สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย วราภรณ์ ถาวรวงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ศูนย์อนามัยที่๑.
Advertisements

“แนวทางในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ”
ENVIRONMENTAL SCIENCE
ห้องปฏิบัติการต่างๆ.
รายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว
1.ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource)
กรอบแนวคิดการพัฒนาทุนชุมชน
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment Technology and Life
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต
10วิธีลดภาวะโลกร้อน จัดทำโดย
ปุ๋ยหมักชีวภาพ Effective Microorganisms
ผักปลอดภัยจากสารพิษ นางสาววรรณิศา เลี่ยมดำ ภาคพัฒนาการเกษตร
ENERGY AND ENVIRONMENT วิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ชีวิตและวัฒนธรรมไทย
สิ่งแวดล้อมรอบตัว.
การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) คือ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก.
Ecodesign นำเสนอ โดย นายนราวิชญ์ รุ่งเดช เลขที่ 25
Green Village บ้านคลองกั่ว หมู่ 7 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ. สงขลา.
เทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียด้วยพืชกรองน้ำเสีย
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร ) รหัสวิชา ง 414
มาตรฐานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 23 มกราคม 2557 ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี
ระบบนิเวศ (ECOSYSTEM)
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
สารมลพิษ โชคชัย บุตรครุธ.
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “สถานการณ์มลพิษทางอากาศ ในบรรยากาศในภาคตะวันออก” หลักการและเหตุผล มลภาวะทางอากาศ (Air pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ.
การบำบัดน้ำเสีย อ.วีระศักดิ์ สืบเสาะ.
เทคโนโลยีชีวภาพ เสาวลักษ์ สารรัมย์.
เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1. นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2
ความเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับการจัดการเทคโนโลยี การใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน การผลิต เข้าใจพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม ปราศจาก มลภาวะและการสูญเสีย.
นำเสนอโดย น.ส. วิไล เดชตุ้ม
การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการผลิตพืช
สถานีอนามัยสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.
โดย นางสาวสุพัสตรา เหล็กจาน สำนักงานประมงจังหวัดขอนแก่น
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เกษตรอินทรีย์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความก้าวหน้าของการจัดการ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
G Garbage.
หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์
ตัวอย่าง ตารางกรอบแผนการบริหารจัดการและพัฒนาลุ่มน้ำ แบบบูรณาการ
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
บทที่10 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต
ความหลากหลายทางชีวภาพ
หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง
แนวทางการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกรณีอุทกภัย
การใช้สารเคมี สมาคมอารักขาพืชไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ ใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “ สมาคม ผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช : ส.ธ.ก. ( Thai Pesticide.
รูปแบบ/ประเภทเกษตรกรรมยั่งยืน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การกำจัดขยะโดยใช้หลัก 3R
ปัญหาสิ่งแวดล้อม.
การบริหารจัดการศัตรูพืชที่สำคัญ โดย
กระบวนการทางเศรษฐกิจ
การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
สื่อการเรียนรู้เรื่อง หยุดโลกร้อนด้วยความพอเพียง
การจัดการองค์ความรู้ ระบบการผลิตที่ยั่งยืน ความพอเพียงในการดำรงชีพ
นายแพทย์ประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดีกรมอนามัย
สำรวจสภาพปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ทางนำไปสู่การมีสุขภาพดี
จัดทำโดย เด็กหญิง นันท์นภัส ขะชาติ ชั้น ม.1/13 เลขที่ 24
COMMUNITY BASED SOLID WASTE MANAGEMENT
หน่วยการเรียนที่ 2 สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ
ประเภทโครงการหรือกิจกรรม ลำดับที่ ๘ โรงงานถลุงหรือหลอมเหล็ก
หลักการและแนวทางจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
การวิจัย และองค์ความรู้จากโครงการหลวง
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ43102
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life
1.3 มิติสิ่งแวดล้อม การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

01999213 สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต Environment, Technology and Life ภาคปลาย ปีการศึกษา 2556

หมู่ 700 เรียนทุกวันจันทร์ เวลา 14.30-16.00 น. และ วันพฤหัสบดี 15.00-16.30 น. ศร.2-302

หมู่ 701 เรียนทุกวันอังคาร เวลา 13.00-14.30 น. ศร.1-301 และ วันพฤหัสบดี เวลา 13.00-14.30 น. ศร.1-315

หมู่ 815 เรียนทุกวันศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น. ศร.2-202

