การจ้างลูกจ้างชั่วคราว
การจ้างลูกจ้างชั่วคราว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคลลูกจ้างชั่วคราวและสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการและถือปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้มีอำนาจอนุมัติการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ได้แก่ 1.1 ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง 1.2 ผู้อำนวยการส่วน ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการโครงการ หัวหน้าโครงการ หัวหน้าศูนย์ หัวหน้าสำนักงาน หัวหน้าสถานี หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าฝ่าย ที่ขึ้นตรงต่อสำนักและกอง ยกเว้น การจ้างลูกจ้างชั่วคราวประจำตัวผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่เบิกจ่ายค่าจ้างจากหมวดรายจ่ายอื่นที่เป็นเงินงบประมาณสมทบค่าใช้จ่ายผู้เชี่ยวชาญของกรมวิเทศสหการเป็นอำนาจของกรมฯ
2. การจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน ให้จ้างเท่าที่จำเป็นตามวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงบประมาณ และตามกรอบอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราวที่กรมฯ อนุมัติ 3. การจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนจากเงินนอกงบประมาณ อาทิ ทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทาน กองทุนจัดรูปที่ดิน ให้จ้างตามประมาณการรายจ่ายประจำปีที่ได้รับอนุมัติจาก สำนักงบประมาณและตามกรอบอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราว รายเดือนที่กรมฯอนุมัติ
4. ให้สำนักและกอง ขอกำหนดกรอบอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และรายเดือน โดยระบุวุฒิ ตำแหน่ง อัตราค่าจ้าง และจำนวนตำแหน่ง ให้กลุ่มพัฒนาระบบงานและอัตรากำลัง สำนักพัฒนาโครงสร้างและ ระบบบริหารงานบุคคลภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี 5. คุณสมบัติทั่วไปของลูกจ้างชั่วคราว ให้อนุโลมใช้ตามคุณสมบัติทั่วไปของลูกจ้างประจำตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537
6. ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว 6.1 กรณีเป็นงานในหน้าที่ของตำแหน่งข้าราชการให้ใช้ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งข้าราชการตำแหน่งนั้น 6.1 กรณีเป็นงานในหน้าที่ของตำแหน่งลูกจ้างประจำให้ใช้ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งลูกจ้างประจำตำแหน่งนั้น
7. อัตราค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด 8. ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการจ้างลูกจ้างชั่วคราวส่งสำเนาคำสั่งจ้างพร้อมสำเนาเอกสารหลักฐานประกอบการจ้างให้ฝ่ายบริหารทั่วไปของสำนักและ กองเจ้าสังกัดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งจ้างเพื่อรวบรวมและจัดทำสถิติการจ้างลูกจ้างชั่วคราวประจำเดือน ทั้งนี้ ในการจ้างลูกจ้างชั่วคราวแต่ละอัตราจะต้องไม่ครบ 12 เดือน ต่อปีงบประมาณ และการออกคำสั่งจ้างลูกจ้างชั่วคราวเข้าปฏิบัติงานจะออก คำสั่งวันหยุดราชการมิได้
ลูกจ้างชั่วคราวถูกเลิกจ้างได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาดคุณสมบัติ (2) เจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานได้โดยสม่ำเสมอ (1) ขาดคุณสมบัติ (2) เจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานได้โดยสม่ำเสมอ (3) หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตน (4) ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับหน้าที่ (5) บกพร่องในหน้าที่เป็นเหตุให้ราชการเสียหาย (6) มีมลทินมัวหมองในกรณีถูกสอบสวนฐานกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (7) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด สำหรับความผิดลหุโทษ (8) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งใด หรืองานแล้วเสร็จ หรือตัดทอนงาน ให้ผู้ที่มีอำนาจตามข้อ 1 สั่งเลิกจ้างได้
การลาออก ให้ผู้ประสงค์จะลาออกจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราว ยื่นหนังสือขอลาออก ต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าก่อนวันที่จะขอลาออกจากราชการไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการจ้างตามข้อ 1 เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ลูกจ้างชั่วคราวลาออกจากราชการ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษ ผู้บังคับบัญชา จะอนุญาตให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งประสงค์จะลาออก ยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วันได้