เทคนิคการใช้งาน Adobe Photoshop นรินทร บุญพราหมณ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
1/1 เว็บกราฟิก และ Adobe PhotoShop การทำภาพกราฟิกเพื่อใช้ในงานเวบ มีหลักการเฉพาะ แตกต่างไปจากงานสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งเรื่องความละเอียดของภาพ (Resolution) ที่ใช้แค่ 72 dpi หรือ จำนวนสีที่ใช้แสดงผล เป็นต้น การสร้างงานต้องตั้ง Resolution เป็น 72 dpi ด้วย
1/2 เว็บกราฟิก และ Adobe PhotoShop (ต่อ) สำหรับภาพจากแหล่งอื่น ให้ตรวจสอบ Resolution และกำหนดเป็น 72 dpi ด้วย
2/1 แก้ไขปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยใน PhotoShop และสามารถใช้ฟอนท์สวยๆ ของไทยได้ครบทุก ฟอนท์ วิธีการ คือ ก่อนอื่นให้ปิดโปรแกรม PhotoShop ก่อน นำเมาส์ไปชี้ที่ไอคอนควบคุมภาษา ซึ่งปรากฏที่ มุมด้านขวาของแถบสั่งงาน (Task Bar)
คลิกปุ่มขวาของเมาส์ที่ 2/2 แก้ไขปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยใน PhotoShop (ต่อ) คลิกปุ่มขวาของเมาส์ที่ ไอคอนควบคุมภาษา เลือกรายการ Properties... ซึ่งจะปรากฏกรอบทำงาน ดังนี้
2/3 แก้ไขปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยใน PhotoShop (ต่อ) คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Add ปรากฏ กรอบ Add Language ปรากฏรายการเลือกตัว แรกเป็น Afrikaans ให้ คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK ผ่านไป 1 ครั้ง จะปรากฏรายการภาษา Afrikaans เพิ่มขึ้นมา ดังนี้
2/4 แก้ไขปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยใน PhotoShop (ต่อ) คลิกเลือกรายการภาษา Afrikaans แล้วคลิกที่ปุ่ม Properties ปรากฏกรอบเลือกลักษณะแป้นพิมพ์
2/5 แก้ไขปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยใน PhotoShop (ต่อ) เลือกรายการ Keyboard layout เป็น Thai Kedmanee แล้วคลิกปุ่ม OK โปรแกรมจะ เรียกหาแผ่นโปรแกรม Microsoft Windows ต้นฉบับ ให้ระบุ ไดเร็กทรอรี่ของ โปรแกรม แล้วคลิกปุ่ม OK
2/6 แก้ไขปัญหาการพิมพ์ภาษาไทยใน PhotoShop (ต่อ) เมื่อโปรแกรมติดตั้งระบบเรียบร้อยแล้ว ก็ปิด หน้าต่าง Add Language เป็นอันเสร็จ ถ้าลองดูที่ไอคอนสลับภาษาตรงแถบสั่งงาน จะปรากฏตัวเลือกภาษาเพิ่มมาเป็น 3 โหมด การพิมพ์ภาษาไทยในโปรแกรม PhotoShop ให้เลือกฟอนท์ภาษาไทยที่ต้องการตามปกติ แต่ขณะพิมพ์ ให้กำหนดโหมดภาษาเป็น Afrikaans หรือ Af แทน Th
3. ลักษณะหน้าต่างโปรแกรม เมื่อเรียกใช้งานโปรแกรม Adobe PhotoShop (ตัวอย่างในที่นี้คือ Adobe PhotoShop 6.0) จะปรากฏหน้าต่างการทำงาน ดังนี้
4. หน้าต่างฟังก์ชันงาน - Palettes เล็กที่แสดงรายละเอียด ของงานต่างๆ เช่น Palette Layer จะ ควบคุมการทำงาน ของเลเยอร์ เป็นต้น การเปิด/ปิด Palette เหล่านี้ใช้เมนูคำสั่ง Window สำหรับเปิด/ปิด palettes, the options bar, and the toolbox สำหรับเปิด/ปิด palettes
5/1 เครื่องมือจากแถบ Toolbars
