งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร
ผศ. ดร. ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 Lecture 1: ขอบเขตเนื้อหา
คำนิยามการวัดสมรรถภาพ วิธีการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มสมรรถภาพของหน่วยผลิต ความสำคัญของการวัดสมรรถภาพและปัจจัยต่างๆ

3 บทนำการวัดสมรรถภาพ สมรรถภาพ (performance) ของหน่วยผลิต (firms) หมายถึง การศึกษาถึงความสามารถของหน่วยผลิตในการแปรรูปปัจจัยการผลิต (inputs) ไปเป็นผลผลิต (outputs) ภายใต้การใช้เทคโนโลยี (technology) ต่างๆในกระบวนการผลิต การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตเป็นแนวคิดเชิงสัมพัทธ์ (relative concept) นั่นคือ วัดโดยสัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตนั้นๆ ณ จุดเวลาที่เปรียบเทียบต่างกัน หรือสัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตอื่นๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ณ จุดเวลาที่เปรียบเทียบเดียวกัน

4 ตัวอย่าง การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร A ในปี 2546 สัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร A ในปี 2545 การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร A ในปี 2546 สัมพัทธ์กับสมรรถภาพของหน่วยผลิตสินค้าเกษตร B ในปี 2546

5 วิธีการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต
การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตสามารถวัดได้โดยการคำนวณหาอัตราส่วนของการเพิ่มผลผลิต (ratio of productivity) การเพิ่มผลผลิต (productivity) หมายถึง อัตราส่วนของปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ต่อปริมาณปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตของหน่วยผลิตนั้นๆ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิต (productivity) = ปริมาณผลผลิต (outputs) ปริมาณปัจจัยการผลิต (inputs) ถ้ามีค่ามากกว่าหนึ่ง หมายถึง การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างก้าวหน้า (productivity progress) แต่ถ้ามีค่าน้อยกว่าหนึ่ง หมายถึง การเพิ่มผลผลิตเป็นไปอย่างถดถอย (productivity regress)

6 ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิต 2 ราย ในปี 2549 แสดงในตารางดังนี้ ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิตรายหนึ่ง ระหว่างปี แสดงในตารางดังนี้ Farm y x y/x A 100 25 100/25 = 4 B 200 200/100 = 2 year y x y/x 2548 200 50 200/50 = 4 2549 300 100 300/100 = 3

7 การเพิ่มผลผลิต (productivity)
ถ้ากระบวนการผลิตประกอบไปด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตจำนวนมากกว่าหนึ่งชนิด การวัดการเพิ่มผลผลิตจะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การวัดสามารถทำได้โดยการรวมปัจจัยการผลิตหรือผลผลิตทั้งหมดให้เป็นตัวเลขดัชนี (index number) เพียงตัวเดียว จากนั้นการเพิ่มผลผลิตสามารถคำนวณหาได้จากอัตราส่วนของดัชนีผลผลิต (output index) ต่อดัชนีปัจจัยการผลิต (input index) การเพิ่มผลผลิตที่วัดได้นี้จะหมายถึงการเพิ่มผลผลิตของปัจจัยการผลิตรวม (total factor productivity) ซึ่งหมายถึงการเพิ่มผลผลิตของกระบวนการผลิตที่ประกอบไปด้วยผลผลิตและปัจจัยการผลิตจำนวนมากกว่าหนึ่งชนิด

8 ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิต 2 ราย ในปี 2549 แสดงในตารางดังนี้ Farm y x1 x2 x3 x y/x A 100 60 50 40 (1/3)( ) = 50 100/50 = 2 B 180 30 (1/3)( ) = 60 180/60 = 3

9 ตัวอย่าง ข้อมูลทางด้านการผลิตข้าวที่ประกอบไปด้วยผลผลิต (y) และปัจจัยการผลิต (x) ของผู้ผลิต 2 ราย ในปี 2549 แสดงในตารางดังนี้ Farm y1 y2 x1 x2 x3 y x y/x A 100 200 60 50 40 (1/2)( ) = 150 (1/3)( ) = 50 150/50 = 3 B 180 30 (1/2)( ) = 180 (1/3)( ) = 60 180/60

10 วิธีอื่นๆที่ใช้ในการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต
วิธีการวัดอื่นๆที่นำมาใช้เพื่อศึกษาถึงสมรรถภาพของหน่วยผลิตคือการวัดประสิทธิภาพ (efficiency) ของหน่วยผลิต ในทางปฏิบัติ ได้มีผู้นำการวัดทั้งสองวิธีมาใช้แทนที่ซึ่งกันและกัน แต่ตามหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นการวัดทั้งสองวิธีนี้จะมีความแตกต่างกัน ประสิทธิภาพ (efficiency) ของหน่วยผลิต วัดได้จากเส้นที่ใช้เป็นตัวแทนของเทคโนโลยีในการผลิต หรือที่เรียกว่า เส้นพรมแดนการผลิต (production frontier)