หมู่ 832 เรียนทุกวันจันทร์และวันพุธ 18.30-20.00 น. ศร.2-206

เค้าโครงรายวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต กรณีศึกษา

วัตถุประสงค์ของรายวิชา เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เกิดทักษะในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิต

การวัดและประเมินผล Midterm 40% ปรนัย ก ข ค ง 80 ข้อ Final 60% ปรนัย ก ข ค ง 120 ข้อ ตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (เช่น 80% ได้ A) กำหนดวัน-เวลาและห้องสอบ โปรดติดตามจากประกาศของกองบริการการศึกษา กำแพงแสนต่อไป

คณาจารย์ อ.พุทธพร ส่องศรี ผู้จัดการรายวิชา ห้องทำงาน SC2-313 ศวท. สาขาวิชาชีวเคมี puta_ku@hotmail.com Facebook : พุทธพร ส่องศรี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม

อ.ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ ห้องทำงาน SC3-105 ศวท. สาขาวิชาชีวเคมี faascww@ku.ac.th วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อ.วีระพันธุ์ สรีดอกจันทร์ ภ.พืชไร่นา คณะเกษตร กพส. agrwps@ku.ac.th การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อ.ประภา โซ๊ะสลาม สาขาวิชาชีววิทยา ศวท. faaspps@ku.ac.th สิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต

อ.ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล ภ.โรคพืช คณะเกษตร กพส. crattan99@yahoo.com กรณีศึกษา

ผศ.ศิรประภา เปรมเจริญ สาขาวิชาสัตววิทยา ศวท. faassrp@ku.ac.th กรณีศึกษา: พื้นที่ชุ่มน้ำ

หนังสืออ่านประกอบ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต

เว็บไซต์ เว็บไซต์รายวิชาอยู่ที่สาขาวิชาชีวเคมี ศวท. biochem.flas.kps.ku.ac.th หรือเข้า Google ใช้คีย์เวิร์ด “ชีวเคมี กำแพงแสน”

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เวลาเรียน 5 ครั้ง (7.5 ชม.) สิ่งแวดล้อม นิยามและความหมาย สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยากับการศึกษาสิ่งแวดล้อม มิติสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากร เทคโนโลยี ของเสียและมลพิษ มนุษย์ สิ่งแวดล้อมกับกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ ขยะ มลพิษทางน้ำ

1.1 สิ่งแวดล้อม นิยามและความหมาย สิ่งแวดล้อม = สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ “ตัวเรา” environment ใน Dict. OXFORD the conditions, circumstances, etc affecting a person’s life. the natural conditions, eg land, air and water in which people, animals and plants live.

สิ่งแวดล้อม อาจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดหรือห่างไกล อาจมีชนิด ขนาดและจำนวน มากน้อยต่างกัน อาจมีประโยชน์หรือมีโทษ หรือไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ก็ได้ อาจจับต้องได้เป็นรูปธรรม หรือจับต้องไม่ได้เป็นนามธรรม

สมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม (สมบัติ = ของมีค่า, ลักษณะเฉพาะ = property) 1) สวล.มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวทั้งในระดับ individual, community และ system เช่น ต้นไม้ ป่าชายเลน ระบบป่าไม้ใน จ.เพชรบุรี 2) สวล.ไม่อยู่โดดเดี่ยว เช่น ปลาอยู่ในน้ำ 3) สวล.ต้องการ สวล.อื่นเสมอ เช่น ปลาต้องการน้ำ

4) สวล.มีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่ อาจไม่ซับซ้อน หรือซับซ้อนมาก ทำให้เกิดสมดุลในการอยู่ร่วมกัน 5) สวล.มีความทนทาน เปราะบางต่อการถูกกระทบได้แตกต่างกัน เช่น นกกระจอก กับ นกเงือก หรือ ปลา กับ หอยมือเสือ 6) สวล.เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เช่น การโตของเมือง หลังไฟป่ามีต้นไม้ขึ้นทดแทน

วีดิทัศน์ 1 ทีเด็ดพิชิตขยะและน้ำเสีย 18:28 นาที โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี www.lerd.org การกำจัดขยะด้วยวิธีทำปุ๋ยหมัก การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้พืช youtu.be/-mrRCjm0bQ8

1.2 นิเวศวิทยากับการศึกษาสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาและระบบนิเวศ (ecology and ecosystem) นิเวศวิทยา = the relation of plants and living creatures to each other and to their environment. ระบบนิเวศ = all the plants and living creatures in a particular area considered together with their physical environment.