5/2 เครื่องมือจากแถบ Toolbars เครื่องมือบางรายการ จะเป็นชุดเครื่องมือ สังเกตได้ จากรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ ที่ปรากฏอยู่มุมล่างขวา ของเครื่องมือนั้นๆ การเลือกเครื่องมือจากชุด ใช้วิธี กดเมาส์ค้างไว้ โปรแกรมจะแสดงเครื่องมือในกลุ่ม ดังนี้ จากนั้นปล่อยเมาส์ ณ ตำแหน่งเครื่องมือที่ต้องการ เครื่องมือบางเครื่องมือ มีรายละเอียดปลีกย่อยในการ ใช้งาน ซึ่งควบคุมจาก Options Bar ดังนั้นเมื่อเลือก เครื่องมือใดๆ ควรกำหนดรายละเอียดการใช้งาน เครื่องมือนั้นๆ ก่อนเสมอ
6/1 ประเด็นสำคัญของภาพกราฟิกสำหรับงานเว็บ ใช้ความความละเอียดของภาพ (Resolution) 72 dpi ใช้โหมด RGB ในการสร้างงาน ต้องคำนึงถึง Screen Area ของจอภาพ ดังนี้ 640 x 480 pixel 800 x 600 pixel 1024 x 768 pixel
6/2 ประเด็นสำคัญของภาพกราฟิกสำหรับงานเว็บ (ต่อ) เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้เสมอ (.psd เมื่อใช้ PhotoShop) เลือกประเภทไฟล์ใช้งานให้เหมาะสม ภาพที่มีสีน้อย, ต้องการความคมชัดต่ำ บันทึกเป็น .gif ภาพที่ต้องการความคมชัดสูงๆ แสดงสีมากๆ บันทึกเป็น .jpg
6/2 ประเด็นสำคัญของภาพกราฟิกสำหรับงานเว็บ (ต่อ) ลักษณะพิเศษของภาพให้เหมาะสม เช่น การใช้ ความสามารถ Interlaced> Progressive> Transparent ภาพที่มีขนาดใหญ่ๆ มาก ควรใช้เทคนิคการตัดภาพเป็น ชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาประกอบด้วยคำสั่ง HTML
7/1 การเปิดไฟล์ภาพ (Open File) คำสั่งในการเปิดไฟล์ภาพของ PhotoShop มีสอง คำสั่ง ได้แก่ คำสั่ง File> Open… จะใช้ในกรณีที่ต้องการ เปิดดูไฟล์ภาพทุกๆ ฟอร์แมต คำสั่ง File> Open as… ใช้ในกรณีที่ต้องการ เปิดดูไฟล์ภาพที่ต้อง การระบุนามสกุลของไฟล์
7/2 การเปิดไฟล์ภาพ (Open File) (ต่อ) นอกจากนี้สามารถใช้วิธี Double Click บนพื้นที่ว่างๆ ของ Work Area ได้ โปรแกรม PhotoShop เตรียม ภาพตัวอย่างไว้ให้เรียกดูจาก Folder ดังนี้
8/1 การเปิดหน้างานใหม่ (New File) การเปิดหน้างานใหม่ กระทำได้โดยการเลือกเมนู คำสั่ง File> New… และปรากฏกรอบทำงาน ดังนี้ Name จะเป็นชื่อไฟล์
8/2 การเปิดหน้างานใหม่ (New File) (ต่อ) Image Size ประกอบด้วยค่าสำคัญคือ Width ความกว้างของชิ้นงาน ควรใช้หน่วยเป็น Pixel Height ความสูงของชิ้นงาน ควรใช้หน่วยเป็น Pixel Resolution ความละเอียดของชิ้นงาน ควรใช้ 72 pixel/inch Mode ต้องเลือกเป็น RGB Color Contents เป็นการระบุลักษณะของพื้นภาพ (Background) แนะนำให้ใช้ White หรือ Transparent
8/3 การเปิดหน้างานใหม่ (New File) (ต่อ) การกำหนดค่าเกี่ยวกับ Width และ Height ของภาพ จะต้องสัมพันธ์กับ Screen Area ของจอภาพ และ ลักษณะ Layout ของหน้าเว็บที่กำหนดไว้ด้วยเสมอ โดยปกติจอภาพ 14 นิ้ว มี Screen Area ได้ 3 แบบ คือ 640 x 480 pixel 800 x 600 pixel
8/4 การเปิดหน้างานใหม่ (New File) (ต่อ) 1024 x 768 pixel ดังนั้นก่อนจะสร้างภาพกราฟิก ควรวางแผนก่อนว่า เว็บที่จะนำเสนอ ต้องการให้แสดงผลได้ดีที่สุดบนจอภาพที่มี Screen Area เท่าใด เพราะโปรแกรมเบราเซอร์มีจะค่ากำหนดเกี่ยวกับ Margin เสมอ ตลอดจนจะต้องมี Scroll Bar ดังนั้นค่าความยาวที่เหมาะสมสำหรับจอภาพจึงแตกต่างกันไป
