ความร่วมมือในการพัฒนาทุนมนุษย์ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
ความเป็นมา ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2547 ให้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลักเพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวงการต่างประเทศโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินงานสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 74 ที่ได้บัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมความสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ โดยถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคและมุ่งหวังในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนและสามารถเพิ่งพาตนเองได้
อำนาจหน้าที่ สพร. จัดทำแผน ศึกษา วิเคราะห์นโยบาย ดำเนินโครงการ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานความร่วมมือ บริหารการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ ร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาทั้งทวิภาคี และพหุภาคี บริหารความร่วมมือด้านทุนกับต่างประเทศ ประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้และผลงานการพัฒนา อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
ภารกิจหลักในการบริหารงานความร่วมมือฯ ของ สพร. ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาต่างๆ หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือและความตกลงระหว่างประเทศทั้งในระดับ ทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ อำนวยสิทธิพิเศษและพัสดุโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา การบริหารงานให้ความช่วยเหลือหรือความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับต่างประเทศนั้น ประกอบด้วย 4 ภารกิจหลัก คือ การบริหารงานให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ การบริหารงานหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือและความตกลงระหว่างประเทศทั้งในระดับ ทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ การอำนวยสิทธิพิเศษและพัสดุโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ภารกิจทั้งสี่ข้างต้นจะช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือของภูมิภาคและประสานการลงทุนของภาคเอกชนในต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการในระดับภูมิภาคให้กับหน่วยงานไทยเพื่อความร่วมมือกับต่างประเทศบนพื้นฐานเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy - KBE) สู่การพัฒนาแบบยั่งยืน
รูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ระหว่างประเทศ รูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ระหว่างประเทศ ความร่วมมือแบบทวิภาคี (ในและนอกโครงการ) ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ประเทศที่สาม หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี หลักสูตรศึกษาหลังปริญญาตรีนานาชาติ อาสาสมัครเพื่อนไทย (Friends from Thailand) กิจกรรมภายใต้ภารกิจหลักของ สพร. ประกอบด้วยโครงการเพื่อการพัฒนา การให้ทุนการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานในประเทศไทย การให้วัสดุอุปกรณ์ การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยีในประเทศคู่ร่วมมือ และการส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยจะดำเนินการในรูปแบบความร่วมมือต่างๆ ดังต่อไปนี้ 6.1 โครงการความร่วมมือแบบทวิภาคี (Bilateral Programme) เป็นการให้ความร่วมมือระหว่างสองรัฐบาล ซึ่งไทยให้ความร่วมมือแก่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งในรูปโครงการและนอกโครงการ ความร่วมมือในโครงการประกอบด้วยการให้งบประมาณสำหรับการก่อสร้าง ผู้เชี่ยวชาญ วัสดุอุปกรณ์ การให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม/ดูงาน สำหรับความร่วมมือนอกโครงการ ส่วนใหญ่เป็นการให้ทุนศึกษาฝึกอบรมและดูงาน อันเป็นผลจากการประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปี การประชุมคณะกรรมธิการร่วม (JC) และข้อตกลงทวิภาคีระหว่างกัน เป็นต้น 6.2 โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries Programme – TCDC) เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ ในรูปของการแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่เพื่อการฝึกอบรม/ดูงาน และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าประเทศที่ขอหรือส่งเจ้าหน้าที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศ (International Cost) ในขณะที่ประเทศเจ้าภาพจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศ (Local Cost) 6.3 การจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ประเทศที่สาม (Third Country Training Programme - TCTP) สพร. ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น UNDP WHO ILO เป็นต้น ในการจัดรายการฝึกอบรมให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศต่างๆ มาศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ในประเทศไทย โดยแหล่งผู้ให้ (Donors) เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด 6.4 โครงการหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses Programme – AITC) เป็นความร่วมมือระหว่าง สพร. กับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาของไทยใน การจัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ซึ่งไทยจะแจ้งเวียนหลักสูตรไปยังประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ประมาณ 80 ประเทศทั่วโลกผ่านทาง สอท. หรือ สกญ. ณ ประเทศนั้น 6.5 การจัดหลักสูตรศึกษาหลังปริญญาตรีนานาชาติ (Thai International Postgraduate Programme - TIPP) ซึ่งรัฐบาลไทย โดย สพร. ให้ทุนแก่เจ้าหน้าที่ต่างประเทศเพื่อมาศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติในสถาบันการศึกษาของไทย โดยรัฐบาลไทยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในระยะแรกให้ทุนแก่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก และในปี พ.ศ. 2545 เริ่มให้ทุนแก่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้เพิ่มขึ้น 6.6 การดำเนินงานอาสาสมัครเพื่อนไทย (Friend from Thailand) เป็นการขยายความร่วมมือในอีกรูปแบบหนึ่งโดยจัดส่งอาสาสมัครไทยไปปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน ในระยะเริ่มแรกเป็นการปฏิบัติงานด้านการสอนภาษาไทย ทั้งนี้ ในอนาคตต่อไปจะขยายสู่สาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศคู่ร่วมมือให้มากยิ่งขึ้น เช่นการพัฒนาชุมชน และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ศูนย์กลางของการพัฒนา “คน” ศูนย์กลางของการพัฒนา สภาพัฒน์ฯ ได้ให้ความสำคัญเรื่อง “คน” เป็นอย่างยิ่งและใช้เป็นหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยในแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ 9 และ10 โดยถือเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม เนื่องจากการพัฒนาคนเป็นจุดเริ่มต้นของความเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่าการพัฒนาด้านวัตถุหรือเทคโนโลยีอื่น ๆ สพร. ได้สอดแทรกการดำเนินงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกภารกิจหลักของสพร. โดยยึดหลักยุทธศาสตร์การพัฒนา “คน” ของสภาพัฒน์ฯ มาเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานเนื่องจากได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนหรือบุคลากรของประเทศกำลังพัฒนา ว่า “คนย่อมเป็นรากฐานของการพัฒนา” จึงได้เน้นเรื่องการยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรทั้งในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาที่ไทยให้ความช่วยเหลือเพื่อให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาแล้วสามารถใช้ความรู้ความสามารถไปประยุกด์ใช้ในการพัฒนาทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและสามารถนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ในแต่ละประเทศต่อไปได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเพื่อนบ้านจึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในประเทศผู้รับมีขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศผู้รับได้ในระยะยาว
ไทยเป็น Hub ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Thailand = Hub of HRD) ปัจจุบันได้จัดสรรทุนศึกษาให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ประมาณปีละ 100 ทุน ซึ่งนับว่าไม่มากหากเทียบกับบทบาทที่ประเทศไทยคาดหวังและต้องการที่จะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคและ อนุภูมิภาค ในอนาคตจะต้องเพิ่มปริมาณทุนศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานอีก 2 - 3 เท่าของที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นประเทศเป้าหมายได้แสดงความต้องการเข้ามาเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยเนื่องจากเห็นผลกระทบสูงในการนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตนเอง ซึ่งใช้งบประมาณไม่มากแต่ให้ผลกระทบเชิงบวกสูงอย่างแน่นอน โดยเป็นสถานที่จัดการฝึกอบรมในแบบครบวงจร เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ส่งเสริมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ด้านการฝึกอบรมนานาชาติให้แก่ต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทั้งในประเทศผู้รับความช่วยเหลือและการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในสถาบันไทยต่าง ๆ ที่ร่วมสนับสนุนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับกระทรวงการต่างประเทศ (เช่น ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและความพร้อมในการปฏิบัติงานในต่างประเทศ) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในระดับนานาชาติและอย่างมืออาชีพ รวมทั้งการกำหนดมาตรการจูงใจให้บุคคลากรไทยสนใจไปทำงานความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้นต่อไป ไทยเป็น Hub ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Thailand = Hub of HRD)
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ สพร. (2547 – 2549) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ สพร. (2547 – 2549) ทุนศึกษา/ฝึกอบรม แก่ประเทศกำลังพัฒนา งบประมาณของรัฐบาลไทย จำนวน 1,200 ทุน หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในการจัดฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา งบประมาณของรัฐบาลไทยและแหล่งความร่วมมือ จำนวน 230 ทุน ความร่วมมือด้านทุนจากแหล่งความร่วมมือต่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรไทย จำนวน 2200 ทุน ในภาพรวม สพร. มีการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการให้ทุนศึกษาฝึกอบรมแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านและในประเทศไทยเอง โดยแบ่งลักษณะของความร่วมมือตามแหล่งงบประมาณ ใน ปี 2547-2549 ใน 3 ลักษณะ ดังนี้ รายละเอียดปรากฏตาม Slide
ภารกิจ : ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า เวียตนาม (ทวิภาคี ไตรภาคี) ดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับจีน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานความร่วมมือสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS และ GMS ภารกิจการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของ สพร. ประกอบด้วย 3 ภารกิจหลัก คือ การบริหารงานให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ สปป.ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม ทั้งแบบทวิภาคี และไตรภาคี โดยการสนับสนุนทุนศึกษา ทุนฝึกอบรม ทุนดูงาน ในโครงการ และนอกโครงการ การดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับ จีน โดยการแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่เพื่อ ศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันว่าประเทศที่ขอ หรือ ส่งเจ้าหน้าที่ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศ และประเทศเจ้าภาพ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศ การดำเนินงานความร่วมมือสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS และ GMS ACMECS เป็นกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถทางเศรษฐกิจที่หลากหลายของประเทศสมาชิกทั้ง 4 ประเทศ มาเสริมการพัฒนาร่วมกันอย่างสมดุล ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน และเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสการจ้างงาน และลดความแตกต่างของรายได้ของประชาชนใน 5 ประเทศ ภารกิจข้างต้นจะช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือของภูมิภาคและประสานการลงทุนของภาคเอกชนในต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการในระดับภูมิภาคให้กับหน่วยงานไทยเพื่อความร่วมมือกับต่างประเทศบนพื้นฐานเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy - KBE) สู่การพัฒนาแบบยั่งยืน
รูปแบบการให้ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในอนุภูมิภาค ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ตามความต้องการ(ในและนอกโครงการ) ทุนศึกษาระดับหลังปริญญาตรี (นานาชาติ) ทุนฝึกอบรมประจำปี (นานาชาติ) ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (ไตรภาคี) การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาค จะมีรูปแบบ ดังนี้ .1 ทุนการศึกษา ฝึกอบรม/ดูงาน ตามความต้องการ อันเป็นผลจากการประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปี การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) และข้อตกลงทวิภาคีระหว่างกัน สำหรับทุนภายใต้โครงการ จะพิจารณาตามความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน แนวทาง/การดำเนินงานที่รัฐบาลไทยได้เข้าไปพัฒนา ยังคงได้รับการสานต่อจากประเทศต่าง ๆ ด้วยบุคลากรของประเทศ นั้น ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ทุนศึกษาระดับหลังปริญญาตรีนานาชาติ (Thai International Postgraduate Programme - TIPP) ซึ่งรัฐบาลไทย โดย สพร. ให้ทุนแก่เจ้าหน้าที่จากประเทศต่าง ๆเพื่อมาศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรนานาชาติในสถาบันการศึกษาของไทย โดยรัฐบาลไทยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในระยะแรกให้ทุนแก่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก และในปี พ.