การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่ง ไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น
ความหมายของการนำรายชื่อฯ กรมฯ มีตำแหน่งว่างต้องการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการจากผู้สอบแข่งขันได้วุฒิใด จะแจ้งความประสงค์ขอให้ ก.พ. ส่งผู้สอบแข่งขันได้จากบัญชี ผู้สอบแข่งขันได้ที่ ก.พ. ได้ดำเนินการสอบแข่งขันและขึ้นบัญชีไว้ หาก ก.พ. ไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้วุฒิที่กรมฯ ต้องการ เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็ว ประหยัด โดยยังคงความเป็นมาตรฐานและความเป็นธรรม ก.พ. อาจอนุมัติให้ใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของส่วนราชการอื่นที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันมาบรรจุโดยวิธีการนำรายชื่อได้
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4 / ว 15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 เรื่อง หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดำเนินการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบ แข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น การยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ 2. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0502 / ว 68 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 เรื่อง การจ่ายเงินรางวัลเกี่ยวกับการสอบ
ขั้นตอนการดำเนินการ 1. รับเรื่อง จากต้นสังกัดเจ้าของตำแหน่งที่ประสงค์จะขอข้าราชการ จาก ก.พ. มาบรรจุในตำแหน่งว่าง 2. สงวนตำแหน่งและตรวจสอบอัตราเงินเดือน 3. จัดทำบันทึกขอความเห็นชอบกรมฯ ในการใช้ตำแหน่งว่าง
4. จัดทำหนังสือถึง ก.พ. เพื่อขอตัวผู้สอบแข่งขันได้ไปรับการบรรจุเข้ารับราชการ 5. เมื่อ ก.พ. อนุมัติให้นำรายชื่อฯ แล้ว จะทำหนังสือถึงส่วนราชการเจ้าของบัญชีเพื่อขอชื่อ ที่อยู่ ของผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งยังไม่ได้รับการบรรจุมาสมัคร เข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง
ประกอบด้วยข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 5 ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยให้หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นเจ้าตำแหน่งเป็นประธาน หัวหน้าฝ่ายสรรหาฯ เป็นเลขานุการ และจะต้องแต่งตั้งผู้แทน ก.พ. เป็นกรรมการร่วมด้วย อย่างน้อย 1 คน 6. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการนำรายชื่อ
7. ประชุมคณะกรรมการนำรายชื่อฯ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง (จำนวนตำแหน่งว่าง , หน่วยงานที่จะบรรจุ กำหนดวิธีการประเมินจะใช้วิธีใด (การสอบข้อเขียน หรือการสอบสัมภาษณ์) เกณฑ์การตัดสิน กำหนดวัน เวลา และสถานที่รับสมัคร และกำหนดวัน เวลา และสถานที่จะประเมิน รายละเอียดที่จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินทราบ เกี่ยวกับลักษณะงาน ที่ต้องปฏิบัติ
ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 วัน 8. จัดทำหนังสือถึงผู้สอบแข่งขันได้ 9. ดำเนินการรับสมัคร ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 10. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการ ประเมิน กำหนดวัน เวลา และสถานที่ สอบ ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ
11. ดำเนินการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน หรือการสัมภาษณ์ หลักเกณฑ์การให้คะแนน ผู้ผ่านการประเมินจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 12. จัดทำประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ฯ โดยเรียงตามลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงลงมาตามลำดับ
13. จัดทำรายงานผลการประเมินความเหมาะสม กับตำแหน่งไป ก. พ 13. จัดทำรายงานผลการประเมินความเหมาะสม กับตำแหน่งไป ก.พ. และส่วนราชการเจ้าของ บัญชี ภายใน 5 วันทำการ 14. เบิกเงินรางวัลกรรมการ เป็นรางวัลเกี่ยวกับการสอบระดับ 3 -5 ในอัตรา 4 บาท ต่อผู้เข้าสอบ 1 คน (ถ้าได้รับไม่ถึง 300 บาท ให้ได้รับ 300 บาท)
การนำรายชื่อ 1. รับเรื่อง 2. สงวนตำแหน่งและตรวจสอบอัตราเงินเดือน 3. จัดทำบันทึกขอความเห็นชอบกรมฯ ในการใช้ตำแหน่งว่าง
6. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการนำรายชื่อ 4. จัดทำหนังสือถึง ก.พ. เพื่อขอตัวผู้สอบแข่งขันได้ไปรับการบรรจุ 5. เมื่อ ก.พ. อนุมัติให้นำรายชื่อแล้ว จะทำหนังสือถึงส่วนราชการเจ้าของบัญชี เพื่อขอชื่อ ที่อยู่ของผู้สอบแข่งขันได้ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุมาสมัครเข้ารับการประเมิน 6. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการนำรายชื่อ
7. ประชุมคณะกรรมการดำเนินการนำรายชื่อฯ 8. จัดทำหนังสือถึงผู้สอบแข่งขันได้ 9. ดำเนินการรับสมัคร 10. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบ
11. ดำเนินการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง 12. จัดทำประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ 13. รายงานผลการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งไป ก.พ. และส่วนราชการเจ้าของบัญชี 14. เบิกเงินรางวัลกรรมการ