9/1 การจัดเก็บภาพ (Save File) สำหรับภาพ ต้นฉบับ การบันทึกภาพเพื่อนำไปใช้งานสำหรับงานเว็บ ควรเป็นแบบรวมเลเยอร์ที่มีทั้งหมดเป็นชั้นเดียว คือชั้น Background ซึ่งมีวิธีการบันทึกแตกต่างกันไป ดังนี้ เปิดโปรแกรม PhotoShop สร้างภาพด้วยวิธีการของ PhotoShop หรือเปิด ไฟล์ภาพที่ต้องการ
9/2 การจัดเก็บภาพ (Save File) สำหรับภาพ ต้นฉบับ (ต่อ) เลือกคำสั่ง File, Save สำหรับการจัดเก็บงานครั้งแรก หรือ File, Save as สำหรับการ จัดเก็บงานครั้งที่สองและต้องการ เปลี่ยนชื่อไฟล์ภาพ ปรากฏจอภาพโต้ตอบการทำงาน Save as ดังนี้
9/3 การจัดเก็บภาพ (Save File) สำหรับภาพ ต้นฉบับ (ต่อ) เลือกไดร์ฟ และโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บภาพ ตั้งชื่อไฟล์ภาพ เลือกฟอร์แมตภาพเป็น .psd คลิกปุ่ม Save เพื่อยืนยันการจัดเก็บภาพ
10/1 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “jpg” เป็นฟอร์แมตที่เหมาะกับภาพถ่าย หรือภาพที่ต้องการ ให้คงความคมชัดและความสดใสของสี โปรแกรม PhotoShop มีวิธีการจัดเก็บภาพให้เป็นฟอร์แมต JPG ดังนี้ เปิดโปรแกรม PhotoShop สร้างภาพด้วยวิธีการของ PhotoShop หรือเปิดไฟล์ ภาพที่ต้องการ ปรับแต่งภาพด้วยคำสั่งของ PhotoShop
10/2 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “jpg” (ต่อ) เลือกคำสั่ง File> Save สำหรับการจัดเก็บงานครั้งแรก หรือ File> Save as สำหรับการจัดเก็บงานครั้งที่สอง และต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ภาพ ปรากฏจอภาพโต้ตอบการทำงาน เลือกไดร์ฟ และโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บภาพ จาก รายการ Save in: ตั้งชื่อไฟล์ภาพโดยพิมพ์ในบรรทัด File name: เลือกประเภทของไฟล์เป็น JPEG (*.JPG, *.JPE) จาก รายการ Format :
น้อยเกินไป เพราะจะทำให้คุณภาพของภาพต่ำ และไม่คมชัด 10/3 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “jpg” (ต่อ) คลิกปุ่ม Save เพื่อยืนยันการจัดเก็บภาพ ปรากฏหน้าต่าง JPEG Options ดังนี้ กำหนดค่า Quality อันเป็นค่า เกี่ยวกับคุณภาพของภาพ ไว้ ประมาณ 5 - 7 ไม่ควรกำหนด ค่าไว้มากเกินไปเพราะจะทำให้ ไฟล์มีขนาดใหญ่ และทำให้เสีย เวลานานในการโหลดภาพจาก Server และไม่ควรกำหนดค่าไว้ น้อยเกินไป เพราะจะทำให้คุณภาพของภาพต่ำ และไม่คมชัด
10/4 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “jpg” (ต่อ) Format Options เป็นรายการเลือกเพิ่มเติม: Baseline ("Standard") เป็นตัวเลือกที่ดี ที่สุดสำหรับภาพ เนื่องจากสนับสนุนกับเว็บ เบราเซอร์ทุกตัว Baseline Optimized สำหรับการบีบอัดไฟล์ ภาพให้มีขนาดเล็กกว่าปกติ Progressive เป็นตัวเลือกสำหรับภาพที่มีขนาด โตมากๆ และต้องการให้มีฟังก์ชันการนำเสนอ แบบภาพโครงร่างก่อนที่จะแสดงภาพจริง
11/1 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “GIF87” เปิดโปรแกรม PhotoShop สร้างภาพด้วยวิธีการของ PhotoShop หรือเปิดไฟล์ ภาพที่ต้องการ ปรับแต่งภาพ ด้วยคำสั่งของ PhotoShop เลือกคำสั่ง File> Save สำหรับการจัดเก็บงานครั้งแรก หรือ File> Save as สำหรับการจัดเก็บงานครั้งที่สอง และต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ภาพ ปรากฏจอภาพโต้ตอบการทำงาน
11/2 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “GIF87” (ต่อ) เลือกไดร์ฟ และโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บภาพ จาก รายการ Save in: ตั้งชื่อไฟล์ภาพโดยพิมพ์ในบรรทัด File name: เลือกประเภทของไฟล์เป็น CpmpuServe GIF (*.GIF) จากรายการ Format : ปรากฏกรอบโต้ตอบการ รวมเลเยอร์ คลิกปุ่ม Ok เพื่อทำการ
11/3 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format “GIF87” (ต่อ) ปรากฏกรอบโต้ตอบการกำหนดค่าเกี่ยวกับ Indexed Color ตรวจสอบค่าสี หรือปรับ เปลี่ยนตามที่ต้องการ แล้ว คลิกปุ่ม OK ปรากฏกรอบโต้ตอบการตั้ง คุณสมบัติของภาพ ถ้าภาพขนาดเล็ก ให้เลือกเป็น Normal แต่ถ้าภาพมี ขนาดโต ให้เลือกเป็น Interlaced หรือตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK
12/1 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” นิยมใช้ในการสร้าง WebPage ปกติจะใช้กับภาพที่มีสีหรือความคมชัดไม่มากนัก และต้องการให้พื้นหลังของภาพ (Background) มีลักษณะโปร่งใส วิธีการจัดเก็บภาพให้เป็นฟอร์แมต GIF89 Transparent มีดังนี้ เปิดโปรแกรม PhotoShop สร้างภาพด้วยวิธีการของ PhotoShop หรือเปิดไฟล์ ภาพที่ต้องการ ปรับแต่งภาพ ด้วยคำสั่งของ PhotoShop
12/2 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” (ต่อ) เลือกเมนูคำสั่ง Help> Export Transparent Image… ปรากฏกรอบโต้ตอบ เลือกรูปแบบของภาพต้นฉบับ ดังนี้ เลือกรายการ My image is on a transparent background ถ้าภาพที่สร้าง มีพื้นเป็นแบบ Transparent อยู่แล้ว
12/3 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” (ต่อ) เลือกรายการ I have selected the area to be made transparent เมื่อใช้คำสั่ง Selection เลือก สีที่ต้องการกำหนดให้มีโหมดเป็น Transparent แล้ว เลือกรายการ I need to select the area to be made transparent เมื่อขอกลับไปกำหนด Selection เพื่อเลือกสีที่ต้องการกำหนดให้มีโหมดเป็น Transparent ก่อน การเลือกพื้นภาพ ปกติจะใช้เครื่องมือ Magic Wand คลิก ที่สีพื้นที่ต้องการกำหนดเป็น Transparent
12/4 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” (ต่อ) หากทำการเลือกรายการ 1 หรือ 2 แล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม Next ปรากฏกรอบโต้ตอบ ดังนี้ คลิกเลือกรายการ Online เพื่อกำหนด Transparent สำหรับภาพนำเสนอผ่านเว็บ แล้วคลิกปุ่ม Next
12/5 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” (ต่อ) ปรากฏกรอบโต้ตอบ เลือกฟอร์แมตของภาพ เลือก เป็น .GIF โปรแกรมจะทำการตรวจสภาพของรูปภาพ ให้คลิกปุ่ม Next จากนั้นจะปรากฏกรอบโต้ตอบถามค่าสีที่ต้องการใช้ งานกับภาพนั้นๆ โดยสามารถเลือกระดับค่าสีได้ตาม ต้องการ เพื่อให้เหมาะสมกับภาพนั้นๆ
