ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ บทที่ 12 ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ ในการลงมือทำงานในแต่ละหน้าของเว็บนั้น เพื่อให้งานออกมาเป็นระเบียบและง่ายต่อการแก้ไข ควรที่จะจัดทำกรอบเพื่อครอบคลุมงานมิให้ออกนอกกรอบที่ได้สร้างไว้ ฉะนั้นก่อนที่จะลงมือทำเว็บแต่ละหน้าดังนี้ 1. เปิดไฟล์ที่ต้องการ 2. คลิกที่เมนู Modify 3. คลิกที่ Page Properties 4. กำหนดชื่อหน้าที่ช่อง Title/Encoding แล้วพิมพ์ชื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องในหน้าเว็บนั้น 5. กำหนด Left margin = 0 และกำหนด Top margin = 0 ที่ช่อง Appearance 6. คลิก OK 7. คลิกให้เคอร์เซอร์อยู่แถวแรกของหน้าเว็บ 8.คลิกที่รูปเครื่องมือ Insert Table
ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ 9. กำหนดค่าต่างๆ ดังนี้ R=5, C=1, W=780 Pixel, B=0, P=0, S=0 10. คลิก OK
ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ 11. คลิกให้เคอร์เซอร์อยู่ในตาราง 12. กด Enter ประมาณ 5 ครั้ง 13. คลิกที่เมนู File Save 14. ลงมือทำเว็บตามที่ออกแบบไว้ ก่อนลงมือทำเว็บ ควรที่จะสังเกตตำแหน่งของเคอร์เซอร์เสียก่อนว่าอยู่ตรงแถวที่จะปฏิบัติหรือไม่ ฉะนั้น งานทุกอย่างที่ได้ออกแบบจะได้อยู่ในกรอบตารางที่สร้างไว้ โดยจะไม่เกิน 1 หน้าจอในเรื่องของความกว้าง เพราะมิฉะนั้นแล้ว ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะต้องคอยเลื่อน Scroll bar เพราะงานล้นจอ การปฏิบัติตามวิธีนี้สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
การสร้างโฟล์เดอร์เพื่อเก็บงานต่างๆ การสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บงานการจัดทำเว็บไซต์ ควรแยกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพราะการจัดทำเว็บไซต์ที่มีข้อมูลจำนวนมาก ถ้าจัดเก็บโฟล์เดอร์เดียวจะช่วยป้องกันการสับสนของข้อมูลได้ เช่น
การสร้างโฟล์เดอร์เพื่อเก็บงานต่างๆ ไฟล์ index.html จะต้องอยู่ในโฟล์เดอร์ใหญ่ (ในที่นี้คือ Folder) ในโฟล์เดอร์ใหญ่จะประกอบไปด้วยโฟล์เดอร์ย่อยที่แยกเป็นหมวดหมู่ เช่น work, history และ image ซึ่งใช้เก็บรูปภาพทั้งหมดโดยเฉพาะ ในการออกแบบเว็บ ควรจะบันทึกรูปภาพไว้ในโฟล์เดอร์ image ให้เรียบร้อยก่อน เวลา Insert รูปภาพ จะได้ง่ายให้ไม่สับสนในการบันทึกรูปภาพ
การสร้างโฟล์เดอร์เพื่อเก็บงานต่างๆ
การสร้างโฟล์เดอร์เพื่อเก็บงานต่างๆ ในโฟล์เดอร์จะมีไฟล์ .html สำหรับเว็บเพจแต่ละหน้า การปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ จะช่วยให้การทำงานเป็นระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น
The End