การกรอกแบบรายงานผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยง โดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมสรรพสามิต
ขั้นตอนในการกรอกรายงานผลฯ ระบุเดือนที่รายงานผลฯ หน่วยงาน และชื่อแผนบริหารความเสี่ยง ระบุผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่างๆ ระบุเกณฑ์ความเสี่ยง ระบุปัจจัยเสี่ยงและการควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระบุสาเหตุที่ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมทั้งแผนการปรับปรุงให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย (หากมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมาย) ลงชื่อผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยงานลงชื่อรับทราบ
1. ระบุเดือนที่รายงานผลฯ หน่วยงาน และชื่อแผนฯ ให้หน่วยงานระบุ - เดือนที่รายงานผลการดำเนินงาน ชื่อหน่วยงาน ชื่อแผนบริหารความเสี่ยง
2. ระบุผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่างๆ 1 2 3 = (ผล – เป้า) X 100 เป้า ให้หน่วยงานระบุผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแต่ละแผน ช่องที่ 1 ให้ระบุผลการดำเนินงานในเดือนปัจจุบัน ช่องที่ 2 ให้ระบุเป้าหมายที่หน่วยงานได้กำหนดไว้ในแต่ละเดือน ช่องที่ 3 นำผลการดำเนินงานกับเป้าหมายมาเปรียบเทียบกัน
3. ระบุเกณฑ์ความเสี่ยง ให้หน่วยงานระบุ ตัวชี้วัดในแต่ละแผนบริหารความเสี่ยง ให้ระบุเกณฑ์ความเสี่ยง โดยวิเคราะห์จากโอกาสเกิดและผลกระทบ
3.1 การคิดคะแนนโอกาสเกิด (Likelihood) พิจารณาจากผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด เช่นแผนควบคุมการจัดเก็บภาษีสุราชุมชน ตัวชี้วัดคือผลการจัดเก็บภาษีสุราชุมชนดังนั้นจะนับความถี่ในการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต.ค. 51 พ.ย. 51 ธ.ค. 51 ม.ค. 52 ผลการดำเนินการ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นไปตามเป้าหมาย จำนวนครั้งที่ไม่สามารถดำเนินการตามเป้าหมาย 1 ครั้ง 2 ครั้ง - (ไม่นับ) 3 ครั้ง ค่าคะแนนโอกาสเกิด น้อยมาก = 1 คะแนน น้อย = 2 คะแนน น้อยมาก = 3 คะแนน
3.2 การคิดคะแนนผลกระทบ (Impacts) = (ผล – เป้า) X 100 เป้า สำหรับค่าผลกระทบนั้น คิดจากช่องร้อยละเปรียบเทียบ ในแต่ละตัวชี้วัดนั่นเอง จากนั้น นำค่าร้อยละมาเปรียบเทียบระดับคะแนนในตารางผลกระทบ
3.2 การคิดคะแนนผลกระทบ (Impacts) (ต่อ) ต.ค. 51 พ.ย. 51 ธ.ค. 51 ม.ค. 52 ผลการจัดเก็บภาษีสุราชุมชน 880 650 1200 400 เป้าหมาย 1000 ร้อยละเปรียบเทียบกับเป้าหมาย -12.00 % -35.00 % +20.00 % -60.00 % ค่าคะแนนผลกระทบ น้อย = 2 คะแนน ปานกลาง = 3 คะแนน น้อยมาก = 1 คะแนน สูงมาก = 5 คะแนน
3.3 การกรอกเกณฑ์ความเสี่ยงในตาราง Risk Matrix ต.ค. 51 พ.ย. 51 ธ.ค. 51 ม.ค. 52 ค่าคะแนนโอกาสเกิด 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน ค่าคะแนนผลกระทบ 5 คะแนน เกณฑ์ความเสี่ยง 1 X 2 = 2 2 X 3 = 6 1 X 1 = 1 3 X 5 = 15 ระดับความเสี่ยง น้อยมาก ปานกลาง สูงมาก
4. ระบุปัจจัยเสี่ยงและการควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบัน หน่วยงานจะต้องระบุปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบันของในแต่ละปัจจัยเสี่ยงด้วย
5. ระบุสาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมทั้งแผนการปรับปรุงฯ (กรณีต่ำกว่าเป้าฯ) หากหน่วยงานมีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือมีร้อยละเปรียบเทียบกับเป้าหมายเป็น ลบนั้น ให้ระบุสาเหตุที่ทำให้การดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้วย
6. ลงชื่อผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยงานลงชื่อรับทราบ ในการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงทุกครั้ง หัวหน้าหน่วยงานจะต้องรับทราบผลการรายงานก่อน ที่จะส่งให้ กพร. ทุกครั้ง
การกรอกแบบรายงานผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยง จบการบรรยาย การกรอกแบบรายงานผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยง โดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมสรรพสามิต (11 สิงหาคม 2552)