12/6 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” (ต่อ) เลือกรูปภาพที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK ปรากฏจอภาพโต้ตอบ Save As เลือกไดร์ฟ และโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บภาพ จาก รายการ Save in: ตั้งชื่อไฟล์ภาพโดยพิมพ์ในบรรทัด File name: เลือกประเภทของไฟล์เป็น CpmpuServe GIF (*.GIF) จากรายการ Format :
12/7 การจัดเก็บภาพ (Save) ใน Format ”GIF89” (ต่อ) ถ้าภาพขนาดเล็ก ให้เลือกเป็น Normal แต่ถ้า ภาพมีขนาดใหญ่ ให้เลือกเป็น Interlaced หรือ ตามต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK กดปุ่ม Finish รอสักครู่โปรแกรมจะทำการจัดเก็บภาพในฟอร์แมต GIF89 Transparent
13/1 คำสั่ง Save for Web คำสั่ง Save for Web มีจุดเด่นคือ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบขนาดไฟล์ภาพ (File Size) และความคมชัดของภาพได้โดยตรงก่อนยืนยันการจัดเก็บ โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้ เปิดโปรแกรม PhotoShop สร้างภาพด้วยวิธีการของ PhotoShop หรือเปิดไฟล์ ภาพที่ต้องการ ปรับแต่งภาพ ด้วยคำสั่งของ PhotoShop เมื่อ ปรับแต่งภาพได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะทำการ จัดเก็บภาพโดยเลือกคำสั่ง File> Save for Web…
13/2 คำสั่ง Save for Web (ต่อ) ปรากฏกรอบทำงานดังนี้ เลือก Tab ทำงานของ หน้าต่างนี้เป็น 4-Up เพื่อแสดงภาพแบบ 4 ช่องภาพ
เมื่อได้ค่าที่ต้องการก็คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการจัดเก็บภาพ 13/3 คำสั่ง Save for Web (ต่อ) ช่องแรกด้านซ้ายมือจะแสดงภาพต้นฉบับ พร้อมขนาด ไฟล์ ส่วนกรอบที่เหลือจะแสดงภาพที่ผ่านการวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดย คลิกเลือก ภาพในกรอบที่ต้องการทำงาน (กรอบที่ 2, 3, 4) จากนั้นกำหนดค่าที่ต้องการจากรายการ Setting ตาม ค่าที่ต้องการ เมื่อได้ค่าที่ต้องการก็คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการจัดเก็บภาพ
14/1 โหมดภาพที่เหมาะสมสำหรับงานเว็บ กราฟิก ภาพที่มีโหมดสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่โหมด RGB เมื่อนำมาใช้งานจริง จะพบ ปัญหามากมาย เช่นปัญหาเกี่ยว กับคำสั่ง Filter ปัญหาเกี่ยวกับสี และอื่นๆ ซึ่ง สามารถสังเกต โหมดภาพได้จาก แถบ Title Bar ที่ปรากฏแถวบนของจอภาพทำงาน ดังรูป
14/2 โหมดภาพที่เหมาะสมสำหรับงานเว็บ กราฟิก (ต่อ) ดังนั้น หากพบปัญหาโหมดภาพที่ไม่ใช่ RGB ควร ทำการปรับเปลี่ยน เป็นโหมด RGB ก่อน โดยเลือก คำสั่ง Image> Mode> RGB ดังภาพ
15/1 โหมดภาพที่เหมาะสมสำหรับงานเว็บ กราฟิก นอกจากโหมดภาพ CMYK ซึ่งเป็นโหมดภาพที่ไม่ เหมาะสม กับการสร้างภาพสำหรับเว็บ ยังมีภาพโหมด RGB บางลักษณะเช่นกัน ที่ไม่เหมาะสมกับการสร้าง ภาพสำหรับเว็บ ได้แก่ภาพที่มี Channel แบบ 16 bit ทดลองเปิดไฟล์ภาพชื่อ Temple (16bit).tif จาก โฟลเดอร์ดังนี้
15/2 โหมดภาพที่เหมาะสมสำหรับงานเว็บ กราฟิก ตัวอย่างภาพ RGB ที่มี Channel แบบ 16 bit ดังนั้น หากพบปัญหาโหมดภาพดังกล่าว ควรทำการปรับ เปลี่ยนก่อน โดยเลือกคำสั่ง Image> Mode> 8bit/channel
