การวางแผนการผลิตรวม ความหมาย วัตถุประสงค์และขั้นตอนการวางแผนการผลิตรวม กลยุทธ์สำหรับการวางแผนการผลิตรวม การวางแผนการผลิตรวมด้วยวิธีกราฟและแผนภูมิ การวางแผนการผลิตรวมด้วยตัวแบบคณิตศาสตร์
บทนำ การวางแผนการผลิตรวม (Aggregate Planning) นี้จัดอยู่ในกิจกรรมการวางแผนระยะปานกลาง การวางแผนการผลิตรวม หมายถึง กิจกรรมเพื่อการกำหนดปริมาณในการผลิต อย่างคร่าวๆ ในกรณีโรงงานที่มีการผลิตเพียงผลิตภัณฑ์เดียวจะไม่มีปัญหา แต่ในโรงงานที่มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดอาจจะต้องเทียบผลิตภัณฑ์อื่นๆมาเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่โรงงานผลิต
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการวางแผนการผลิตรวม เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และต้นทุนในการปฏิบัติการต่ำสุด โดยการวางแผนการผลิตรวมมีขั้นตอนหลักๆ 3 ขั้นตอน 1. การพยากรณ์ความต้องการ - เพื่อคาดหมายปริมาณความต้องการ 2. กาวางแผนการผลิต - กำหนดกลยุทธ์สำหรับการผลิต - โดยพิจารณาจากปัจจัยการผลิตและเงื่อนไข 3. การกำหนดปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต - กำหนดปริมาณในการผลิตในแต่ละผลิตภัณฑ์
กลยุทธ์สำหรับการวางแผนการผลิตรวม เมื่อปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน 1. การผลิตให้พอดีกับความต้องการโดยการเปลี่ยนแปลงจำนวนคนงาน - ผลิตเท่าที่มีความต้องการ - ใช้จำนวนคนงานเท่าที่ต้องการเท่านั้น 2. การผลิตให้พอดีกับความต้องการโดยเปลี่ยนแปลงอัตราการผลิตของคนงาน - ทำการผลิตให้พอดีกับความต้องการ - จ้างคนงานจำนวนเท่าเดิมตลอด - ยอมให้คนงานเกิดการว่างงานในกรณีความต้องการน้อย - ถ้ามีความต้องการมากจะมีการทำงานล่วงหน้าหรือการรับเหมาช่วง
กลยุทธ์สำหรับการวางแผนการผลิตรวม (ต่อ) 3. การผลิตด้วยอัตราการผลิตคงที่โดยยอมให้มีสินค้าคงเหลือ - อัตราการผลิต และจำนวนคนงาน คงที่ตลอดเวลา - ไม่มีการจ้างคนงานใหม่หรือปลดคนงานออก - มีการเก็บสินค้าคงคลัง
กลยุทธ์สำหรับการวางแผนการผลิตรวม (ต่อ) ข้อดี ข้อเสีย 1. ผลิตให้พอดีกับความต้องการโดยเปลี่ยนจำนวนคน ไม่มีสินค้าคงคลัง ไม่เสี่ยงเมื่อเกิดการล้าสมัยของผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายด้านคนงานสูง ถ้าเป็นงานแบบต้องการความชำนาญพิเศษจะทำไม่ทัน ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ขวัญกำลังไจของคนงานเสีย 2. ผลิตให้พอดีกับความต้องการโดนเปลี่ยนอัตราการผลิต ไม่ต้องเก็บสินค้าคงคลัง ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการจ้างคนงานใหม่และให้คนงานออก แก้ปัญหาเรื่องความต้องการแรงงานชำนาญการ มีต้นทุนในการทำงานล่วงเวลาและการว่างงานมาก ผลงานที่ได้จากการทำงานล่วงเวลาประสิทธิภาพต่ำ 3. การผลิตด้วยอัตราการผลิตคงที่ยอมให้มีสินค้าคงคลัง ต้นทุนด้านการทำงานล่วงเวลาและการว่างงานน้อย ไม่มีปัญหาเรื่องจ้างคนงานใหม่และปลดคนงานออก มีต้นทุนด้านสินค้าคงคลังสูง มีโอกาสที่สินค้าจะเกิดการล้าสมัย
การวางแผนการผลิตรวมด้วยวิธีกราฟและแผนภูมิ เป็นวิธีที่ใช้ กราฟ แผนภูมิ และตาราง เพื่อใช้ในการวางแผน โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การพยากรณ์ความต้องการในแต่ละช่วงเวลา 2. คำนวณกำลังการผลิต 3. ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ 4. เลือกกลยุทธ์สำหรับการผลิตรวม 5. เปรียบเทียบกำลังการผลิตที่ได้ในแต่ละช่วงเวลากับปริมาณความต้องการ 6. คำนวณต้นทุน 7. ปรับปรุงแผน
การวางแผนการผลิตรวมด้วยวิธีกราฟและแผนภูมิ(ต่อ) ตัวอย่าง จากการพยากรณ์คามต้องการของผลิตภัณฑ์ในระยะ 12 เดือน ข้างหน้าและจำนวนวันทำงานปกติและวันทำงานที่สามารถทำล่วงเวลาได้ แสดงในตารางต่อไปนี้ เดือน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 ต้องการ 2500 1500 2000 3500 4000 5500 5000 6000 ปกติ 22 19 21 20 18 OT
การวางแผนการผลิตรวมด้วยวิธีกราฟและแผนภูมิ(ต่อ)
การวางแผนการผลิตรวมด้วยตัวแบบคณิตศาสตร์ ตัวแบบการโปรแกรมเชิงเส้น ใช้ในการแก้ปัญหาการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ตัวแบบการขนส่ง กฎการตัดสินใจแบบเชิงเส้น สร้างขึ้นจากชุดสมการซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนต่างๆ โดยมีข้อเสียคือ ต้นทุนในการเก็บข้อมูลสูง และต้องอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ตัวแบบฮิวริสติกส์ โดยใช้ความรู้ประการณ์เพื่อช่วยในการวางแผน โดยกำหนดกฎเกณฑ์ที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งจะประกอบด้วย ตัวแบบสัมประสิทธิ์การจัดการ และการวางแผนการผลิตแบบพาราเมตริก