เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร มุมวิจัย จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 1 ปีที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้รับผิดชอบมุมวิจัย
เขียนบทความวิจัยส่งอย่างไร จุลสารฉบับนี้ เป็นฉบับแรกทางเว็บไซต์ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดิฉันขอเชิญชวนผู้สนใจส่งบทความวิจัยทางด้านสาธารณสุข บริหารสาธารณสุข บริหารโรงพยาบาล อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม และแพทย์แผนไทย มาลงในมุมวิจัยนี้ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของท่านสู่นักศึกษาและบัณฑิตของสาขาวิชาฯ บุคลากรสาธารณสุข และสาธารณชนที่สนใจงานวิจัยในด้านดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่องานสาธารณสุขของประเทศในด้านต่างๆ มุมนี้ยินดีต้อนรับนักวิจัยทุกท่านค่ะ
การส่งบทความวิจัยนั้น ขอให้ท่านเขียนบทความที่มีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษขนาด 4A โดยนำเสนอสิ่งที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้นค่ะ เนื่องจากความจำกัดในเนื้อที่ ซึ่งหัวข้อของบทความที่นำเสนอ มีดังนี้ ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ชื่อผู้วิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) คุณวุฒิ ตำแหน่ง สถานที่ทำงานของผู้วิจัย บทคัดย่อภาษาไทย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล และ การวิเคราะห์ข้อมูล 9. ผลการวิจัย 10. สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 11. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม โดยยึดการเขียนเอกสารอ้างอิงตามรูปแบบของ APA
โดยท่านสามารถส่งบทความวิจัยมาได้ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 หรือ ทาง E-mail : hskpor@ yahoo.com
ดิฉันมีบทความวิจัยสั้นๆ มานำเสนอกับท่านพอเรียกน้ำย่อยเล็กน้อยค่ะ ดิฉันได้อ่านบทความวิจัยในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 หน้า 11 คอลัมภ์ “อยากหุ่นดีต้องหมั่นแปรงฟัน” แล้วสนใจ เพราะเกิดความสงสัยตามประสานักวิจัยว่า จะเกี่ยวกันอย่างไร? หุ่นจะดีได้อย่างไร? บทความวิจัยกล่าวถึงว่า
ดร.ทากาชิ วาดะ และทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยจิเคอิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการสำรวจกิจวัตรประจำวันของชาวญี่ปุ่นวัยกลางคน จนถึงอายุ 40 ปี พบว่า คนวัยกลางคนที่หมั่นดูแลรูปร่างให้เพรียวบาง มีแนวโน้มที่จะแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ ส่วนคนอ้วนนั้น ในบางครั้ง ออกจากบ้านโดยไม่ได้แปรงฟันเลย และเมื่อเปรียบเทียบวิถีชีวิตของคน ที่มีรูปร่างผอมบางกับคนที่มีรูปร่างอ้วน ในด้านนิสัยการรับประทาน การดื่ม การนอน การทำงาน และการออกกำลังกาย พบว่า คนที่หมั่นแปรงฟันมีแนวโน้มที่จะดูแลสุขภาพตนเองและต้องการ รักษาฟันให้ดูดี ป้องกันกลิ่นปาก ดังนั้น คนที่มีนิสัยชอบแปรงฟัน จึงมีพฤติกรรมที่จะห่วงใยสุขภาพ ซึ่งช่วยป้องกันโรคอ้วนไปในตัว ฉะนั้น อย่าลืมดูแลสุขภาพของคุณและส่งบทความมานะค่ะ
ขอบคุณที่สนใจมุมนี้ค่ะ