สารเมลามีน
สารเมลามีน คือสารเคมีที่ใช้ผสมในการผลิตเม็ดพลาสติก และพบในยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อถูกความร้อนแล้วอาจมีสารฟอร์มัลดิไฮด์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายแพร่กระจายออกมา คณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุขของไทยเคยแถลงการณ์ร่วมกันเกี่ยวกับอันตรายของสารเมลามีนที่ใช้ในภาชนะใส่อาหาร หากมีการนำไปใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารฟอร์มัลดีไฮด์ที่เป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินหายใจได้
คุณสมบัติของเมลามีน อินทรีย์ มีสารฟอร์มาลดีไฮด์ หรือที่เรา สารเมลามีนนี้จัดเป็นสาร อินทรีย์ มีสารฟอร์มาลดีไฮด์ หรือที่เรา รู้จักกันว่าฟอร์มาลีน เป็นส่วนประกอบ มีไนโตรเจนสูงถึง 66% เป็นผงสีขาว ลักษณะคล้ายนมผงจนแยกไม่ออก เมื่อนำไปละลายน้ำ หรือผสมในนมจะ ตรวจพบปริมาณไนโตรเจนสูง จะให้น้ำนมมีโปรตีนสูง
การส่งออกของสารเมลามีน ในประเทศจีนนั้น มีการผลิตเมลามีนจำนวนมาก และออกวางขายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งสารเมลามีนนี้จะใช้ในกระบวนการผลิตภาชนะ อาหารสัตว์ และนอกจากจีนจะขายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายยัง 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในรูปของเศษเมลามีนที่เหลือจากโรงงานพลาสติก ซึ่งมีราคาถูก
อาหารที่เสี่ยงปนเปื้อนสารเมลามีน มีสารเมลามีนปนเปื้อนมาในนมผง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของนมผงที่นำเข้าจาก22 บริษัทของประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นขนม ลูกอม นม คุ้กกี้ ไอศกรีม โยเกิร์ต ฯลฯ ก็เข้าข่ายเสี่ยง ไปด้วย ในประเทศไทยเองสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ได้สั่งงดนำเข้า และขอร้องให้ร้านค้าต่างๆ งดจำหน่ายขนมที่มี แหล่งผลิตจากจีนแล้ว โดยนำสินค้าไปตรวจสอบก่อน
ความเป็นพิษของเมลามีน ฤทธิ์ของสารเมลามีนนั้น ไม่จำเป็นต้องรับประทาน เข้าไปโดยตรง เพียงแค่สูดดมเข้าไป หรือผิวหนังสัมผัส ก็ทำให้เกิดการระคายเคือง จนส่งผลให้ผิวหนังอักเสบ ได้แล้ว ถ้ารับประทานเข้าไป ร่างกายเราไม่สามารถย่อย สารเมลามีนได้ ไตจึงไม่สามารถขับสารพิษออกมา ทางปัสสาวะ ดังนั้นเมื่อสารนี้เข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปสะสม จนกลายเป็นนิ่วในท่อปัสสาวะและไต ก่อให้เกิด มะเร็งที่ท่อปัสสาวะ ทำลายระบบสืบพันธุ์ และทำให้ไตวายได้อย่างเฉียบพลัน
เด็กทารกชาวจีนทั้ง 4 คนที่เสียชีวิต เพราะรักษาไม่ทัน ขณะที่ยังมีเด็กอีกกว่า 53,000 คน ทั้งชาวจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเก๊า กำลังป่วยเป็นนิ่วในไตอันเป็นผลพวงมาจากสารเมลามีน ในส่วนของภาชนะที่ทำจากเมลามีนก็ต้องระวังการใช้เช่นกัน แม้ผู้ผลิตจะบอกว่า สามารถทนความร้อนได้ถึง 100 องศา แต่ก็ควรใช้งานที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส เนื่องจากหากใช้งานกับความร้อนสูง เช่น น้ำเดือดๆ อาหารที่ทอดใหม่ๆ ก็อาจทำให้สารฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งแพร่ออกมาได้
นางสาวกุลวดี ใจจันทรา ระดับ ปวส. 2 สาขาเทคโนโลยีการอาหาร จัดทำโดย นางสาวกุลวดี ใจจันทรา ระดับ ปวส. 2 สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขต ลำปาง