11 การวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency)
พิจารณากระบวนการผลิตที่ประกอบด้วยปัจจัยการผลิตและผลผลิตจำนวน 1 ชนิด เส้น OF’ แสดงถึงปริมาณของผลผลิตมากที่สุดที่สามารถผลิตได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตที่ระดับต่างๆภายใต้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น เส้น OF’ เรียกว่า เส้นพรมแดนการผลิต ผู้ผลิตจำนวน 3 ราย นั่นคือ A, B และ C มีการผลิตดังรูป ผู้ผลิต A ทำการผลิตอยู่ภายใต้เส้น OF’ ในขณะที่ผู้ผลิต A และ B ทำการผลิตอยู่บนเส้น OF’ ผู้ผลิต B และ C มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) ผู้ผลิต A ไม่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical inefficiency) ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคสามารถวัดได้จากการวัดอัตราส่วนของระยะทาง OA/OB หรือ OC/OA

12 ความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและการเพิ่มผลผลิต
จากรูป หน่วยผลิต A อยู่ภายใต้เส้นพรมแดนการผลิต OF’ แสดงว่า หน่วยผลิต A ไม่มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical inefficiency) หน่วยผลิต B และ C อยู่บนเส้นพรมแดนการผลิต OF’ แสดงว่า หน่วยผลิต B และ C มีประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) หน่วยผลิต C มีค่าการเพิ่มผลผลิตมากที่สุดและมีค่ามากกว่าหน่วยผลิต A และ B จุด C คือ จุดที่หน่วยผลิตมีขนาดที่เหมาะที่สุดเชิงเทคนิค (technically optimal scale) หรือหมายถึง จุดที่แสดงการประหยัดอันเกิดจากการขยายขนาดการผลิต (scale economies)

13 ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิต
การวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิตที่ไม่มีระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตจะประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) ของผู้ผลิต และความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดการประหยัดอันเนื่องมาจากการขยายขนาดการผลิต (scale economies) ถ้าหากกระบวนการผลิตเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งช่วงเวลา ปัจจัยอีกประการที่สามารถส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตแก่ผู้ผลิต ปัจจัยดังกล่าวคือความสามารถในการผลิตสินค้าต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากเทคโนโลยี (technical change) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (technical change) หมายถึง ความสามารถของหน่วยผลิตในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณสูงขึ้น

14 การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (technical change)
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสามารถอธิบายได้จากการเลื่อนสูงขึ้นของเส้นพรมแดนการผลิต ถ้าหน่วยผลิตทุกรายในอุตสาหกรรมสามารถผลิตสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดิม กระบวนการผลิตดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยผลิตมีความก้าวหน้าเชิงเทคโนโลยี (technical progress) ในการผลิต

15 ความสำคัญของการวัดสมรรถภาพและปัจจัยต่างๆ
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆที่สำคัญ อันได้แก่ 1. ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเทคนิค (technical efficiency) 2. ความสามารถในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดการประหยัดอันเนื่องมาจากการขยายขนาดการผลิต (scale economies) 3. ความสามารถในการผลิตสินค้าต่อการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากเทคโนโลยี (technical change) ปัจจัยต่างๆดังกล่าวนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายของรัฐในการออกแบบเชิงนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ

16 ปัจจัยที่ใช้กำหนดวิธีในการวัดสมรรถภาพของหน่วยผลิต
ข้อจำกัดของข้อมูลที่สามารถจัดหาได้ ตัวอย่างเช่น บางวิธีต้องการข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของปัจจัยการผลิตและผลผลิตที่ใช้เท่านั้น ในขณะที่บางวิธีต้องการข้อมูลทั้งทางด้านราคาและปริมาณของทั้งปัจจัยการผลิตและผลผลิต ข้อสมมติฐานที่กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของเทคโนโลยีการผลิต (production technology) เช่น รูปแบบของฟังก์ชัน Cobb Douglas, Quadratic, Tranlog 3. ข้อสมมติฐานเชิงพฤติกรรม (behavioral assumption) ทางเศรษฐศาสตร์ของหน่วยผลิต เช่น หน่วยผลิตต้องการกำไรสูงสุด (profit maximization) หน่วยผลิตต้องการต้นทุนต่ำสุด (cost minimization) หน่วยผลิตต้องการรายรับสูงสุด (revenue maximization) เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt หลักสูตรอบรม การวัดประสิทธิภาพและผลิตภาพของการผลิตสินค้าเกษตร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google