ศ. 2545 เริ่มให้ทุนแก่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้เพิ่มขึ้น 3. ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Courses Programme – AITC) เป็นความร่วมมือระหว่าง สพร. กับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาของไทยใน การจัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ซึ่งไทยจะแจ้งเวียนหลักสูตรไปยังประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ประมาณ 80 ประเทศทั่วโลกผ่านทาง สอท. หรือ สกญ. ณ ประเทศนั้น 4.ทุนฝึกอบรมไตรภาคี เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดย สพร. กับ รัฐบาลต่างประเทศ และ องค์การระหว่างประเทศ จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศในอนุภูมิภาคมาศึกษา/ ฝึกอบรม/ดูงานในประเทศไทย โดยร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ทุนการศึกษาตามความต้องการของกัมพูชา ทุนหลักสูตรศึกษาหลังปริญญาตรีนานาชาติ* จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 50 100 150 200 250 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2 4 6 8 10 12 14 16 2 4 6 8 10 12 14 16 18 2546 2547 2548 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 3.0 3.5 4.0 * เริ่มดำเนินงาน ปี 2546 ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ทุนฝึกอบรมไตรภาคี จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 10 20 30 40 50 60 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 3.0 3.5 4.0 4.5 5.0 10 20 30 40 50 60 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 0.2 0.4 0.6 0.8 1.0 1.2 1.4 1.6 1.8 ข้อมูลความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2541 – 2548 ทุนการศึกษาตามความต้องการ รวม 816 คน มูลค่า 70 ล้านบาท ทุนการศึกษาหลักสูตรหลังปริญญาตรี สพร. ได้เริ่มดำเนินงานให้ทุนในลักษณะดังกล่าวในปี 2546 รวม 37 คน มูลค่า 7 ล้านบาท ทุนฝึกอบมหลักสูตรนานาชาติ รวม 377 คน มูลค่า 28 ล้านบาท ทุนฝึกอบรมไตรภาคี รวม 269 มูลค่า 8 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้แจกตารางสรุปมูลค่าการให้ความร่วมมือทางวิชาการของไทยกับประเทศเพื่อนให้ผู้รับฟังการบรรยายแล้ว
ทุนการศึกษาตามความต้องการของลาว ทุนหลักสูตรศึกษาหลังปริญญาตรีนานาชาติ* จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 100 200 300 400 500 600 700 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 10 20 30 40 50 60 70 80 90 2 4 6 8 10 12 2546 2547 2548 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 3.0 * เริ่มดำเนินงาน ปี 2546 ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ทุนฝึกอบรมไตรภาคี จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 10 20 30 40 50 60 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 6.0 50 1.2 45 ข้อมูลความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2541 – 2548 ทุนการศึกษาตามความต้องการ รวม 2,116 คน มูลค่า 300 ล้านบาท ทุนการศึกษาหลักสูตรหลังปริญญาตรี สพร. ได้เริ่มดำเนินงานให้ทุนในลักษณะดังกล่าวในปี 2546 รวม 22 คน มูลค่า 7 ล้านบาท ทุนฝึกอบมหลักสูตรนานาชาติ รวม 298 คน มูลค่า 24 ล้านบาท ทุนฝึกอบรมไตรภาคี รวม 256 มูลค่า 5 ล้านบาท 1.0 40 35 0.8 30 25 0.6 20 0.4 15 10 0.2 5 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