ประเภทและลักษณะของระบบนิเวศ biosphere = ชีวมณฑล = แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต(ในโลกอันกว้างใหญ่) habitats = ถิ่นที่อยู่ แบ่งระบบนิเวศเป็น ระบบนิเวศบนบก และ ระบบนิเวศในน้ำ รอยต่อ เรียกว่า ecotone

ระบบนิเวศบนบก แยกระบบย่อยได้ โดยใช้พันธุ์พืชลักษณะเด่น (dominant species) พันธุ์พืชลักษณะเด่น หมายถึง กลุ่มพืชที่มีบทบาทสำคัญต่อหน้าที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศนั้น ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า ทะเลทราย การเกษตร ฯลฯ

ระบบนิเวศในน้ำ จำแนกบนพื้นฐานความเค็ม จำแนกได้เป็น น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศบึงน้ำจืด พรุน้ำจืด ลำธาร ป่าชายเลน พรุน้ำกร่อย หญ้าทะเล ปะการัง ฯลฯ

โครงสร้างของระบบนิเวศ

วีดิทัศน์ 2 สารคดีกบนอกกะลา ตอน ลูกชิด ลูกเล็กในป่าลึก 37:22 นาที ลูกชิด เป็นพืชตระกูลใด พบในระบบนิเวศแบบใด มีกระบวนการผลิตอย่างไร มีแนวทางอนุรักษ์อย่างไร youtu.be/52I3lxOAl9k

มิติสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลเสียทำให้เศรษฐกิจและสังคมไม่สมบูรณ์ ในเดือน มิ.ย.1992 ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) ได้อนุมัติแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) Agenda 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดแบ่งสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิติหรือเป็นกลุ่ม ช่วยให้มุมมองในการจัดการครอบคลุมและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การจัดแบ่งมิติ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งที่อยู่รอบข้างเป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 4 มิติคือ 1.ทรัพยากร 2. เทคโนโลยี 3. ของเสียและมลพิษ 4.มนุษย์

1. มิติทรัพยากร (resources) ปัจจัยสี่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พลังงาน ความสะดวกสบาย แบ่งออกเป็น ทรัพยากรธรรมชาติ และ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น

1.1 ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้แล้วไม่หมดสิ้น เช่น อากาศ น้ำในวัฏจักร แสงอาทิตย์ ใช้แล้วทดแทนได้ (renewable) เช่น พืช สัตว์ ป่าไม้ ดิน ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ใช้แล้วหมด เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ แร่ อาจแบ่งทรัพยากรธรรมชาติเป็น ทรัพยากรกายภาพและทรัพยากรชีวภาพก็ได้

1.2 ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ทรัพยากรชีวกายภาพ (bio-physical resources) มีคุณค่าต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (human use values) เช่น เกษตร อุตสาหกรรม การใช้ที่ดิน พลังงาน คมนาคมขนส่ง การสื่อสาร น้ำประปา เมืองและชุมชน การชลประทาน การป้องกันอุทกภัยและความแห้งแล้ง ทรัพยากรเศรษฐสังคม (socio-economic resources) เช่น ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม กฎหมาย การศึกษา สุขภาพอนามัย การปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ มีคุณค่าทางคุณภาพชีวิต (life quality values) เป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรม (intangible resources)

2. มิติเทคโนโลยี คือกระบวนการ หรือวิธีการและเครื่องมือที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อต้องการเลียนแบบและควบคุมธรรมชาติ เช่น เพิ่มผลผลิตพืชโดยการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง รถไถ รถหว่าน รถเก็บเกี่ยว เทคโนโลยี ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากร และเกิดของเสียและมลพิษตามมา เพราะไม่มีประสิทธิภาพ 100%

3. มิติของเสียและมลพิษ ของเสีย (waste) = material, food etc that is no longer needed and is (to be) thrown away. มลพิษ (pollution) = dirty or no longer pure, harmful or unpleasant substances. ของเสียและมลพิษเกิดจากการใช้เทคโนโลยี และต้องหาเทคโนโลยีมากำจัด/บำบัด/ฟื้นคืนสภาพ

ของเสียและมลพิษ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ของแข็ง เช่น ขยะมูลฝอย ฝุ่นละออง กากสารพิษ เศษของเหลือใช้ ของเหลว เช่น น้ำทิ้ง น้ำเสีย ไขมัน น้ำมัน แก๊ส เช่น อากาศที่ปนเปื้อนสารพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ มลพิษทางฟิสิกส์ เช่น ความร้อน แสง เสียง ความสั่นสะเทือน ทัศนอุจาด (visual pollution)

