หลักเกณฑ์การอ่านแผนที่ ครูโชคชัย บุตรครุธ
5.หลักเกณฑ์การอ่านแผนที่ การใช้แผนที่เพื่อประโยชน์ศึกษาข้อมูลต่างๆ ควรเริ่มต้นด้วยการอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจถูกต้องและชัดเจนเสียก่อน เช่น เข้าใจสัญลักษณ์ มาตรส่วน ทิศ และการเปรียบเทียบ ระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง เป็นต้น
6.การอ่านและแปลความหมาย 6.1 ชื่อของแผนที่ 6.2 มาตรส่วนแผนที่ (Map Scale) (1) มาตราส่วนตัวเลข หรือมาตราส่วนเศษส่วน เช่น 1 : 100,000 (2) มาตรส่วนเส้นบรรทัด (Bar Scale)
1 : 100,000
6.การอ่านและแปลความหมาย 6.3 ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่ ประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่าง ละติดจูด 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ - 20 องศาเหนือ 27 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก - 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก 6.4 เครื่องหมายชี้ทิศ (Direction)
6.การอ่านและแปลความหมาย 6.5 การใช้สัญลักษณ์ มี 3 ประเภทคือ (1) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางกายภาพ (2)สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม (3) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะเรื่อง
6.การอ่านและแปลความหมาย 6.6 การใช้สี (Color) ในแผนที่ภูมิประเทศนิยมใช้สีเป็นสัญลักษณ์แสดงข้อมูลของพื้นที่ เช่น สีน้ำเงิน (แหล่งน้ำ ) ,สีเขียว(พืชพันธุ์) , สีน้ำตาล (เทือกเขา หรือภูมิประเทศ) และสีแดงหรือดำ (ที่ตั้งของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ) เป็นต้น
6.การอ่านและแปลความหมาย 6.7 การวัดพื้นที่ในแผนที่ ใช้ 2 วิธี ดังนี้ (1) วิธีใช้ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยทำตารางสีเหลี่ยมจัตุรัสในแผ่นพลาสติกใส (2) วิธีใช้แถบยาว ใช้หลักการเดียวกับการใช้ตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยแถบยาวทุกแถบจะต้องมีขนาดความกว้างเท่ากัน แต่ขนาดความยาวไม่จำกัด
จบ