คำนาม
คำนาม เป็นคำบอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น คำนาม เป็นคำบอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น คำนามแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ได้แก่ ๑) สามานยนาม ๒) วิสามานยนาม ๓) สมุหนาม ๔) ลักษณนาม ๕) อาการนาม
๑) สามานยนาม คือคำนามที่เป็นชื่อทั่วไป เช่น คน บ้าน เมือง ใจ ลม เวลา เป็นต้น ซึ่งใช้เรียกได้ทั่วไป เช่น เธอดูยายคนนั้นซิเขากำลังขายของ ๒) วิสามานยนาม คือคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะที่สมมติตั้งขึ้นสำหรับเรียก คน สัตว์ สิ่งของบางอย่าง เพื่อให้รู้ชัดว่า คนนี้ สัตว์ตัวนี้ ของสิ่งนี้ ฯลฯ เช่น นลินีจะไปเที่ยวเชียงใหม่
๓) สมุหนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อ คน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่มากด้วยกัน มักจะมีคำว่า กอง หมู่ คณะ ฝูง บริษัท เป็นต้น เช่น ลูกเสือ ๓ กอง คณะอาจารย์โรงเรียน วิเศษไชยชาญ “ ตันติวิทยาภูมิ” มาประชุมกัน
๔) ลักษณนาม คือคำนามที่ใช้บอกลักษณะของสามานยนามอีกทีหนึ่ง มักจะมีคำว่า องค์ รูป คน ใบ เล่ม อัน ลำ กอง เป็นต้น เช่น พระสงฆ์ ๙ รูป เกวียน ๑ เล่ม ๕) อาการนาม คือคำนามที่บอกกิริยาอาการ หรือปรากฏเป็นต่างๆ แห่ง คน สัตว์ และสิ่งของซึ่งเนื่องมาจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ มักจะมีคำว่า การและความ เช่น การบ้าน การเรียน การงาน การกิน การอยู่ ความฝัน ความตาย ความสวย ความงาม
หน้าที่ของคำนาม ๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยค ๒.เป็นกรรมกริยา ๓.ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า ๔.ขยายคำกริยาบอกสถานที่หรือทิศทาง ๕.ขยายคำกริยาหรือขยายคำนามอื่น ๖.ใช้เป็นคำนามเรียกขาน ๗.ใช้เป็นส่วนเติมเต็มของกริยา ๘.ทำหน้าที่บอกลักษณะ บอกชนิดพวกสัณฐาน
จัดทำโดย ๑) เด็กชาย สนธยา ระรวยรื่น เลขที่ ๑๒ ๒) เด็กหญิง กมลชนก ศรีวิเชียร เลขที่ ๑๖ ๓) เด็กหญิง เกศินี แววนกยูง เลขที่ ๑๗ ๔) เด็กหญิง นรีลักษณ์ ทองคำชู เลขที่ ๒๔ ๕) เด็กหญิง นลินี ไหลพึ่งทอง เลขที่ ๒๖ ๖) เด็กหญิง บุษยมาศย์ เดชคง เลขที่ ๒๘ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