การพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาจังหวัดลำพูน Development of Elderly Health Indicators in Thailand
วัตถุประสงค์ของโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพของผู้สูงอายุไทยโดยศึกษานำร่องในจังหวัดลำพูน
วิธีดำเนินโครงการ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในประเทศและต่างประเทศ (review literature) แล้วนำผลการศึกษามาสังเคราะห์เป็นภาพรวมของตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุ 2) นำตัวชี้วัดทั้งหมด ที่สังเคราะห์ได้มาจากข้อ 1. มาสร้างแบบสอบถาม 3 ชุดแล้วนำแบบสอบถามทั้งหมดไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา 3) คัดเลือกตัวชี้วัดที่ได้ และได้ทำการรวมตัวชี้วัดบางตัวและแยกตัวชี้วัดบางตัวเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการวัด และสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งได้ปรับปรุงภาษาในแต่ละตัวชี้วัดเพื่อให้เหมาะสม 4) ส่งแบบสอบถามรายการตัวชี้วัด 3 ชุดไปยังผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุเพื่อให้ความเห็นและให้ข้อเสนอแนะแก่คณะผู้วิจัย
วิธีดำเนินโครงการ 5) นำข้อมูลที่วิเคราะห์จากแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด ในขั้นตอนที่ 4 มาวิเคราะห์ความคิดเห็น 6) สัมภาษณ์และประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิที่รับผิดชอบ/มีส่วนได้ส่วนเสียในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศไทยเพื่อกลั่นกรองรายการตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุที่จัดทำในขั้นตอนที่ 5 7) การทบทวนเวชระเบียนในกลุ่มตัวชี้วัดที่ผ่านการกลั่นกรองเปรียบเทียบกับข้อมูล/ฐานข้อมูลผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูนและเทียบกับเกณฑ์ตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุมาตรฐานทั่วไป (explicit review)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูนจำนวน 148 คน 2. ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพ จำนวน 34 คน 3. ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิที่รับผิดชอบ/มีส่วนได้ส่วนเสียในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศเพื่อกลั่นกรองรายการตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุที่จัดทำขึ้น จำนวน 40 คน (สัมภาษณ์ 5 คน ประชุมกลุ่ม 30 คน) 4. ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิ จำนวน 5 คน ระดับทุติยภูมิ จำนวน 5 คน ระดับตติยภูมิจำนวน 5 คน ระดับสาธารณสุขมูลฐานจำนวน 5 คน และระดับผู้นำ/เครือข่ายผู้สูงอายุในชุมชนจำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. คณะผู้วิจัยและผู้วิจัยภาคสนาม เป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งซึ่งต้องมีความรู้และทักษะในการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการสอบถามผู้สูงอายุ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ชุดที่ 1 แบบตรวจสอบรายการตัวชี้วัด เป็นแบบสอบถามผู้สูงอายุ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาของตัวชี้วัด เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ดังนี้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ควรปรับปรุง ชุดที่ 2 แบบตรวจสอบลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด (Importance) การใช้ประโยชน์ (Usefulness) ความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง(Feasibility) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สำหรับสอบถามผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเกี่ยวกับลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด มีมาตราส่วนประมาณค่าดังนี้ 1 หมายถึง ลำดับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องอันดับ 1 2 หมายถึง ลำดับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องอันดับ 2 3 หมายถึง ลำดับความสำคัญ การใช้ประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องอันดับ 3
การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการตัวชี้วัดสุขภาพผู้สูงอายในขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา(ค่าเฉลี่ย ความถี่และร้อยละ) 2. ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการตรวจสอบรายการตัวชี้วัด เอกสารรายการตัวชี้วัดแจกวันประชุม.doc