กรอบแนวคิดการพัฒนาทุนชุมชน ทุนชุมชน หมายถึง สินทรัพย์หรือทรัพยากร (ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น) ที่ก่อให้เกิดผลผลิตในการดำรงชีวิตของคนและชุมชน ทุนชุมชนจำแนกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติและทุนการเงิน
ทุนมนุษย์ หมายถึง คุณสมบัติด้านต่างๆของคนและกลุ่มคนในชุมชนทุกเพศ ทุกวัย เช่น - คุณสมบัติด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ ระดับอายุขัย (สูง/ต่ำ) สุขภาพ (แข็งแรง/อ่อนแอ) - คุณสมบัติด้านความรู้และการศึกษา เช่น ความรู้ ภูมิปัญญา ระดับการศึกษา การได้รับการศึกษาใน-นอกระบบ วิธีการถ่ายทอด - คุณสมบัติด้านเศรษฐกิจ (ยากจน/รวย) - ความตระหนักรู้ในสิทธิทางการเมือง กฎหมายที่กระทบต่อชีวิต
ทุนสังคม คุณลักษณะของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายและสถาบัน(ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม)ที่คนในชุมชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อการ ดำรงชีวิตร่วมกัน ทุนสังคมประกอบด้วย - กลุ่ม องค์กร เครือข่าย สถาบัน - ความสัมพันธ์ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ที่ทำให้เพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน และความไว้วางไว้กัน - ความเป็นอาสาสมัคร
ทุนกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยการผลิตที่สนับสนุนการดำรงชีพของ คนในชุมชน ได้แก่ - ระบบคมนาคมขนส่ง ที่อยู่อาศัย การประปา สุขาภิบาล - ระบบข้อมูลข่าวสาร/ระบบการสื่อสาร - พลังงานที่หาได้และสะอาด - การเข้าถึงบริการของระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ทุนธรรมชาติ มีศักยภาพในการดำรงชีพ/ประกอบอาชีพต่างกัน ทรัพยากรธรรมชาติและการได้รับบริการจากทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ - ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ ทรัพยากรทางทะเลและสัตว์ป่า - คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ - การอนุรักษ์ฟื้นฟู - ระดับความหลากหลายและอัตราการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ ทุนธรรมชาติแตกต่างกันทำให้แต่ละชุมชน มีศักยภาพในการดำรงชีพ/ประกอบอาชีพต่างกัน
ทุนการเงิน ทรัพยากรเงินที่ประชาชนใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการ ดำรงชีพ รวมทั้ง -กระแสหมุนเวียน -หุ้น -การบริโภค การผลิต และการผลิต การมีเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด (เปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็ว) หมายถึง การมีทุนในการดำรงชีพ ทำให้ประชาชนสามารถ วางแผน ดำรงชีพต่างกัน
แนวทางการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรม พัฒนาทุนชุมน
วิเคราะห์ข้อมูลทุนชุมชน หมู่บ้าน/ชุมชน ACTION วิเคราะห์ข้อมูลทุนชุมชน ทุนชุมชน แนวทางที่ 2 แผนปฏิบัติงานประจำปี หน่วยงาน/ภาคี แนวทางที่ 1 แผนชุมชน 3 ทำให้ โครงการ กิจกรรม 2 ทำร่วม ACTION 1 ทำเอง