กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 230 หมายถึง เอกสารที่จัดทำโดยผู้สอบบัญชีและเพื่อผู้สอบบัญชีหรือเอกสารที่ผู้สอบบัญชีได้รับและเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี อาจจะอยู่ในรูปของข้อมูลบนกระดาษ แผ่นฟิล์ม สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นๆ
ประเภทของกระดาษทำการ กระดาษทำการที่ผู้ตรวจสอบจัดทำขึ้นเอง กระดาษทำการที่จัดทำโดยลูกค้า กระดาษทำการที่ผู้ตรวจสอบได้รับจากบุคคลภายนอก
วัตถุประสงค์ในการจัดทำกระดาษทำการ ช่วยในการวางแผนและปฏิบัติงานการสอบบัญชี ช่วยในการควบคุมดูแล และสอบทานงานสอบบัญชี บันทึกหลักฐานที่ได้รับจากการปฎิบัติงานตรวจสอบ เพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็นของผู้สอบบัญชี
กระดาษทำการของผู้ตรวจสอบ ควรมีสาระสำคัญ ดังนี้ ชื่อบริษัทที่ทำการตรวจสอบ โครงการตรวจสอบและรหัสงานตรวจสอบ ชื่อกระดาษทำการ รอบบัญชีที่ทำการตรวจ วัตถุประสงค์ในการจัดทำ
กระดาษทำการของผู้ตรวจสอบ ควรมีสาระสำคัญ ดังนี้ (ต่อ) วิธีการตรวจสอบที่ใช้ รหัสกระดาษทำการ ชื่อผู้จัดทำและวันที่จัดทำ ชื่อผู้สอบทานและวันที่สอบทาน สรุปผลการตรวจสอบและข้อสังเกตอื่นที่พบจากการตรวจสอบ
รูปแบบและเนื้อหาของกระดาษทำการ ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของการรับงาน รูปแบบของรายงานของผู้สอบบัญชี ลักษณะและความซับซ้อนของธุรกิจ ลักษณะและสภาพของระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในของกิจการ การใช้กระดาษทำการเพื่อประโยชน์ในการสั่งการ การควบคุมดูแลและการสอบทานงานที่ทำโดยผู้ช่วยผู้สอบบัญชี วิธีการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบ
การรวบรวมกระดาษทำการ ผู้ตรวจสอบควรรวบรวมกระดาษทำการทั้งหมดไว้ในแฟ้มให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง โดยแยกเก็บไว้ในแฟ้ม 2 ประเภท คือ 1. แฟ้มถาวร 2. แฟ้มปัจจุบัน
แฟ้มถาวร หมายถึง แฟ้มที่รวบรวมกระดาษทำการที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบบริษัทตลอดไป ผังการจัดองค์การ การแบ่งสายงาน และนโยบายการบริหารและการดำเนินงาน สัญญาต่างๆ ของบริษัท ระบบบัญชีและนโยบายการบัญชี ฯลฯ
แฟ้มปัจจุบัน หมายถึง แฟ้มที่รวบรวมกระดาษทำการที่เป็นข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสอบบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียว แบบสอบถามการควบคุมภายในที่ได้รับกลับ หนังสือยืนยันยอดกับธนาคาร ลูกหนี้และเจ้าหนี้ กระดาษทำการวิเคราะห์และพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือตามบัญชี
การเก็บรักษากระดาษทำการ จะต้องเก็บกระดาษทำการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและข้อกำหนดของวิชาชีพ กล่าวคือ ผู้สอบบัญชีควรนำวิธีการที่เหมาะสมมาใช้ เพื่อรักษาข้อมูลในกระดาษทำการไว้เป็นความลับและเก็บรักษากระดาษทำการอย่างปลอดภัย ตลอดจนควรเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลาที่เพียงพอกับความต้องการในการปฏิบัติงาน
กรรมสิทธิ์ของกระดาษทำการ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีอาจให้กิจการใช้ประโยชน์จากกระดาษทำการบางส่วนหรือบางตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชี แต่กระดาษทำการไม่อาจทดแทนเอกสารหลักฐานทางบัญชีของกิจการได้