4. มิติมนุษย์ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ชีวิตมีความปลอดภัย มั่นคง มีความสุข โดยมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภค มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับทรัพยากร ทำให้เกิดของเสียและมลพิษ

วีดิทัศน์ 3 สารคดีกบนอกกะลา ตอน ปลาทูแม่กลอง 43:47 นาที ปลาทู อาศัยอยู่ในระบบนิเวศแบบใด เครื่องมือประมงที่ใช้จับปลาทู เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจับและแปรรูป ทรัพยากรและของเสียจากการทำปลาทูนึ่ง youtu.be/V2NAYbGlDHk

สิ่งแวดล้อมกับกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ มนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายสิ่งแวดล้อม กิจวัตรประจำวันทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ใช้น้ำ  น้ำทิ้ง  น้ำเสีย  มลพิษทางน้ำ อาหาร  ขยะ  มลพิษ

ขยะ = มูลฝอย มูลฝอย = เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว (กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น. garbage = rubbish = waste material, things that one does not want any more.

สัญลักษณ์ recycle ของพลาสติก (Resin Identification Code)

1. PETE (Polyethylene Terephthalate, หรือที่รู้จักกันว่า Polyester) เป็นพลาสติกแข็งและใส โปร่งแสง อาทิเช่น ขวดน้ำดื่ม เครื่องดื่มต่าง ๆ ขวดน้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ 2. HDPE (High Density Polyethylene) จะแข็งกว่า PETE และจะมีความขุ่นมากกว่า เช่น ขวดแชมพู ขวดครีมนวด ครีมอาบน้ำ ขวดนมสดที่ขายตามตู้แช่ ขวดน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ โดยทั้งสองชนิดข้างต้นนี้ เป็นที่นิยมนำกลับมารีไซเคิลมากที่สุด

3. V (Vinyl = PVC) เป็นพลาสติกที่แข็งแรง สามารถทนทานต่อน้ำมัน จาระบีและสารเคมี เช่น ขวดน้ำมันที่ใช้ทำกับข้าว ภาชนะที่ใช้บรรจุยา ขอบหน้าต่างพลาสติก 4. LDPE (Low Density Polyethylene) ได้แก่ ถุงพลาสติกที่เราใช้กันตามท้องตลาดทั่วไป ถุงใส่อาหารแช่แข็ง ถุงใส่เสื้อผ้าจากร้านซักแห้ง ฯลฯ 5. PP (Polypropylene) มีความทนทานต่อสารเคมีและความร้อน ได้แก่ ขวดยา กระปุกโยเกิร์ต กระปุกเนย ภาชนะบรรจุซอสมะเขื่อเทศ

6. PS (Polystyrene) เช่น ถาดใส่เนื้อตามตู้แช่ในห้างสรรพสินค้า พลาสติกใส่อาหาร ช้อน ส้อม พลาสติก ถ้วย แก้วน้ำพลาสติก ไม่นิยมนำมารีไซเคิลมากนัก เนื่องจากจะเกิดสารพิษเมื่อทำปฏิกิริยา 7. OTHER หมายถึง พลาสติกที่ไม่เข้าพวกกับทั้ง 6 ชนิดที่กล่าวมาหรือเป็นการผสมของพลาสติกชนิดต่างๆใน 6 ชนิดนั้น

การจัดการขยะ (ภาคประชาชน) ลดการนำขยะเข้าบ้าน เช่น ถุงพลาสติก กระดาษห่อของ โฟม หนังสือพิมพ์ นำสิ่งของใช้แล้วกลับมาใช้อีก เช่น ถุงใส่ของ กระดาษใช้แล้วหน้าเดียว ใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม หลีกเลี่ยงโฟมและพลาสติก แยกขยะภายในบ้าน ทำปุ๋ย ลดขยะมูลฝอยอันตราย เก็บขยะให้เรียบร้อย

วีดิทัศน์ 4 สารคดีกบนอกกะลา ตอน ขยะสัญจร 43:39 นาที หลักการแยกขยะประเภทกระดาษ พลาสติก การรีไซเคิลอะลูมิเนียม youtu.be/DlV0U831yi4

น้ำเสีย = wastewater = sewage สาเหตุ น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ การทำเหมืองแร่