ทุนการศึกษาตามความต้องการของพม่า ทุนหลักสูตรศึกษาหลังปริญญาตรีนานาชาติ* จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 120 7.0 2 4 6 8 10 12 2546 2547 2548 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 3.0 * เริ่มดำเนินงาน ปี 2546 6.0 100 5.0 80 4.0 60 3.0 40 2.0 20 1.0 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ทุนฝึกอบรมไตรภาคี จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 10 20 30 40 50 60 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 6.0 50 1.2 ข้อมูลความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2541 – 2548 ทุนการศึกษาตามความต้องการ รวม 383 คน มูลค่า 23 ล้านบาท ทุนการศึกษาหลักสูตรหลังปริญญาตรี สพร. ได้เริ่มดำเนินงานให้ทุนในลักษณะดังกล่าวในปี 2546 รวม 23 คน มูลค่า 5 ล้านบาท ทุนฝึกอบมหลักสูตรนานาชาติ รวม 181 คน มูลค่า 12 ล้านบาท ทุนฝึกอบรมไตรภาคี รวม 167 มูลค่า 5 ล้านบาท 45 1.0 40 35 0.8 30 25 0.6 20 0.4 15 10 0.2 5 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
ทุนการศึกษาตามความต้องการของเวียดนาม ทุนหลักสูตรศึกษาหลังปริญญาตรีนานาชาติ* จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 20 40 60 80 100 120 140 160 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 6.0 7.0 2 4 6 8 10 12 2546 2547 2548 0.5 1.0 1.5 2.0 2.5 * เริ่มดำเนินงาน ปี 2546 ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี ทุนฝึกอบรมไตรภาคี จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนทุน (คน) มูลค่า (ล้านบาท) 5 10 15 20 25 30 35 40 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 6.0 80 3.5 ข้อมูลความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2541 – 2548 ทุนการศึกษาตามความต้องการ รวม 368 คน มูลค่า 26 ล้านบาท ทุนการศึกษาหลักสูตรหลังปริญญาตรี สพร. ได้เริ่มดำเนินงานให้ทุนในลักษณะดังกล่าวในปี 2546 รวม 27 คน มูลค่า 6 ล้านบาท ทุนฝึกอบมหลักสูตรนานาชาติ รวม 301 คน มูลค่า 25 ล้านบาท ทุนฝึกอบรมไตรภาคี รวม 254 มูลค่า 8 ล้านบาท 70 3.0 60 2.5 50 2.0 40 1.5 30 1.0 20 0.5 10 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไทย - จีน ปี 2548 ทุนแลกเปลี่ยน เพื่อฝึกอบรม กรอบทวิภาคี 49 คน ทุนฝึกอบรมหลักสูตรประจำปี 18 คน หลักสูตรไตรภาคี 15 คน การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ 28 คน การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบความร่วมมือ ACMECS ในช่วงปี 2548 -2549 ที่ สพร. ดำเนินการมีทั้งในรูปโครงการ และ ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ดังนี้
ความร่วมมือกรอบ ACMECS สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2548 - 2549 ทุนศึกษาระดับปริญญาโท/ เอก (กัมพูชา 11+1 คน ลาว 18+1 คน พม่า 3 คน) ทุนฝึกอบรม ดูงาน (กัมพูชา 10 หลักสูตร 57 คน ลาว 7 หลักสูตร 42 คน พม่า 6 หลักสูตร 36 คน) โครงการ (กัมพูชา 4 ลาว 1 โครงการร่วม 2) การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบความร่วมมือ ACMECS ในช่วงปี 2548 -2549 ที่ สพร. ดำเนินการมีทั้งในรูปโครงการ และ ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ดังนี้
สถานการณ์ปัจจุบัน แผนงาน – แผนเงิน 2. ต่างคนต่างทำ 2. ต่างคนต่างทำ 3. Absorptive Capacity แผนการปฏิบัติงานและแผนการจัดสรรงบประมาณยังไม่สอดคล้องกัน ในทุกขั้นตอนของการวางแผน และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานความร่วมมือควรจะต้องมีการวางแผนด้านงบประมาณควบคู่กันไปด้วยเสมอ จึงเป็นการจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management for Development Results) อย่างแท้จริง และจะต้องมีหน่วยงานที่ดูแลงบประมาณ เช่นสำนักงบประมาณเข้าร่วมการประชุมหารือเกี่ยวกับการวางแผนงานทุกวาระ เพื่อให้มีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ (Participation) เพื่อให้มีความเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในการใช้งบประมาณเพื่อการลงทุนด้านการพัฒนา การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยยังไม่มีเอกภาพ จะต้องประสานงานและปรึกษาหารือระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ กระทรวงการต่างประเทศจำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานไทยทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันจัดทำแผนการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในระดับชาติ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นหลักในการดำเนินงานที่สอดคล้องกันและมีทิศทางเดียวกัน(Harmonization) ในการให้ความร่วมมือแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ศักยภาพในการรับความร่วมมือของประเทศคู่ร่วมมือ (Absorptive capacity) มีการกำหนดกลยุทธ์หรือท่าทีให้เหมาะสมกับประเทศผู้รับความร่วมมือ ประเทศผู้รับต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนความร่วมมือและมีการพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ (Capacity building) ควบคู่ไปกับการดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อให้ประเทศผู้รับมีความรู้สึกในการเป็นเจ้าของโครงการ (Ownership) และสามารถที่จะดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้ด้วยตัวเอง
