมายถึง ระดับของมาตรฐาน

จากปริภูมิมาตรฐานที่มี แกน X เป็นสาขา แกน Y เป็นเรื่อง และแกน Z เป็นระดับ ดังนั้น หากกำหนดจุดใดๆ ลงไปในปริภูมินี้แล้ว จุดนั้นจะประกอบด้วย 3 ตัวประกอบของมาตรฐาน ซึ่งได้แก่ สาขา เรื่อง ระดับ และอาจจะหมายถึงลักษณะเฉพาะได้ กล่าวคือ ในหนึ่งระดับจะประกอบด้วยเรื่องและสาขาได้หลายเรื่องและหลายสาขา ตามระนาบ X-Y หรือในหนึ่งเรื่องจะมีมาตรฐานของสาขาต่างๆ ในระดับต่างๆ ได้หลายสาขาและในหลายระดับตาม ระนาบ Z-X ในทำนองเดียวกันในสาขามาตรฐานหนึ่งสาขาจะมีมาตรฐานเรื่องได้หลายเรื่องและในระดับต่างๆ มากกว่า หนึ่งระดับ ตามระนาบ Y-Z

หลักการกำหนดมาตรฐาน (Principle) 1. ต้องเป็นไปตามความต้องการของภาค อุตสาหกรรม การค้า วิชาการ และเศรษฐกิจ ของประเทศ 2. ต้องปกป้องผลประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสีย ของผู้ผลิตและผู้บริโภค 3. ต้องมาจากความเห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ หลักการทั่วไปของการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศ มีดังนี้ 1. ต้องเป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การค้า วิชาการ และเศรษฐกิจของประเทศ หากมาตรฐานที่กำหนดไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว และยิ่งถ้ามาตรฐานนั้นกำหนดขึ้นด้วยความยากลำบาก แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ หรือไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จะเกิดความสูญเสียทั้งเวลาและงบประมาณ ดังนั้น ก่อนกำหนดมาตรฐานจึงต้องมีการสำรวจและประเมินให้แน่ใจก่อนว่าการกำหนดมาตรฐานนั้นๆ เป็นความ ต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องจริง โดยการเวียนแบบสอบถามเพื่อขอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือเสนอกรรมการ ที่มีผู้แทนภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมอยู่ด้วย เพราะอาจให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ได้ หรืออาจจัดสัมมนาผู้ทำ ผู้ใช้ นักวิชาการ อันจะเสริมสร้างให้มีการนำมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 2. ต้องปกป้องผลประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้ทำและผู้บริโภค ในการกำหนดมาตรฐานจำเป็นต้องสอบถามความเห็นของผู้ทำและผู้บริโภค เพราะเป็นผู้ที่สามารถชี้แนะแนวทาง อันจะทำให้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ผู้บริโภคในที่นี้เป็นผู้บริโภคที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นส่วนใหญ่ เช่น ผู้ส่งออก ผู้จัดจำหน่าย ส่วนผู้บริโภคทั่วไปมักจะไม่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้มากนัก ยกเว้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้น การให้กลุ่มผู้บริโภคแท้ๆ แจ้งปัญหาหรือให้ความเห็นทางวิชาการ จึงมักเป็นปัญหาใหญ่ที่ ประสบกันในทุกประเทศ 3. ต้องมาจากความเห็นพ้องต้องกัน (concensus) มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะในระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง หลักการนี้เป็นหลักการที่สำคัญและมีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ พิจารณาความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ทุกแง่ ทุกมุม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อจะได้แน่ใจและให้ได้ข้อยุติที่ดีที่สุด

หลักการกำหนดมาตรฐาน (Principle) (ต่อ) 4. ต้องมีลักษณะที่ปฏิบัติได้และทันต่อ ความก้าวหน้าทางวิชาการ แต่คงสภาพทาง เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และสามารถนำไป ประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 5. ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ ของประเทศโดยรวมมากกว่าประโยชน์สูงสุด ทางเศรษฐกิจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ต้องมีลักษณะที่ปฏิบัติได้และทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ แต่คงสภาพทางเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และ สามารถนำไปประยุกต์กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้ การกำหนดมาตรฐานแต่ละเรื่องต้องพิจารณาว่ามีลักษณะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เนื่องจากมาตรฐานเปรียบเสมือน โครงสร้างพื้นฐานของงานอุตสาหกรรม ผู้อ่านมาตรฐานต้องมีความเข้าใจและสามารถนำมาตรฐานไปใช้งานได้ โดยมีเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่เป็นเครื่องช่วย 5. ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมากกว่าประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในบางกรณีเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอาจตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ประเทศอินเดีย ก่อนได้รับเอกราชกำหนดให้ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเผาหัวรถจักร เพราะได้ประสิทธิภาพสูง แต่ต่อมาได้ ยกเลิกเพราะเห็นว่าการใช้ถ่านหินเหมาะกับอุตสาหกรรมเหล็กและให้ผลทางเศรษฐกิจมากกว่าการใช้ถ่านหินเป็น เชื้อเพลิงกับรถไฟ ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงประเทศเป็นหลักเสมอ