การป้องกันมลพิษทางน้ำ (ภาคประชาชน) ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้น้ำทิ้งจากครัวเรือนเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เช่น น้ำล้างจาน รดต้นไม้ คัดแยกสิ่งสกปรก เศษผัก เศษอาหาร ออกจากน้ำทิ้ง ติดตั้งเครื่องกรอง ดักไขมัน ไม่ทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ ทำการเกษตรกรรมถูกวิธี ขับถ่ายถูกสุขลักษณะ สอดส่องดูแล เป็นพลเมืองดี เช่น พบปลาลอยผิดปกติ แจ้งหน่วยงานราชการ

ถังบำบัดน้ำเสีย (septic tank) ถังบำบัดน้ำเสีย (septic tank)  แบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนเกรอะ  (septic zone)  และส่วนกรองไร้อากาศ (anaerobic filter zone)   เริ่มต้นระบบการทำงานโดยรับน้ำปฏิกูลจากส้วมส่งเข้าสู่ส่วนเกรอะ  เพื่อทำการแยกส่วนของกากตะกอนและน้ำออกเป็น  2  ส่วน  จากนั้นส่วนที่เป็นน้ำจะถูกส่งให้ไหลผ่านแผ่นกรองเข้าสู่ส่วนกรองไร้อากาศ  โดยมีแบคทีเรีย (anaerobic bacteria)  ซึ่งถูกเพาะเลี้ยงอยู่ในสื่อชีวภาพ(biological media)   จะทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ  ซึ่งอยู่ในน้ำเสียและปล่อยน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัด  จนได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดกลับสู่สภาพแวดล้อม

วีดิทัศน์ 5 สารคดีกบนอกกะลา ตอน ปลายทางของก้อนทอง 43:09 นาที หลักการทำงานของถังส้วม การนำสิ่งปฏิกูลไปทำปุ๋ยอินทรีย์ youtu.be/r0OLnBDxesI

เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า เทคโนโลยีท้องถิ่น = เทคโนโลยีพื้นบ้าน ไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบ อาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมของตน เทคโนโลยีนำเข้า คือการนำเทคโนโลยีจากท้องถิ่นอื่นมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน

ระดับของเทคโนโลยี เทคโนโลยีระดับต่ำ เกิดจากความจำเป็นในการยังชีพ ใช้วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ ไม่ต้องแก้ไข ดัดแปลง ใช้เป็นก็พอแล้ว เช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว กระต่ายขูดมะพร้าว เทคโนโลยีระดับกลาง สามารถแก้ไข ปรับปรุง ซ่อมแซมได้ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำ เครื่องขูดมะพร้าว การถนอมอาหาร เทคโนโลยีระดับสูง อาศัยการศึกษา วิจัยในสถาบันการศึกษา เช่น การคัดเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กะทิสำเร็จรูป UHT และกะทิผง

รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทย การซื้อเทคโนโลยีแบบเบ็ดเสร็จ การนำผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศมาดัดแปลง การส่งคนไทยไปศึกษาและดูงานในต่างประเทศ การเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อมวลชนและเอกสารวิชาการ

วีดิทัศน์ 6 สารคดีกบนอกกะลา ตอน 2 คน 2 เค็ม 41:41 นาที หลักการทำนาเกลือ และเกลือบริสุทธิ์ การนำไปใช้ประโยชน์ของเกลือสมุทรและเกลือบริสุทธิ์ youtu.be/oCBRclFHIOE

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีมีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งด้าน + และด้าน – ด้านบวก ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้านลบ ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเลวลง เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นความรู้และทักษะในการดำรงชีวิตท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

เทคโนโลยีมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม พิษภัยจากสารเคมีอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีเกินขอบเขตกับภัยธรรมชาติ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม (แต่กลับก่อให้เกิดปัญหาเสียเอง)

สิ่งแวดล้อมมีบทบาทต่อการสร้างเทคโนโลยี ปุ๋ยอินทรีย์ ระบบน้ำหยดในทะเลทราย อาคารต้านแผ่นดินไหว เรือนแพ

เทคโนโลยีที่เหมาะสม เริ่มจากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น ง่ายในการนำไปใช้ ฝึกฝนได้ในระยะสั้น คนในชุมชนบริหารจัดการเองได้ ใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร ไม่ทำลายระบบนิเวศ

วีดิทัศน์ 7 สารคดีกบนอกกะลา ตอน สบู่...ทำไมต้องถู 37:10 นาที การผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตสบู่ การใช้นกแสกเพื่อช่วยกำจัดศัตรูพืช youtu.be/m70wl2rzwV0