แนวทางความร่วมมือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือ นโยบายรัฐบาล สนองนโยบาย/ความต้องการเร่งด่วนของรัฐบาล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกรอบความร่วมมือ เสริมการดำเนินงานของสาขาอื่น ในกรอบความร่วมมือ ไม่ซ้ำซ้อน ตอบสนองความต้องการของผู้รับ ฝ่ายไทยมีความพร้อม คณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขึ้น เพื่อเป็นกลไกประสานและเสนอแนะนโยบาย มาตรการดำเนินโครงการพัฒนา ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยมี ผ.อ. สพร. เป็นประธานฯ คณะอนุกรรมการได้มีการประชุม 1 ครั้ง และได้เห็นชอบ หลักเกณฑ์/ แนวทางในการสนับสนุนกิจกรรม/โครงการ ความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้ ตาม slide 2. สพร.เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยควรแสวงหาแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบใหม่เพิ่มเติม เพื่อรองรับงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่เทียบชั้นกับประเทศผู้ให้อื่น ๆ และเหมาะสมกับสภาวะการณ์ปัจจุบันที่ต้องอาศัยเวทีต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยหวังว่า จะได้มีการหารือร่วมกันกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อไป - การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในการกำหนดเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาสำหรับสหัสวรรษใหม่นี้ ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ แสดงความสนใจในโครงการพัฒนาตามแนวพระ ราชดำริ ตลอดจนแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นควรผลักดันการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับนานาชาติ โดยการสอดแทรกในหัวข้อการศึกษา การฝึกอบรมและการดูงาน รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์สาธิต/หรือการจัดหาคู่รวมมือใน ประเทศผู้รับด้วยการจัดตั้งศูนย์กลางการเผยแพร่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งขณะนี้มีประเทศกำลังต่าง ๆ ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
จุดมุ่งหมายในการให้ความร่วมมือ ยกระดับความสามารถของบุคลากร ศูนย์กลางทางวิชาการของภูมิภาค ส่งเสริมการค้า การลงทุน ของไทย แก้ไขปัญหาตามแนวชายแดน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนา เสริมสร้างความสัมพันธ์ จุดมุ่งหมายในการให้ความร่วมมือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาค หรือ นโยบายในการให้ หรือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความร่วมมือวิชาการ คือ 1. เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากรทั้งของ ไทย และประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาค ที่ไทยให้ความร่วมมือ อันจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อย่างยั่งยืน 2. เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางวิชาการของภูมิภาค โดยการสร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการในระดับภูมิภาคให้กับหน่วยงานไทย และสถาบันการศึกษาของไทย ด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิชาการ ของไทย และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันและสถาบัน เพือเป็นการสร้างเครือข่ายและขยายควาทมร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือกับต่างประเทศบนพื้นฐานเศรษฐกิจความรู้ (Knowledge Based Economy) สู่การพัฒนาแบบยั่งยืน 3. เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนของไทย โดยการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนในการส่งิสริมการส่งสินค้าออก การขยายการลงทุน ของไทย 4.เพื่อให้ความร่วมมือนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ตามแนวชายแดนของไทย ที่มีการอพยพของประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้าน เกิดปัญหาด้านสาธารณสุข สังคม และความมั่นคงของประเทศ 5.เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและขจัดความยากจนอันจะนำไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษของประเทศในอนุภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค ภายใต้แนวคิดร่วมมือกันพัฒนาบนพื้นฐานของความเท่าเทียม 6. ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค และภูมิภาค ให้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
ขอบคุณ