การให้บริการส่งยาสำหรับ ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังทางไปรษณีย์ PCTเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มีภาวะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมและต่อเนื่อง แต่เนื่องจากผู้ป่วยดังกล่าวมีความพิการ มีความยากลำบากในการเดินทางอีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทำให้ผู้ป่วยบางรายขาดการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น การทำงานของไตผิดปกติ ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังทีมีการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสม และต่อเนื่อง เช่น การได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะ (bladder relaxant) เพื่อลดความดันในกระเพาะปัสสาวะ เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การทำงานของไตผิดปกติ การท้นกลับของปัสสาวะไปที่ไต
ดังนั้นจำเป็นต้องรับยาอย่างต่อเนื่องและติดตามผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทั้งจากตัวโรคและจากยาที่ได้รับ แต่เนื่องจากผู้ป่วยผู้พิการมีความยากลำบากในการเดินทาง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก กรณีที่ต้องจ้างเหมารถมาส่ง ทำให้ไม่ได้ขาดยา และขาดการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้
ข้อมูลในแบบสอบถาม ชื่อ HN การวินิจฉัยโรค ระยะเวลาที่เป็นโรค วิธีการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ยาและปริมาณยาที่ใช้ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ผลแทรกซ้อนจากยา เช่น ปากแห้งคอแห้ง ตาพร่ามัว
ผู้ป่วยกรอกข้อมูลลงแบบสอบถาม ส่งแบบสอบถามมาที่ภาควิชาฯ เจ้าหน้าที่ค้นบัตรและลงทะเบียน แพทย์สั่งยา ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามที่ได้รับแล้วส่งมาที่ภาควิชา เมื่อถึงกำหนดรับยา หลังจากแพทย์จะสั่งยาให้โดยประเมินจากข้อมูลจากแบบสอบถาม ในบางรายจะเขียนคำแนะนำเพิ่มเติมให้ เมื่อได้ยาแล้วจึงจัดส่งยาให้ผู้ป่วยพร้อมทั้งแนบแบบสอบถามชุดใหม่ให้เพื่อใช้สำหรับขอรับยาครั้งต่อไป เจ้าหน้าที่จัดส่งยาพร้อมแบบสอบถามชุดใหม่ให้ผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางจดหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ราย ชาย 33 ราย หญิง 7 ราย อายุเฉลี่ย 35.7 ปี (21-70 ปี) ผู้ป่วยอัมพาตท่อนล่าง 23 ราย อัมพาตแขนขา 17 ราย ดังนั้นภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงจัดให้มีบริการส่งยาทางไปรษณีย์ขึ้น โดยจัดทำแบบสอบถาม ซึ่งข้อมูลในแบบสอบถามประกอบด้วย ชื่อ HN การวินิจฉัยโรค ระยะเวลาที่ป็นโรค วิธีการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ยาและปริมาณยาที่ใช้ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รวมถึงผลแทรกซ้อนจากยา เช่น ปากแห้งคอแห้ง ตาพร่ามัว
เชียงใหม่ 10 ราย เชียงราย 3 ราย พะเยา 9 ราย น่าน 5 ราย แม่ฮ่องสอน 1 ราย แพร่ 3 ราย ลำพูน 4 ราย อุดรธานี 1 ราย ลำปาง 2 ราย กำแพงเพชร 1 ราย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อยุธยา 1 ราย
วิธีการขับถ่ายปัสสาวะ 26 รายใช้วิธีการสวนปัสสาวะเป็นครั้งด้วยตนเอง (clean intermittent self catheterization) 2 ราย มีผู้ดูแลสวนปัสสาวะให้เป็นครั้ง (clean intermittent catheterization) 12 ราย ใช้วิธีใส่คาสายสวนปัสสาวะ (indwelling catheterization) ผู้ป่วยได้รับยาคลายกระเพาะปัสสาวะเพื่อป้องกันการหดตัวของกระเพาะปัสสาวะ และติดต่อขอรับยาทางไปรษณีย์ทุกคน
ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามส่งกลับมาทุกครั้ง การส่งยาทางไปรษณีย์ ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามส่งกลับมาทุกครั้ง ผู้ป่วย สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดผลข้างเคียงของการใช้ยา แพทย์สามารถติดตาม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความปลอดภัยของการใช้ยา ในระยะยาว
ขอบคุณค่ะ