กล้องอัตโนมัติเพื่อการตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟ (Red-Light Camera) พ.ต.ต.สัญญา เนียมประดิษฐ์ กองบังคับการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
กล้องอัตโนมัติเพื่อการตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟ (Red-Light Camera) มีการใช้อย่างได้ผลในต่างประเทศ เป็นวิธีการที่สามารถตรวจสอบการกระทำผิดตลอดเวลา และสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษในทุกกรณี เมื่อผู้ขับขี่ตระหนักว่ามีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา และหากทำผิดก็จะถูกจับกุม การกระทำผิดจะลดลง และสุดท้ายผู้ขับขี่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเปลี่ยนอุปนิสัยที่เคารพกฎหมาย
กล้องอัตโนมัติเพื่อการตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟ (Red-Light Camera) กล้องอัตโนมัติเพื่อการตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟเป็นเครื่องมือที่เชื่อมต่อกับสัญญาณไฟจราจร โดยจะถ่ายภาพยานพาหนะหรือรถที่ผ่านเข้ามาในบริเวณแยกเมื่อสัญญาณไฟสีแดงปรากฏขึ้น การติดตั้งโดยส่วนใหญ่จะแขวนไว้ในที่สูงเพื่อความสะดวกในการถ่ายภาพ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคู่ไปกับกล้องด้วย เช่นการใช้แฟลช เพื่อเพิ่มความสว่างในการถ่ายภาพ
ตัวอย่าง มลรัฐแมรี่แลนด์ (Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในประเทศไทย บริษัทเทนิกซ์ แทรฟฟิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการทดลองประสิทธิภาพการใช้งานของกล้อง ณ แยกบริเวณถนนศรีอยุธยาและถนนพระราม 6
กระบวนการทำงานของกล้องอัตโนมัติเพื่อการตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟ
ผลการทดลอง กล้องจำนวน 1 ตัว ณ แยกบริเวณถนนศรีอยุธยาและถนนพระราม 6 ระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 28 มกราคม 2549 สามารถจับภาพการกระทำความผิดอันอาจจะดำเนินคดีได้มากถึง 2195 ภาพ และสามารถออกเป็นใบสั่งได้มากถึง 2025 ภาพ อัตราความสามารถในการดำเนินคดีเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้ร้อยละ 92
การบันทึกภาพ
การบันทึกภาพเคลื่อนไหว Short Clip of Collision.avi
การนำเทคโนโลยีมาใช้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการตรวจจับกุมการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้ปฏิบัติการกฎจราจรมากขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่นการป้องกันอาชญากรรมโดยสามารถใช้ในการตรวจสอบรถผู้ต้องสงสัย หรือตรวจสอบเส้นทางหลบหนีของคนร้าย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เป็นการลงทุนที่สูงมาก นวัตกรรมใหม่ๆ ในการบริหารจัดการจึงต้องถูกนำมาใช้ เช่นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยมีระบบการลงทุน และการแบ่งประโยชน์ที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย