OUTCOME MAPPING วัดให้ง่าย วัดให้ชัด วัดที่พฤติกรรม รศ.พญ.พันธุ์ทิพย์ สงวนเชื้อ รพ.มอ. นพ.ประวิตร วณิชชานนท์ ผอ.รพ.ละงู จ.สตูล นพ.สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์ ผอ.รพ.เสาไห้ จ.สระบุรี นพ.สมยศ ศรีจารนัย ผอ.รพ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ผศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ รพ.มอ.
ปัญหา - การพัฒนามักจะ face down หลังเสร็จโครงการ การพัฒนาที่ยั่งยืน หัวใจอยู่ที่ การเปลี่ยนแปลงความคิดหรือกระบวนทัศน์ของคน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน มีองค์ประกอบที่ซับซ้อน “ผลลัพธ์” ที่แท้จริงต้องใช้เวลา เครื่องมือวางแผนงานใช้ติดตาม + ประเมินผล เน้นพฤติกรรมผู้มีส่วนร่วม OM เน้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์กร มีเป้าหมายให้สุขภาวะสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
แนวคิดใหม่ของการพัฒนา แนวคิดในการพัฒนามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง ใช้หลักความเป็นเหตุและผลต่อเนื่อง (cause and effect) แต่เมื่อการพัฒนาเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน จะไม่สามารถแยกออกได้ เช่น มีหน่วยงานอื่นๆเกี่ยวข้องมากมายทั้งระดับต้นน้ำและในพื้นที่ เช่น หน่วยงานราชการอื่น นอกจากนี้ หากแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จของการพัฒนาเป็นผลงานของตนเอง (ผู้ให้ทุน ผู้ทำโครงการ) จะทำให้ผู้มีส่วนร่วมทำให้ผลงานสำเร็จหรือชุมชน ไม่เกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของการพัฒนา ขาดความรัก ความผูกพัน ความภาคภูมิใจ
บทเรียนในอดีตทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ของการพัฒนา มองเรื่องที่จะพัฒนาอยู่ในระบบเปิด มีความสัมพันธ์กับเรื่องอื่น และเกี่ยวข้องกับคนในชุมชนอย่างซับซ้อน ไม่เป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงจุดใดจุดหนึ่ง ย่อมกระทบต่อเรื่องอื่น หรือ หน่วยงานอื่นอีกหลายจุด ดังนั้นการพัฒนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การกำหนดและชักนำเข้าเป็นภาคีหุ้นส่วน (boundary partners) เกิดข้อตกลงร่วมกันเป็นหุ้นส่วนกัน (agreements and partnerships)
แผนที่ผลลัพธ์ใช้ทำอะไรได้บ้าง แผนที่ผลลัพธ์ เป็นเครื่องมือพัฒนาโดยศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างชาติแห่งคานาดา (IDRC) จัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย สสส. เป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนพัฒนา ติดตามการทำงาน และประเมินผล โดยเน้นการเตรียมการติดตามการทำงานและการประเมินผลตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการวางแผนพัฒนา ในส่วนของการประเมินผลโครงการ สามารถทำโดยผู้ดำเนินโครงการหรือผู้ประเมินจากภายนอก เหมาะสำหรับการพัฒนาที่ต้องการความสำเร็จที่ยั่งยืน คำนึงความซับซ้อน (complexity) ในชุมชน ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคีหุ้นส่วน (boundary partners) ชักนำให้เห็นคุณค่าและเป้าหมายร่วมกัน
มีการกำหนดความคาดหวังและเกณฑ์ชี้ความก้าวหน้าของแต่ละภาคี มีการสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อที่จะสามารถใช้ติดตามงานและอุปสรรค การติดตามความก้าวหน้าของโครงการส่วนหนึ่งดูจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การจัดกิจกรรมและความสัมพันธ์ของภาคีหุ้นส่วน
หลักการ Attitude or Behavior change เปลี่ยนทัศนคติ Boundary partners ภาคีหุ้นส่วน Contribution มีส่วนร่วม
A เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สัมพันธภาพกิจกรรม โดยใช้ pattern behavior map - เจ้าหน้าที่รัฐ - เอกชน - สถาบันวิชาการ เช่น มหาวิทยาลัย C โรงพยาบาลและภาคีหุ้นส่วน มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ
OM 3 ขั้นตอน กำหนดกรอบ ในการมีส่วนร่วม (Intentional design) ติดตาม (Outcome and performance monitoring) ประเมินผล ระบุประเด็นที่ต้องการประเมิน วางแผน (Evaluation plan) ติดตามที่พฤติกรรมของคนมาร่วมงาน
พรพ. ร่วมกับ รพ.ชั้นนำของประเทศอีก 14 แห่ง นำ “แผนที่ผลลัพธ์” มาวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ โดยนำมาทดสอบใช้งานจริง กับโครงการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญของแต่ละรพ. เน้นโครงการที่มีภาคีหุ้นส่วน เช่น โรงเรียน วัด มัสยิด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น