ขอความกรุณาแจ้ง รายละเอียดเกี่ยวกับ ระบบ conference และบุคลากรดูแล ระบบ ทางเว็บไซต์ สพท. ละ 2 ท่าน ทุกรายการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการ ติดต่อสื่อสาร
สรุปปัญหาที่เกิดจากการ ประชุม Video conference 1. การใช้งาน MCU เกินศักยภาพที่จะรับได้ ซึ่งเกิดจากสาเหตุดังนี้ - MCU มีอายุการใช้งานเกินกว่า 5 ปี ประสิทธิภาพจึงลดลง - มีบาง สพท. ที่ไม่ทราบห้องที่เข้าร่วม ประชุม ( มีประกาศให้ทราบในเว็บไซต์ และสำนักนโยบาย และแผน จึงไป เรียกเข้าห้องที่กำหนดไว้ใช้งานอย่างอื่น เช่น 811,812 และเมื่อเรียกเข้าไม่ได้ก็เรียก ซ้ำๆทำให้เกิด traffic กับ MCU จึง Down ไปส่วนหนึ่ง และทำให้ สพท. ส่วนหนึ่งที่ใช้ งานได้แล้วหลุดออกจากระบบ จึงรุมกัน เรียกซ้ำและพยายามไปเข้าห้องอื่นๆ ซึ่งเต็ม อยู่แล้วและเมื่อเข้าไม่ได้ก็ใช้วิธีเรียกซ้ำๆ เช่นกัน
สรุปปัญหาที่เกิดจากการ ประชุม Video conference 2. การใช้ Traffic อินเทอร์เน็ต สูงมาก ซึ่ง เกิดจากสาเหตุดังนี้ - มีผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดทาง อินเทอร์เน็ต เกินกว่า 1000 ราย ไม่ทราบ ว่า มาจากไหน ทำให้ถูกแบ่งปันความเร็วที่ใช้ อยู่กับ Video conference สพฐ. ประมาณ การผู้ใช้ในขณะประชุมน่าจะไม่เกิน จำนวน 185 สพท. ซึ่ง ส่วนที่เกินมา สพฐ. คาด การว่าอาจเกิดจาก มีผู้สนใจอื่นที่ไม่ใช่ กลุ่มเป้าหมายที่ทาง สพฐ. เชิญประชุม หรือบาง สพท. แจ้งให้ ผอ. โรงเรียนอื่นๆที่ สนใจ ชมการถ่ายทอดสด ( ด้วยความปารถ นาดี ) หรือบาง สพท. เปิดระบบทั้งคู่พร้อม กันคือ ทั้ง Video conference และ ถ่ายทอดสด โดยไม่ใช้วิธีการสำรองการ ถ่ายทอดสด เมื่อระบบ Video conference มี ปัญหา
สรุปปัญหาที่เกิดจากการ ประชุม Video conference 3. สาเหตุที่ทำให้ Video conference และการ ถ่ายทอดสดส่งสัญญาณภาพ ไปได้อย่าง เดียว ไม่สามารถส่งสัญญาณเสียงไปได้ เนื่องจาก ในขณะที่เกิดปัญหากับ MCU Down ไปบางส่วน การแก้ไขของเจ้าหน้าที่ ใน ช่วงนั้น ทำให้สายสัญญาณเสียง จาก กล้อง video conference ต่อเชื่อมไม่สนิท ระบบเสียงจึงหายไป ( ตรวจสอบพบภายหลัง จากเลิกประชุมแล้ว ) สาเหตุนี้ ทาง สพฐ. จะแก้ไขโดย แยกระบบ เสียงของ Video conference ออกจากระบบ เสียงของการถ่ายทอดสด
การขอความร่วมมือเพื่อป้องกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น 1. เตรียมพร้อมล่วงหน้าตามที่ สพฐ. นัดหมาย ในกรณี สพท. มีปัญหา เจ้าหน้าที่ จะได้ แนะนำวิธีการแก้ปัญหา ( หลายครั้งที่ เจ้าหน้าที่ ต้อง รับโทรศัพท์เพื่อ แก้ปัญหาของท่าน ที่ไม่เข้าร่วมทดสอบ ) 2. ติดตามรายละเอียดการประชุม ห้องที่ให้ เรียกเข้าประชุม จากเว็บไซต์ที่แจ้งข้างต้น ในแต่ละครั้งที่มีการนัดหมายการประชุม ซึ่งบางครั้งสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการต้องเปลี่ยนแปลงห้องที่เข้าใช้ ประชุมเนื่องจากต้องให้บริการหลาย หน่วยงานในกระทรวง 3. เรียกเข้าห้องประชุมที่กำหนดให้เท่านั้น ห้ามเรียกเข้าห้องอื่นๆ หากไม่สามารถเข้า ได้ ให้ชมทางการถ่ายทอดสด และเปิด กล้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เจ้าหน้าที่จะเรียกเข้าให้เองเมื่อระบบพร้อม
การขอความร่วมมือเพื่อป้องกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น 4. สำรองการดูการถ่ายทอดสดทุกครั้งที่มีการ ประชุม เพื่อให้สามารถใช้ได้ทันทีที่ ระบบ Video conference มีปัญหา และอย่าเปิด ทั้งสองระบบพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิด feedback ของเสียง และสิ้นเปลือง Bandwidth ของทั้ง สพท. และ สพฐ. ( ให้ เปิดแล้ว Standby ไว้โดย คลิกปุ่ม Pause ไว้ และ Play เมื่อระบบ video conference ขาดหายไปสำหรับการถ่ายทอดสดทาง ในกรณีใช้ช่อง ถ่ายทอดสดทาง ให้ ปุ่มถ่ายทอดสดก่อนสัญญาณถ่ายทอดสดจึง จะมา )
ข้อปฏิบัติในขณะที่ประชุม Video conference 1. ปิดไมค์ (Mute Mic) ทุกครั้งหลังจากทดสอบ เสียงเรียบร้อยแล้ว จะเปิดไมค์เฉพาะเวลาที่ เป็นผู้พูดเท่านั้น 2. ระมัดระวังการใช้เสียงในช่วงที่ประธาน สอบถาม สพท. เนื่องจากส่วนกลางจะเปิด ไมค์ให้ สพท. ทั้งหมดเพื่อส่งเสียงตอบหรือ สอบถาม เข้ามา 3. ขณะที่ตอบหรือสอบถามให้เปิดไมค์แล้วถาม หรือตอบได้เลย โดยไม่ต้องรอภาพขึ้น หน้าจอ เจ้าหน้าที่จะดำเนินดึงภาพขึ้นมา ภายหลัง 4. ปรับแสงสว่างของห้องและเพียงพอ และให้ แสงสว่างเข้าทางด้านหน้า ผู้ประชุม ระวังเรื่องแสงจากหน้าต่างเข้าทางด้านหลัง ผู้ประชุม