16/1 เครื่องมือพื้นฐาน Zoom ใช้ในการขยายภาพวัตถุเข้า-ออก เพื่อให้เราสามารถมองเห็นงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นให้นำCursor ไปคลิกที่ภาพ ถ้าต้องการทำให้ภาพเล็กลง ให้กด <ALT> ค้าง ไว้แล้วจึงไปคลิกที่ภาพ หาก Double Click ที่เครื่องมือ zoom จะเป็นการ ขยายภาพให้สู่โหมด 100% อย่างรวดเร็ว
16/2 เครื่องมือพื้นฐาน (ต่อ) Hand ใช้ในการเลื่อนภาพ ในกรณีที่ภาพมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถมองได้ทั่วถึง หากทำการ Double Click ที่เครื่องมือ Hand จะ เป็นการปรับหน้าจอภาพ ให้อยู่ในโหมดพอดีกับ กรอบภาพ (Actual Size) Move ใช้ในการย้ายภาพที่เราทำงานอยู่
16/3 เครื่องมือพื้นฐาน (ต่อ) Selection เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างขอบเขต ซึ่งจะมีให้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับงานที่เราต้องการสร้าง สามารถ Double Click เพื่อเปิดหน้าต่างควบคุม (Options) ประกอบการทำงาน เช่น การกำหนดค่าความฟุ้งของขอบ (Feather) เป็นต้น
17/1 มุมมองของหน้าต่างภาพ เมื่อมีการเปิดภาพ สามารถควบคุมมุมมองต่างๆ ได้ดังนี้ Double Click ที่ไอคอน Hand เพื่อปรับภาพให้มี ขนาดพอดีกับจอภาพ (Fit on Screen) คลิกเลือกเครื่องมือ Zoom แล้วนำเมาส์ไปคลิกที่ ภาพ เพื่อขยายภาพ กดปุ่ม ค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์ที่ภาพ เพื่อย่อภาพ คลิกเลือกรายการจาก Zoom Options Bar
17/2 มุมมองของหน้าต่างภาพ Double Click ที่ไอคอน Zoom เพื่อปรับให้มี ขนาด 100% ควบคุมจาก Navigator Palette
18/1 การใช้สี เครื่องมือแรกที่อยู่ใน Tool Bar ที่เกี่ยวกับสีคือ เมื่อคลิกเข้าไปใน Foreground/Background Color จะ เจอกับ Color Picker เพื่อใช้ในการเลือกสีที่ ต้องการ
18/2 การใช้สี (ต่อ) คลิกเลือกสีที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK สามารถกดที่ปุ่ม Default color เพื่อคืนค่าสีเป็น "ขาว/ดำ" สามารถกดปุ่ม Swap color เพื่อกลับค่าสีที่เลือก เรายังสามารถเลือก สีได้จาก Palette Color และ Swatches โดยการเข้าไปที่เมนู Window / Show Color> Show Swatches
19/1 การปรับขนาดของภาพ หากพบว่าภาพที่นำมาใช้งานมีขนาดใหญ่มาก ควร ทำการย่อขนาดของภาพด้วย PhotoShop ก่อน นำไปใช้งานจริง ในการทำ Webpage ไม่ควรใช้ Attribute Width & Height ใน TAG <IMG> ควบคุมขนาด เพราะจะทำให้ การโหลดภาพช้ากว่าปกติ
19/2 การปรับขนาดของภาพ (ต่อ) ควรใช้คำสั่งที่ในการย่อ/ขยายขนาดภาพ คือ Image> Image Size... ซึ่งปรากฏจอภาพทำงานดังนี้ ปรับค่า Pixel Dimensions โดยสามารถปรับเพียงค่าใดค่าหนึ่ง อีกค่าจะปรับให้อัตโนมัติ แต่ถ้าต้องการปรับค่าเองทั้งสองค่า จะต้องยกเลิกรายการเลือก ของ Constrain Proportions ก่อน
20. การปรับความละเอียดของภาพ ภาพที่จะนำมาใช้ในเอกสารเว็บ จะต้องมีค่าความละเอียด (Resolution) เท่ากับ 72 pixels/inch เท่านั้น ดังนั้นหากภาพนั้นมีค่าความละเอียดมาก จะต้องทำการปรับค่าก่อน โดยปกติเมื่อมีการปรับค่า ความละเอียดของภาพ จะ ส่งผลต่อขนาดของภาพ (pixel dimensions) ด้วย ดังนั้นจะต้องยกเลิกรายการเลือกของ Resample Image ก่อน