หลักการกำหนดมาตรฐาน (ต่อ) หลักการกำหนดมาตรฐาน (ต่อ) 6. ต้องเป็นตัวกระตุ้นหรือเร่งรัดให้มีการพัฒนา ทาง อุตสาหกรรมหรือให้มีการนำไปใช้ในทางที่ก่อ ให้เกิดประโยชน์ที่มีประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ 7. ต้องสามารถแก้ไข ทบทวน หรือปรับปรุงตาม ระยะเวลาได้ และต้องทันสมัยเสมอ เมื่อเปรียบ เทียบกับประโยชน์และความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี 6. ต้องเป็นตัวกระตุ้นหรือเร่งรัดให้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมหรือให้มีการนำไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่มี ประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ หากมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเป็นการขัดขวางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว มาตรฐานนั้นจะไม่สามารถตอบสนองกับเศรษฐกิจ และไม่เป็นตัวกระตุ้นหรือเร่งรัดให้มีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ดังนั้น มาตรฐานระดับประเทศควรกำหนดเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ เช่น การสับเปลี่ยนทดแทนกันได้ สมรรถนะ และการทดสอบ ไม่ควรกำหนดในรายละเอียดที่จะจำกัด การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต เช่น กำหนดถึงการออกแบบ ซึ่งจะทำให้โรงงานไม่มีโอกาสผลิตผลิตภัณฑ์ แบบใหม่หรือใช้เครื่องมือทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า 7. ต้องสามารถแก้ไข ทบทวน หรือปรับปรุงตามระยะเวลาได้ และต้องทันสมัยเสมอ เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เมื่อสถานการณ์ สภาพแวดล้อม วิชาการมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีความก้าวหน้าทางวิชาการมากขึ้น ผู้บริโภค ต้องการใช้สินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น วัตถุดิบที่ใช้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือสภาพเศรษฐกิจ และความต้องการใน ตลาดเปลี่ยนแปลงไป ผู้ทำมีขีดความสามารถในการผลิตสูงขึ้น มาตรฐานที่กำหนดไว้ควรได้รับการพิจารณาทบทวน แก้ไขปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หลักการนี้ใช้ได้กับมาตรฐานทุกเรื่อง ทุกสาขา และทุกระดับ โดยเฉพาะ ระดับประเทศเพื่อให้มาตรฐานที่กำหนดใช้แล้วทันสมัย

วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐาน 1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 2. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ใน ตลาดโลก 3. รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน 4. คำนึงถึงความต้องการและขีดความสามารถ ของภาคอุตสาหกรรม

การดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐานของ สมอ. สมอ. ดำเนินการใน 2 ระดับ คือ สมอ. ดำเนินการใน 2 ระดับ คือ ระดับประเทศ : กำหนด มอก. มผช. ระดับสากล : ร่วมกำหนด กับ ISO , IEC สมอ. ดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐานใน 2 ระดับ คือ 1. ระดับประเทศ สมอ. ดำเนินการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศโดยการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ตามความ ต้องการและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การค้า และเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งนโยบายของรัฐ เพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค ความปลอดภัย สุขอนามัย พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล 2. ระดับสากล สมอ. ดำเนินการกำหนดมาตรฐานระดับสากลโดยร่วมกำหนดมาตรฐานกับองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ คือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ (IEC) โดยการให้ข้อคิดเห็นร่างมาตรฐาน เข้าร่วมประชุมในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกใน ISO และIEC (Participate member , P-member และ Observer member, O-member) ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและเพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันในตลาดโลก

ประเภทของมาตรฐาน (มอก.) มาตรฐานมูลฐาน (basic standard) มาตรฐานศัพท์บัญญัติ (terminology standard) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ (product standard) มาตรฐานวิธีทดสอบ (test method standard) มาตรฐานระบบการจัดการ (system standard) มาตรฐานข้อแนะนำ (code standard) มาตรฐาน แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 1. มาตรฐานมูลฐาน (basic standard) เช่น มาตรฐานฯ การชักตัวอย่าง มาตรฐานหน่วยเอสไอ 2. มาตรฐานศัพท์บัญญัติ (terminology standard) 3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ (product standard) เช่น มาตรฐานเ หล็กเส้นเสริมคอนกรีต มาตรฐานฯ สายไฟฟ้า มาตรฐานฯ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 4. มาตรฐานวิธีทดสอบ (test method standard) เช่น มาตรฐานฯ วิธีทดสอบสี มาตรฐานฯ วิธีทดสอบอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของขั้วหลอดไฟฟ้า 5. มาตรฐานระบบการจัดการ (system standard) เช่น มาตรฐานฯ ระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO 9 001) มาตรฐานฯ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14 000) มาตรฐานฯ ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO18 000) 6. มาตรฐานข้อแนะนำ (code standard) เช่น มาตรฐานฯ หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร

การนำมาตรฐานไปใช้ มาตรฐานที่กำหนดจะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อ : มาตรฐานที่กำหนดจะเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อ : เป็นแนวทางในการผลิต ขอใช้เครื่องหมายมาตรฐาน เลือกใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน นำไปใช้อ้างอิงเพื่อการซื้อขาย นำไปใช้ในการศึกษา/วิเคราะห์ทดสอบ มาตรฐานที่กำหนดขึ้นจะเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อมีการนำมาตรฐานนั้นไปใช้งาน กล่าวคือ 1. ผู้ประกอบการนำมาตรฐานไปใช้เป็นแนวทางในการผลิต 2. ผู้ประกอบการขอการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน 3. ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน 4. มีการนำมาตรฐานไปใช้อ้างอิงในการซื้อขาย 5. มีการนำไปใช้ในการศึกษา/วิเคราะห์ทดสอบ